นายธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยผลการดำเนินงานครึ่งปีบัญชี 2565 (1 เมษายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565) ว่า ธ.ก.ส. ได้สนับสนุนสินเชื่อเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในภาคชนบทในช่วงดังกล่าวไปแล้ว จำนวน 368,745 ล้านบาท ทำให้มียอดสินเชื่อสะสมคงเหลือ จำนวน 1,601,350 ล้านบาท เงินรับฝาก จำนวน 1,770,078 ล้านบาท มีสินทรัพย์รวม จำนวน 2,121,282 ล้านบาท หนี้สินรวม จำนวน 1,974,906 ล้านบาท ส่วนของเจ้าของ จำนวน 146,376 ล้านบาท มีรายได้รวม 42,654 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายรวม จำนวน 41,266 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ จำนวน 1,388 ล้านบาท อัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์เฉลี่ย (ROA) เท่ากับร้อยละ 0.13 อัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของเจ้าของ (ROE) เท่ากับร้อยละ 1.88 อัตราส่วนสภาพคล่องต่อเงินฝาก เท่ากับร้อยละ 12.98 อัตราสินเชื่อด้อยคุณภาพอยู่ที่ร้อยละ 12.5 และอัตราเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS) ร้อยละ 12.55 สูงกว่าเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนด
นายธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยผลการดำเนินงานครึ่งปีบัญชี 2565 (1 เมษายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565) ว่า ธ.ก.ส. ได้สนับสนุนสินเชื่อเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในภาคชนบทในช่วงดังกล่าวไปแล้ว จำนวน 368,745 ล้านบาท ทำให้มียอดสินเชื่อสะสมคงเหลือ จำนวน 1,601,350 ล้านบาท เงินรับฝาก จำนวน 1,770,078 ล้านบาท มีสินทรัพย์รวม จำนวน 2,121,282 ล้านบาท หนี้สินรวม จำนวน 1,974,906 ล้านบาท ส่วนของเจ้าของ จำนวน 146,376 ล้านบาท มีรายได้รวม 42,654 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายรวม จำนวน 41,266 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ จำนวน 1,388 ล้านบาท อัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์เฉลี่ย (ROA) เท่ากับร้อยละ 0.13 อัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของเจ้าของ (ROE) เท่ากับร้อยละ 1.88 อัตราส่วนสภาพคล่องต่อเงินฝาก เท่ากับร้อยละ 12.98 อัตราสินเชื่อด้อยคุณภาพอยู่ที่ร้อยละ 12.5 และอัตราเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS) ร้อยละ 12.55 สูงกว่าเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนด
นายธนารัตน์ กล่าวต่อไปว่า ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านถือเป็นช่วงแห่งความยากลำบากของเกษตรกรและผู้ประกอบการทางการเกษตร จากภาระต้นทุนทางการผลิตที่เพิ่มสูง ทั้งค่าปุ๋ย พลังงาน แรงงาน และข้อจำกัดในการขนส่งสินค้าเกษตร ส่งผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกร ซึ่ง ธ.ก.ส. ได้จัดทำมาตรการในการเข้าไปดูแลแบบครบวงจร ไม่ว่าจะเป็น การตรึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในช่วงขาขึ้นออกไปให้นานที่สุด ทั้งอัตราดอกเบี้ยลูกค้าสถาบันชั้นดี (MLR) อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (MOR) และอัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) เพื่อมิให้เป็นภาระต้นทุนกับลูกค้าในช่วงการฟื้นตัว การจูงใจให้ลูกค้าชำระหนี้ผ่านโครงการชำระดีมีคืน Plus วงเงิน 3,000 ล้านบาท ตั้งแต่วันนี้ถึง 31 ธันวาคม 2565 การดูแลภาระหนี้สินเดิม เพื่อลดความกังวลใจในเรื่องหนี้ ผ่านการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ กำหนดชำระหนี้ใหม่ตามศักยภาพที่แท้จริง การไกล่เกลี่ยหนี้กรณีมีหนี้นอกระบบและมาตรการจ่ายดอกตัดต้น กรณีลูกค้าส่งชำระหนี้ ธนาคารจะแบ่งภาระการตัดชำระหนี้ตามสัดส่วนต้นเงินและดอกเบี้ยสำหรับลูกค้าที่มีหนี้เป็นภาระหนัก ควบคู่การพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพในการประกอบอาชีพ เช่น
