ใบกำกับภาษีปลอม ระบาด บุกจับมูลค่ากว่าร้อยล้านบาท

Date:

ดร.กุลยา ตันติเตมิท อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า เมื่อวันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 กรมสรรพากร ร่วมกับกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) ได้เข้าตรวจค้นสถานที่ออก ใบกำกับภาษีปลอม จำนวน 5 แห่ง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยยึดเอกสารและจับกุมผู้ทำผิด

ที่ผ่านมา กรมสรรพากรได้สืบสวน พบมีการนำ ใบกำกับภาษีปลอม  ที่ออกโดยไม่ใช่ผู้ขายสินค้าตัวจริง จึงประสานกับ บก. ปอศ. ดำเนินการล่อซื้อ ใบกำกับภาษีปลอม มีมูลค่าความเสียหายกว่าร้อยล้านบาท

สำหรับผู้กระทำผิด มีโทษทั้งทางแพ่งและทางอาญา โดยโทษทางแพ่ง ต้องรับผิดเบี้ยปรับ 2 เท่าของจำนวนภาษีตามใบกำกับภาษีพร้อมทั้งเงินเพิ่มตามกฎหมายอีก 1.5% ต่อเดือน และโทษทางอาญา จำคุก 3 เดือน ถึง 7 ปี และปรับ 2,000 บาท ถึง 200,000 บาท

อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า ผู้ที่นำใบกำกับภาษีไปใช้ ถือเป็นภาษีซื้อต้องห้ามไม่มีสิทธินำมาใช้เป็นเครดิตต้องรับผิดทางแพ่ง และมีโทษทางอาญาในฐานความผิดใช้ใบกำกับภาษีปลอม เช่นกัน 

พล.ต.ต.โสภณ สารพัฒน์ รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เปิดเผยว่า สายลับเจรจาล่อซื้อใบกำกับภาษี จากกลุ่มบุคคลดังกล่าว จำนวน 5 ครั้ง โดยมีการออกใบกำกับภาษี โดยไม่มีสิทธิที่จะออกจำนวน 30 ใบ เป็นการทำลายระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศและประชาชน จึงได้รีบดำเนินการโดยเร่งรัด 

อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า แนะนำให้ผู้ประกอบกิจการเข้าสู่ระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax invoice & e-Receipt) เพื่อลดความเสี่ยงในการถูกปลอมแปลงใบกำกับภาษี ลดความซ้ำซ้อน ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย เพิ่มความน่าเชื่อถือ

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

สภาฯ พร้อมใจผ่าน พ.ร.ก. เก็บภาษีธุรกิจข้ามชาติ

สภาฯ พร้อมใจเห็นชอบ พ.ร.ก.เก็บภาษีธุรกิจข้ามชาติ พรรคประชาชนติงรัฐบาลไร้มาตรการรองรับผลกระทบ ทำนักลงทุนไม่มั่นใจไทย

เก็บภาษีส่วนเพิ่ม “ต่างชาติ” สะเทือนลงทุนบีโอไอ

รมช. คลังยอมรับ เก็บภาษีส่วนเพิ่ม “ต่างชาติ” กระทบมาตรการส่งเสริมการลงทุนบีโอไอ

ที่อยู่อาศัย กทม.-ปริมณฑล ฟื้นตัว

ดัชนีความเชื่อมั่นการซื้อ ที่อยู่อาศัย ในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ไตรมาสที่ 3 ปี 2567 มีสัญญาณฟื้นตัว

คลังปลื้มลูกหนี้เสียแห่ลงทะเบียน

“เผ่าภูมิ” เผยแก้หนี้ “คุณสู้ เราช่วย” เพียง 1 เดือน ลงทะเบียนล้นหลาม 1.8 แสนราย เกือบ 4 แสนบัญชี