สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ แถลง เศรษฐกิจภาวะสังคมไทย ไตรมาส 2 ปี 2567 มีประเด็นที่สำคัญประกอบด้วย
1 สถานการณ์แรงงานชะลอตัวลง ไตรมาส 2 ชั่วโมงการทำงานและค่าจ้างแรงงานค่อนข้างทรงตัว และอัตราการว่างงานปรับเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 1.07 หรือมีผู้ว่างงานจำนวน 4.3 แสนคน ประเด็นที่ต้องติดตามในระยะถัดไป 1) การปรับตัวของแรงงานให้มีทักษะด้าน AI ที่สอดคล้องกับทักษะที่จำเป็นในอนาคต 2) ผลกระทบของการขาดสภาพคล่องของ SMEs และปัจจัยเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่มากขึ้น มีเอสเอ็มอีเป็นหนี้เสียเพิ่มขึ้น 3) ผลกระทบของอุทกภัยต่อผลผลิตทางการเกษตรและรายได้ของเกษตรกร
2 หนี้สินครัวเรือนในไตรมาสหนึ่ง ปี 2567 มีมูลค่า 16.37 ล้านล้านบาท ขยายตัว 2.5% ชะลอลงจาก 3.0% ในไตรมาสก่อน และคิดเป็นสัดส่วนต่อ GDP ที่ 90.8% ลดลงจาก 91.4% โดยคุณภาพสินเชื่อที่ปรับลดลง ทำให้สถาบันการเงินเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อแก่ครัวเรือน ประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ ได้แก่ 1) การเร่งปรับโครงสร้างหนี้ลูกหนี้บัตรเครดิตที่มีการผิดชำระหนี้มากขึ้น 2) รูปแบบการให้กู้ยืมนอกระบบที่หลากหลายนำไปสู่พฤติกรรมการก่อหนี้เกินตัวได้ง่าย
3 การเจ็บป่วยด้วยโรคเฝ้าระวังในไตรมาสสอง ปี 2567 เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ยังต้องให้ความสำคัญกับการเจ็บป่วยด้วยโรคหอบหืดที่พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้น และการแพร่ระบาดของโรคไข้มาลาเรีย รวมทั้งโรคหลอดเลือดสมองมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น
4 การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ และการสูบบุหรี่ไฟฟ้า ในไตรมาสสอง ปี 2567 เพิ่มขึ้น
5 ไตรมาสสอง ปี 2567 คดีอาญารวมเพิ่มขึ้น 26.7% จากไตรมาสเดียวกันของปี 2566