การให้ความรู้ด้าน Financial Literacy/Digital Literacy การร่วมกับภาคีเครือข่ายภาครัฐเอกชน สถาบันการศึกษา ในการศึกษาดูงาน การฝึกปฏิบัติเพิ่มทักษะ ทั้งอาชีพเดิม อาชีพเสริม อาชีพใหม่ การปรับเปลี่ยนการผลิตไปปลูกพืชที่มีมูลค่าสูง การลดต้นทุนการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม การแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิต การยกระดับมาตรฐานสินค้า เป็นต้น โดยคาดว่าจะช่วยลดภาระหนี้ครัวเรือนให้เกษตรกรและ NPLs/Loan ลดลงอยู่ที่ร้อยละ 7 ในช่วงสิ้นปีบัญชี
นอกจากนี้ ธ.ก.ส. ยังทำหน้าที่เป็นกลไกในการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาล โดยกระทรวงการคลัง ผ่านมาตรการและโครงการสำคัญ ๆ ได้แก่ โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐปี 2565 โดย ธ.ก.ส. อำนวยความสะดวกในการเปิดจุดลงทะเบียน ณ พื้นที่ ธ.ก.ส. สาขาทั่วประเทศ รวมถึงการแนะนำการลงทะเบียนทางออนไลน์ กรณีผู้ลงทะเบียนไม่มีครอบครัว ซึ่งระยะเวลาการลงทะเบียน ตั้งแต่ 5 กันยายน – 31 ตุลาคม 2565 มีประชาชนร่วมลงทะเบียนผ่าน ธ.ก.ส. ทั้งสิ้นจำนวนประมาณ 4.6 ล้านราย จากผู้ลงทะเบียนทั้งหมดประมาณ 22 ล้านราย การร่วมบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการลดภาระและแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจและ Covid-19 พร้อมกระตุ้นการรับรู้ผ่านการจัดงาน “มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน” ซึ่งจะจัดไปยังจังหวัดต่าง ๆ 5 ครั้ง ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร วันที่ 4 – 6 พฤศจิกายน 2565 ขอนแก่น วันที่ 18 – 20 พฤศจิกายน 2565 เชียงใหม่ 16 – 18 ธันวาคม 2565 ชลบุรี วันที่ 20 – 22 มกราคม 2566 และหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา วันที่ 27 – 29 มกราคม 2566 ซึ่งในงานดังกล่าว ธ.ก.ส. จะจัดเตรียมเครื่องมือด้านการบริหารจัดการหนี้ ความรู้ทางการเงิน แนวทางการประกอบอาชีพเดิม อาชีพเสริมและอาชีพใหม่ พร้อมการเติมสินเชื่อที่สอดคล้องกับความต้องการในอัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขที่ผ่อนปรน การจ่ายเงินตามโครงการประกันรายได้ในพืชเศรษฐกิจหลัก 5 ชนิด คือข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ยางพาราและปาล์มน้ำมัน และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 รวมจำนวนเงิน 142,667 ล้านบาท และมีเกษตรกรได้รับประโยชน์กว่า 4.68 ล้านราย
ในส่วนของเกษตรกรที่ประสบอุทกภัย ธ.ก.ส.ได้มอบหมายให้พนักงานในพื้นที่ ออกเยี่ยมเยียนให้กำลังใจและมอบถุงยังชีพเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้น พร้อมนำมาตรการดูแลภาระหนี้สินต่างๆเข้าไปดูแล ควบคู่ไปกับมาตรการเสริมสภาพคล่องและฟื้นฟูลูกค้าผ่าน โครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันและค่าใช้จ่ายจำเป็นฉุกเฉิน เช่น ค่าอุปโภคและบริโภคที่จำเป็น อัตราดอกเบี้ย 0% 6 เดือนแรก เดือนที่ 7 คิดอัตราดอกเบี้ย MRR วงเงินรายละไม่เกิน 50,000 บาท โครงการสินเชื่อฟื้นฟูและพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อนำไปใช้สร้างหรือซ่อมแซมที่อยู่อาศัย โรงเรือนการเกษตร เครื่องมือ เครื่องจักรกลการเกษตร ค่าใช้จ่ายในการทำการเกษตรรอบใหม่ รวมถึงการฟื้นฟูการผลิตที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติหรือภัยพิบัติ เพื่อลดปัญหาการก่อหนี้นอกระบบ รายละไม่เกิน 500,000 บาท อัตราดอกเบี้ย MRR-2 วงเงินรวม 20,000 ล้านบาท
