แก้ปัญหา LPG ต้องแก้ทั้งระบบ

Date:

นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) เปิดเผยว่า จากสภาพปัญหาถังก๊าซหุงต้มในปัจจุบัน กรมธุรกิจพลังงานตรวจพบถังก๊าซหุงต้มเสื่อมสภาพและหมดอายุตกค้างอยู่ในระบบจำนวนมาก อีกทั้งได้รับแจ้งการลักลอบนำถังก๊าซหุงต้มมาเติมในสถานีบริการ LPG เป็นระยะ ซึ่งนอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว ยังก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยทั้งในระหว่างการเติมและการใช้ถังก๊าซหุงต้มของประชาชน ที่ผ่านมาได้มีการจัดตั้งคณะทำงานร่วมกับภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเพื่อ แก้ปัญหา LPG ดังกล่าว โดยมีผลการดำเนินการสำคัญ 6 ด้าน ดังนี้ 

1 การกำหนดเกณฑ์มาตรฐานกลางในการคัดสภาพถังก๊าซหุงต้ม 

2 การเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจตรา 

3 การผสานความร่วมมือภาครัฐที่เกี่ยวข้อง  

4 การเสริมสร้างความเข้าใจและเปิด Hotline รับเรื่องร้องทุกข์ 

5 การเพิ่มประสิทธิภาพการส่งถังกลับซ่อม 

6 การยกระดับโทษสำหรับการนำถังก๊าซหุงต้มไปเติมที่สถานีบริการ ทั้งหมดนี้เพื่อความปลอดภัยของประชาชน และการค้าที่เป็นธรรมต่อทุกภาคส่วน

ด้านนางพัทธ์ธีรา สายประทุมทิพย์ รองอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน กล่าวว่า ที่ประชุมคณะทำงานแก้ไขปัญหาก๊าซปิโตรเลียมเหลวในภาคครัวเรือน ( แก้ปัญหา LPG ) ที่มีผู้แทนจากผู้ค้าก๊าซปิโตรเลียมเหลวทั้งหมด 12 ราย สมาคมผู้ประกอบธุรกิจ  โรงบรรจุก๊าซหุงต้ม สมาคมผู้ค้าก๊าซปิโตรเลียมเหลว ได้ติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่องและร่วมพิจารณามาตรการแก้ไขปัญหาทั้งห่วงโซ่ธุรกิจ (Value chain) เพื่อสนับสนุนการคุ้มครองผู้บริโภคและการนำถังกลับเข้าไปซ่อมกับผู้ค้ามาตรา 7 อย่างเป็นระบบ

กรมยังได้ประสานความร่วมมือด้านการคุ้มครองผู้บริโภคกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ในการปกป้องสิทธิและคุ้มครองประชาชนให้ได้รับความเป็นธรรมและความปลอดภัยจากการใช้ก๊าซหุงต้ม จัดตั้งช่องทางสายด่วน (Hotline) เพื่อรับเรื่องร้องทุกข์และประสานรับ-ส่งต่อเรื่องร้องทุกข์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ ธพ. และ สคบ.

นอกจากนี้ เพื่อปรับปรุงและยกระดับระบบการค้าก๊าซหุงต้มให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ด้านพลังงานและตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป  ธพ. จึงกำหนดศึกษาระบบการค้าก๊าซปิโตรเลียมเหลวภาคครัวเรือนที่เหมาะสมในอนาคต โดยคาดว่าจะเริ่มดำเนินการปลายปี 2567 โดยการศึกษาจะครอบคลุมข้อเสนอแนะทั้งมิติด้านการค้าการค้าเสรีที่มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม มาตรฐานความปลอดภัย และการปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับรูปแบบที่กำหนดขึ้นใหม่

นอกจากนี้ กรณีปัญหาการลักลอบนำถังก๊าซหุงต้มมาเติมในสถานีบริการ LPG ธพ. ได้ประสานความร่วมมือกับผู้ว่าราชการจังหวัด พลังงานจังหวัด ทั่วประเทศ รวมถึงศูนย์ปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง (ศปนม.) ในการตรวจตราที่เข้มข้นมากยิ่งขึ้น และการเปรียบเทียบปรับอัตราเต็มขั้นต่อผู้ประกอบกิจการที่กระทำผิด รวมทั้งประชาสัมพันธ์ช่องทางการแจ้งเบาะแส และสินบนนำจับแก่ผู้แจ้งเบาะแส ไม่น้อยกว่า 3,750 บาทต่อกรณี

อีกทั้งอยู่ระหว่างทบทวนแนวทางดำเนินการกับผู้กระทำผิดตามกฎหมายเพื่อเพิ่มโทษ กับสถานีบริการและผู้ปฏิบัติงาน กรณีพบการกระทำผิดซ้ำ ตามมาตรา 54 และหากมีการกระทำผิดครั้งที่ 4 จะถูกเพิกถอนใบอนุญาต ตามมาตรา 55 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 เพื่อยกระดับมาตรการในการกำกับดูแลไม่ให้เกิดการกระทำผิด

ทั้งนี้ ธพ. ยืนยันเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาถังก๊าซหุงต้มทั้งระบบโดยประสานความร่วมมือภาครัฐและเอกชน เพื่อสร้างความมั่นใจด้านคุณภาพและความปลอดภัยให้ประชาชน และให้ธุรกิจดำเนินไปอย่างเป็นธรรมต่อทุกภาคส่วนโดยยึดประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

เคทีซี เดินหน้าโครงการปันความรู้ เสริมศักยภาพพนักงาน

เคทีซี เดินหน้าโครงการปันความรู้ เสริมศักยภาพพนักงานพร้อมยกระดับการบริการ

เคทีซีปันน้ำใจกว่า 28 ล้านบาท ให้กับน้องๆ มูลนิธิเด็กโสสะฯ

เคทีซีรวมพลังสมาชิกปันน้ำใจกว่า 28 ล้านบาท ร่วมสร้างอนาคตที่มั่นคงให้กับน้องๆ มูลนิธิเด็กโสสะฯ

เคทีซี มอบทุนสนับสนุนมูลนิธิศุภนิมิตฯ กว่า 29 ล้านบาท

เคทีซี รวมพลังสมาชิกบัตรเครดิตส่งต่อโอกาส มอบทุนสนับสนุนมูลนิธิศุภนิมิตฯ กว่า 29 ล้านบาท

เคทีซีเผยยอดเช่ารถคึกคัก

เคทีซีเผยยอดเช่ารถคึกคัก เส้นทางเมืองรองได้รับความนิยมมากขึ้น