แนะttb local currency services บริหารเงินต่างประเทศ

Date:

นางสาวบุษรัตน์ เบญจรงคกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี กล่าวว่า ปัจจุบันการค้าระหว่างประเทศมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย คิดเป็นสัดส่วน 120% ของ GDP มีผู้ประกอบการนำเข้าและส่งออกที่ทำการค้าโดยเฉพาะกับคู่ค้าที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกถึง 36% ของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศโดยรวม และหากพิจารณาสัดส่วนของประเทศคู่ค้าหลักที่ทำการค้ากับประเทศไทย ได้แก่ จีน คิดเป็นสัดส่วน 18% อาเซียน 18% ขณะที่ตัวเลขการส่งออกของไทยล่าสุดเดือนกันยายน 2565 มีมูลค่า 23,036 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 7.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าในทวีปอเมริกาเหนือที่เติบโตดี และการอ่อนค่าของเงินบาทช่วยเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันของสินค้าไทย

อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ที่ค้าขายกับคู่ค้าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังใช้ดอลลาร์สหรัฐเป็นสกุลเงินหลักในการค้าขายอยู่ถึง 77% ทำให้กลุ่มผู้ประกอบการโดยเฉพาะเอสเอ็มอี ยังคงต้องเผชิญกับความเสี่ยง โดยเฉพาะต้นทุนในการบริหารจัดการธุรกิจการค้าระหว่างประเทศที่มาจากปัญหาความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน เห็นได้จากเงินบาทที่อ่อนค่าที่สุดในรอบ 16 ปี ตามแนวโน้มการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ ที่เกิดจากการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ เพื่อลดความร้อนแรงของเงินเฟ้อ ซึ่งการอ่อนค่าของเงินบาทเป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินอื่น ๆ ในภูมิภาค

ทีเอ็มบีธนชาต แนะนำให้ผู้ประกอบการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการปิดความเสี่ยงล่วงหน้า หรือเปลี่ยนมาใช้สกุลเงินท้องถิ่น (Local Currencies) ในการดำเนินธุรกิจ อาทิ สกุลเงินหยวน สกุลเงินเยน และสิงคโปร์ดอลลาร์ เนื่องจากสกุลเงินท้องถิ่นมีการปรับตัวไปในทิศทางเดียวกับเงินบาท ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ที่ยังคงมีแนวโน้มผันผวนต่อเนื่องตามทิศทางการปรับตัวดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ หากผู้ประกอบการกระจายมาใช้ค่าเงินท้องถิ่น จะช่วยให้การบริหารต้นทุนธุรกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้น และลดความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงินได้เป็นอย่างดี

“ปัจจุบันเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความผันผวนจากอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินในภูมิภาคนี้ ยังมีอยู่อย่างจำกัด และมีความยุ่งยากในเรื่องเอกสาร ทำให้ผู้ประกอบการกลุ่มเอสเอ็มอียังคงอาศัยดอลลาร์สหรัฐเป็นหลักในการค้าขายกับคู่ค้า ธนาคารจึงได้พัฒนาเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงของสกุลเงินในภูมิภาคเอเชีย ได้แก่ ttb local currency services ซึ่งเป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถป้องกันความเสี่ยงล่วงหน้า (Hedging Forward) สำหรับสกุลเงินท้องถิ่นในภูมิภาคเอเชียโดยเฉพาะ เพื่อให้ผู้ประกอบการมีทางเลือกในการบริหารธุรกรรมต่างประเทศ โดยใช้หลากหลายสกุลเงินมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น เงินหยวนของจีน มาเลเซียริงกิต อินโดนีเซียรูเปี๊ยะ และดอลลาร์สหรัฐ ฯลฯ และจุดเด่นของทีทีบี ก็คือ เรามีเจ้าหน้าที่คอยให้คำปรึกษาและแนะนำผู้ประกอบการตลอดทุกขั้นตอนเกี่ยวกับการค้าขายโดยใช้สกุลเงินในภูมิภาค และการป้องกันความเสี่ยงด้วยเครื่องมือ Hedging ประเภทต่าง ๆ เพื่อทำให้การบริหารความเสี่ยงด้วยค่าเงินภูมิภาคเป็นเรื่องที่ง่าย และผู้ประกอบการได้รับประโยชน์สูงสุด” นางสาวบุษรัตน์ กล่าว

สำหรับผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศที่สนใจบริการ ttb local currency services เพื่อรองรับการดำเนินธุรกิจกับคู่ค้าภายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก สามารถสอบถามรายละเอียดและขอคำปรึกษาเรื่องการบริหารความเสี่ยงได้ โดยลูกค้าธุรกิจสอบถามที่ เจ้าหน้าที่การตลาดธุรกิจตลาดเงินของท่าน หรือ ติดต่อ 0 2676 8008 หรือ 0 2676 8188 ส่วนลูกค้าเอสเอ็มอี ติดต่อ 0 2676 8084 หรือ 0 2676 8088 วันจันทร์ถึงวันศุกร์ ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ และวันหยุดธนาคาร

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

บมจ.เดนทัล คอร์ปอเรชั่นเปิดแผนปี 2568 วางงบลงทุน 40 ล้านบาท

บมจ.เดนทัล คอร์ปอเรชั่น เปิดแผนปี 2568 วางงบลงทุน 40 ล้านบาทลุยขยายคลินิคทำฟันรองรับต่างชาติ – ประเดิมสาขาแรกสุขุมวิท

บลจ.เอ็มเอฟซี เปิดตัวกองทุนเน้นลงทุนหุ้นสหรัฐฯ 

บลจ.เอ็มเอฟซี เปิดตัวกองทุนใหม่ "MUSPIN-H และ MUSPIN-UH" เน้นลงทุนหุ้นสหรัฐฯ ขาย IPO วันที่ 14 -21 มกราคม 2568 นี้

อุตสาหกรรม อาหารไทย ต้องเกาะเทรนด์ Upcycling

Mycoprotein ยกระดับอุตสาหกรรม อาหารไทย ต้องเกาะเทรนด์ Upcycling

ธ.ก.ส. ให้ โอนเงินไปต่างประเทศ

ธ.ก.ส. ให้ โอนเงินไปต่างประเทศ ผ่าน BAAC Mobile ครอบคลุมทั่วโลก