ในด้านการพัฒนา ธ.ก.ส. ได้ขับเคลื่อนงานภายใต้หลักการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม (BCG Model) โดยจัดทำโมเดลการจัดการ – ออกแบบเชิงพื้นที่ “แก้หนี้ แก้จน” Design & Manage by Area (D&MBA) เพื่อจัดการและแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชนอย่างตรงจุด โดยคนในชุมชน พร้อมกำหนดให้ ธ.ก.ส. ในพื้นที่เข้าไปร่วมกับภาคีเครือข่ายและชาวบ้าน จัดทำโมเดลต้นแบบในการแก้ไขปัญหาทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 45,000 ราย
การขับเคลื่อนโครงการธนาคารต้นไม้ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนอย่างยั่งยืน การต่อยอดสู่ชุมชนไม้มีค่า โดยนำผลิตผลจากต้นไม้มาสร้างมูลค่าเพิ่มและรายได้ให้กับชุมชน และพัฒนาแอปพลิเคชันธนาคารต้นไม้ (Tree Bank) มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลต้นไม้บนโทรศัพท์มือถือ ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกพิกัดต้นไม้ที่ปลูก วันที่ปลูก ชนิดของต้นไม้ ความโต ความสูง ทั้งยังสามารถคำนวณมูลค่าต้นไม้ และปริมาณกักเก็บคาร์บอนต้นไม้ ซึ่งข้อมูลดังกล่าว สามารถตรวจสอบและการันตีความถูกต้องของจำนวนต้นไม้ที่ชุมชนได้ร่วมกันปลูกและดูแลรักษาและยังสามารถนำข้อมูลมาต่อยอดให้เกิดประโยชน์ เช่น การนำต้นไม้มาใช้เป็นหลักประกันสินเชื่อ การสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (LESS) การรายงานปริมาณการกักเก็บคาร์บอนของต้นไม้ กิจกรรมชดเชยคาร์บอน (Carbon Offset) รวมถึงบันทึกการขอสินเชื่อจาก ธ.ก.ส. ซึ่งปัจจุบันมีธนาคารต้นไม้เข้าร่วมโครงการ 6,838 ชุมชน มีต้นไม้ขึ้นทะเบียนในโครงการ 12.4 ล้านต้น มีสมาชิก 123,845 ราย โดยในชุมชนดังกล่าว สามารถยกระดับไปสู่ชุมชนไม้มีค่าแล้ว 381 ชุมชน มีรายได้จากผลิตภัณฑ์ที่ได้จากต้นไม้/ป่าไม้กว่า 128 ล้านบาทต่อปี และมีชุมชนที่ได้รับใบประกาศเกียรติคุณจาก อบก. เพื่อรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจกจำนวน 62 ชุมชน ทั้งนี้ ธ.ก.ส. พร้อมสนับสนุนสินเชื่อตามโครงการรักษ์ป่าไม้ ไทยยั่งยืน สินเชื่อ Green Credit วงเงิน 6,000 ล้านบาท ผ่านแหล่งเงินทุนพันธบัตรเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond) ให้เกษตรกรได้มีเงินทุนไปต่อยอดธุรกิจไม้มีค่าให้เติบโต รวมถึงการเสริมสร้างศักยภาพชุมชนสู่การพัฒนาระบบเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืนภายใต้ BCG Model ผ่านโครงการยกระดับชุมชนอุดมสุข เพื่อขับเคลื่อนมาตรฐานชุมชนให้ครอบคลุมทั้ง 4 มิติ โดยมีชุมชนผ่านมาตรฐานแล้ว 88 ชุมชน โดย ธ.ก.ส. ได้สนับสนุนและต่อยอดการดำเนินธุรกิจ ผ่านโครงการสินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทย จำนวน 2,563 ธุรกิจ การสนับสนุนช่องทางด้านการตลาดทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เช่น เว็บไซต์ https://baac-farmersmarket.com และการจัดตลาดนัดของดี วิถีชุมชนในทุก ๆ จังหวัด
