เศรษฐกิจไทย คนป่วยแห่งเอเชีย

Date:

ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร โพสต์เฟซบุ๊ก “Pipat Luengnaruemitchai” ระบุว่า 

ไทยเป็นคนป่วยแห่งเอเชียตั้งแต่เมื่อไร?

เราเห็นตัวเลข GDP ไตรมาสสองปี 2567 ออกมาโต 2.3% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งก็ค่อนข้างใกล้เคียงกับที่หลายๆ ฝ่ายคาดการณ์กันไว้ ต้องบอกเลยว่าเป็นไตรมาสที่เศรษฐกิจไทยโตได้มากที่สุดในรอบปี !

แต่อาจจะไม่ได้เรื่องที่น่ายินดีนัก เพราะถ้าเทียบกับประเทศอื่นๆในอาเซียน (ไม่รวมลาวและพม่า) เราโตได้ช้าที่สุดในภูมิภาคแล้ว ไล่มาตั้งแต่ อินโดนิเซีย 5.1% ฟิลิปปินส์ 6.3% เวียดนาม 7.2% แม้กระทั่งมาเลเซียและสิงคโปร์ ที่มีระดับรายได้ต่อหัวสูงกว่าเรา เขายังโตได้เร็วกว่าเราเลยที่ 5.9% และ 2.9%  และอย่างที่เราทราบกัน ปัญหาของเราคงไม่ใช่แค่ปัญหาด้านอุปสงค์ที่ต้องการการกระตุ้น แต่เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่ต้องการการแก้ไขอย่างจริงจัง

แต่ถ้ามาดูตัวเลขเศรษฐกิจในไตรมาสสอง ผมว่ามีข้อสังเกตน่าสนใจสามข้อ

หนึ่ง การท่องเที่ยวและภาคบริการ ยังคงเป็นพระเอกหลักที่ผลักดันเศรษฐกิจไปข้างหน้า แต่แรงส่งมีโอกาสจะแผ่วลงไปเรื่อย ๆ เมื่อจำนวนนักท่องเที่ยวเริ่มกลับเข้าสู่ระดับ “ปกติ”

สอง ภาคการผลิต เริ่มมีสัญญาณผ่านจุดต่ำสุด เมื่อการขยายตัวของภาคการผลิตอุตสาหกรรม กลับมาขยายตัวได้เป็นครั้งแรกตั้งแต่ไตรมาสสี่ ปี 2565 เพราะแม้อุตสาหกรรมใหญ่ของเราอย่างรถยนต์ และอิเลคโทรนิคส์ยังคงหดตัวต่อเนื่อง แต่การผลิตอุตสาหกรรมเริ่มกลับมาขยายตัวได้ เมื่อสินค้าคงคลังเริ่มปรับลดลง

สาม ภาคเศรษฐกิจที่เป็นตัวดึงของเศรษฐกิจที่เห็นได้ชัดในไตรมาสนี้ คือการบริโภคสินค้าคงทน อย่างรถยนต์ และการลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชน (รวมไปถึงภาคอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างด้วย) ซึ่งพอจะอนุมานได้ว่า เป็นผลกระทบสำคัญจากการที่ภาคธนาคารเริ่มชะลอการปล่อยกู้ จากปัญหาคุณภาพสินเชื่อ จนทำให้ยอดขายรถยนต์และอสังหาริมทรัพย์ลดลงอย่างรวดเร็ว และเริ่มส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงแล้ว

แต่ที่น่าห่วงคือ ทำไมการลงทุนภาครัฐก็หดตัวไปกับเขาด้วย ทั้ง ๆ ที่ พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่าย ก็ผ่านสภาแล้ว และการเบิกจ่ายก็เริ่มกลับมาเป็นปกติแล้ว อาจจะพออธิบายได้ว่า พรบ งบประมาณเพิ่งมีผลบังคับใช้ในเดือนเมษายน เลยอาจจะทำกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างไม่ทันในไตรมาสนี้ และหวังว่ารัฐคงจะต้องเร่งโครงการลงทุนส่วนนี้คงจะไม่เป็นตัวถ่วงอีกต่อไป

มองไปข้างหน้าจริง ๆ ตัวเลข GDP ในช่วงครึ่งหลัง อาจจะค่อยๆดีขึ้นจากฐานที่ต่ำจากปีก่อน 

แต่ก็น่าห่วงว่าความเสี่ยงที่เศรษฐกิจอาจจะติดหล่ม ถ้าเราไม่แก้ปัญหากันอย่างจริงจัง ทั้งระยะสั้นในการกระตุ้นอุปสงค์ระยะสั้น ระยะกลางในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ และระยะยาวในการปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อแก้ปัญหาโครงสร้าง และยกระดับศักยภาพของเศรษฐกิจไทย

แม้ว่าภาพศักยภาพของเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้าจะดูไม่ได้ดีนัก แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่มีความหวังเสียทีเดียว ถ้าเราย้อนไปดูประเทศอื่น ๆ อย่างฟิลิปปินส์ที่เคยได้ชื่อว่า “คนป่วยของเอเชีย” มาก่อนไทย โดยในช่วงทศวรรษ 1980 เติบโตได้เพียงเฉลี่ย 2% คล้ายกับไทยตอนนี้แต่ในช่วงที่ผ่านมากลับมาเติบโตได้ 4-5% อีกครั้ง 

ดังนั้นถ้าเราตั้งใจแก้ไขปัญหาโครงสร้างอย่างจริงจังในระยะยาวก็ยังมีความหวังที่จะสามารถแก้ไขปัญหาได้ 

แต่ถ้าไม่ เราคงจองตำแหน่ง “คนป่วยคนใหม่ของเอเชีย” ไปอีกนาน

Share post:

spot_img

Related articles

กรุงไทย แนะผูกพร้อมเพย์ด้วยตัวเองง่ายๆ

กรุงไทย แนะผูกพร้อมเพย์ด้วยตัวเองง่ายๆ ผ่านแอปฯ Krungthai NEXT และตู้ ATM กรุงไทยทั่วประเทศ

กบข. เพิ่มแผนลงทุน กองทุนรวมวายุภักษ์ ให้สมาชิดเลือก

กบข. ได้เพิ่ม “แผน กองทุนรวมวายุภักษ์ ” เป็นแผนลงทุนทางเลือกให้แก่สมาชิกที่สนใจลงทุน

ธอส. สนับสนุนคนไทยลงทุน กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง

ธอส. สนับสนุนคนไทยลงทุนผ่าน กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง เพิ่มทางเลือกในการออม รับผลตอบแทนสูง 3.0% – 9.0% ต่อปี

ทำไมไทยไล่สิงคโปร์ไม่ทัน

“เทพไท เสนพงศ์” ชี้ทำไมผู้นำไทยสู้สิงคโปร์ไม่ทัน

Notice: ob_end_flush(): Failed to send buffer of zlib output compression (0) in /home/ozapeumy/public_html/wp-includes/functions.php on line 5427