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยและพัฒนา ธ.ก.ส. คาดการณ์แนวโน้มของเศรษฐกิจการเกษตร ภายหลังภาครัฐเริ่มผ่อนคลายมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และปรับสู่โรคท้องถิ่น ทำให้เศรษฐกิจในประเทศเริ่มทยอยฟื้นตัว ทั้งด้านการเกษตรและการท่องเที่ยว ถือเป็นโอกาสของเกษตรกรในการจำหน่ายผลผลิตไปสู่ตลาดโลก ซึ่งคาดว่า มูลค่าการส่งออกสินค้าในปี 2565 จะขยายตัวที่ร้อยละ 8 และเศรษฐกิจเกษตรตลอดทั้งปี 2565 จะขยายตัวได้ที่ร้อยละ 4.1 โดยมีปัจจัยสนับสนุน 4 ประการ ได้แก่ ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง ซึ่งสนับสนุนการส่งออกสินค้าเกษตร ได้แก่ ข้าว อ้อย ยางพารา มันสำปะหลัง และกุ้งขาวแวนนาไม แนวโน้มราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคายางพาราและราคาปาล์มน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น นโยบายรัฐบาลที่ช่วยเพิ่มรายได้เกษตรกรและรักษาเสถียรภาพด้านราคาสินค้าเกษตรและปริมาณน้ำฝนที่เพียงพอต่อการผลิตสินค้าเกษตร ส่งผลให้ดัชนีรายได้ของเกษตรกรขยายตัวถึงร้อยละ 15.53 ตามดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่ขยายตัว ร้อยละ 12.66 และดัชนีผลผลิตที่ขยายตัว ร้อยละ 2.55 ทั้งนี้ ปรากฎการณ์ลานีญาในช่วงที่ผ่านมา ทำให้เกิดฝนตกชุกและอุทกภัยในหลายพื้นที่ สร้างความเสียหายต่อสินค้าเกษตรและการเก็บเกี่ยวผลผลิต ปัจจัยกดดันจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าชะลอตัวลง แรงงานภาคการเกษตรที่โยกย้ายไปนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นและราคาปุ๋ยเคมีสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้ GDP ภาคเกษตรขยายตัวลดลงจากที่คาดการณ์ อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากการส่งออกสินค้าเกษตรที่ยังเติบโตได้ต่อเนื่อง ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นของประเทศคู่ค้าหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 คลี่คลาย และความต้องการสินค้าอาหารทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นจากภาวะสงคราม จากแนวโน้มดังกล่าว ธ.ก.ส. พร้อมเข้าไปสนับสนุนและต่อยอดการผลิตและการแปรรูปทางการเกษตร ผ่านการเติมสินเชื่อใหม่ ภายใต้อัตราดอกเบี้ยที่ผ่อนปรน เพื่อเสริมสภาพคล่องในการใช้จ่ายและการลงทุน เช่น สินเชื่อสานฝันสร้างอาชีพ สินเชื่อนวัตกรรมดีมีเงินทุน สินเชื่อ Green Credit สินเชื่อ Contract Farming สินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทย เป็นต้น
นายธนารัตน์ กล่าวอีกว่า สำหรับเป้าหมายการดำเนินงานในช่วง 2 ไตรมาสสุดท้าย (1 ตุลาคม 2565 – 31 มีนาคม 2566) ธ.ก.ส. ยังคงมุ่งเน้นการเข้าไปแก้ไขปัญหาและลดภาระหนี้ครัวเรือนให้กับเกษตรกรลูกค้า ผ่านมาตรการและโครงการที่วางไว้อย่างต่อเนื่อง พร้อมนำจุดแข็งของเกษตรกรไทย ที่มีความเชี่ยวชาญในการผลิตอาหารที่ปลอดภัย ป้อนสู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศ การปลูกพืชพลังงาน การสนับสนุนพลังงานสะอาด เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ และการเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ ด้วยการดึงหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ที่มีนโยบาย Zero waste มาสนับสนุนชุมชนให้ปลูกต้นไม้และมีรายได้จากการขายคาร์บอนเครดิต ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นแรงหนุนสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจไทย ในการสร้างความมั่นคงทางอาหาร พลังงานและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทำให้ระบบเศรษฐกิจฐานรากของประเทศเติบโตอย่างยั่งยืน