EIC มองเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวต่อเนื่อง

Date:

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สามติดต่อกันที่ 2.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และหากเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่เศรษฐกิจไทยเริ่มกลับมาฟื้นตัวจากการเปิดประเทศ เศรษฐกิจไทยในไตรมาสสองยังสามารถขยายตัว 0.7% จากไตรมาสก่อนหน้า หลังปรับปัจจัยฤดูกาล (QOQ sa)

โดยเศรษฐกิจได้รับปัจจัยสนับสนุนหลักจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศที่ได้รับอานิสงส์จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่กลับมาเป็นปกติมากขึ้นตามการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคและการเปิดรับนักท่องเที่ยว

ขณะที่หากพิจารณาในฝั่งการผลิต (Production approach) พบว่ามีการฟื้นตัวได้ดีในหลายภาคเศรษฐกิจ นำโดยภาคบริการ ซึ่งสอดคล้องกับภาคท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวต่อเนื่องและภาคเกษตรที่ขยายตัวเร่งขึ้นตามปริมาณผลผลิต

อย่างไรก็ดี ภาคการก่อสร้างยังคงหดตัวจากการลงทุนภาครัฐที่ชะลอตัว ประกอบกับการหดตัวของภาคอุตสาหกรรมจากที่เคยขยายตัวได้ดีในไตรมาสที่ผ่านมา สะท้อนถึงปัญหาแนวโน้มปริมาณการส่งออกที่ส่งสัญญาณชะลอตัวในบางตลาดสำคัญ เช่น จีน และสหรัฐฯ รวมถึงความกังวลต่อต้นทุนที่ยังผันผวน

สำหรับในช่วงที่เหลือของปี EIC คาดเศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่องแม้จะได้รับแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อในประเทศที่เร่งตัว จากภาคการท่องเที่ยวที่กลับมาฟื้นตัวได้เร็วกว่าคาดตามการทยอยลดมาตรการเดินทางระหว่างประเทศในหลายประเทศ รวมถึงไทย โดย EIC คาดนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในปี 2022 อาจเพิ่มขึ้นแตะ 10 ล้านคน (จากเดิม 7.4 ล้านคน) จากความต้องการเดินทางท่องเที่ยวที่เพิ่มสูงขึ้นจากอุปสงค์คงค้าง (Pent-up demand) สะท้อนจากสล็อตตารางการบินในช่วงฤดูหนาวปี 2022 (ต.ค. 2022-มี.ค. 2023) ของสนามบินนานาชาติหลักของไทยที่มีการจองล่วงหน้าสูง ส่งผลให้ภาคบริการและการบริโภคเอกชนในภาพรวม โดยเฉพาะบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว เช่น โรงแรม ร้านอาหาร การขนส่ง ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และจะยิ่งเป็นปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจไทยต่อเนื่องในปี 2023 จากนักท่องเที่ยวจีนที่มีแนวโน้มกลับมาเดินทางระหว่างประเทศ โดยคาดว่ารัฐบาลจีนจะเริ่มทยอยผ่อนคลายนโยบายโควิดเป็นศูนย์ (Zero COVID) ในช่วงปลายปี 2022 และปลดล็อกการเดินทางในปี 2023

EIC มองว่า ถึงแม้ในภาพรวมเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่อง แต่ในระยะถัดไปความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกประเทศมีเพิ่มสูงขึ้นสร้างแรงกดดันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะจากความกังวลต่อความเสี่ยงที่สหรัฐฯ จะเผชิญภาวะเศรษฐกิจถดถอยจากการดำเนินมาตรการการเงินตึงตัว เศรษฐกิจยุโรปที่เผชิญความเสี่ยงจากด้านอุปทานพลังงานจากรัสเซีย รวมถึงเศรษฐกิจจีนที่ยังคงมีความเปราะบางในหลายภาคส่วน อีกทั้ง เงินเฟ้อและราคาพลังงานยังอยู่ในระดับสูงทั่วโลก นอกจากนี้ ความเสี่ยงทางด้านภูมิรัฐศาสตร์โลก โดยเฉพาะท่าทีที่แข็งกร้าวระหว่างจีนและสหรัฐฯ ในกรณีไต้หวัน ซึ่งจะเร่งให้การแบ่งขั้วทางเศรษฐกิจ (Decoupling) ระหว่างทั้งสองประเทศให้เกิดเร็วขึ้น ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันให้การส่งออกสินค้าที่เป็นปัจจัยหนุนเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมามีแนวโน้มที่จะขยายตัวได้ในอัตราที่ชะลอลงในช่วงครึ่งหลังของปี โดยเฉพาะในด้านปริมาณ สะท้อนจากข้อมูลส่งออกสุทธิที่เคยเป็นปัจจัยหนุนสำคัญต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในไตรมาสก่อนกลายมาเป็นปัจจัยฉุดต่อการขยายตัวเศรษฐกิจในไตรมาสล่าสุด ส่งผลทำให้การลงทุนภาคเอกชนในระยะถัดไปมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราชะลอลงเช่นเดียวกัน ด้านความช่วยเหลือจากทางภาครัฐในการพยุงเศรษฐกิจยังคงมีความจำเป็นอยู่แต่แรงส่งจะมีน้อยลง เนื่องจาก EIC ประเมินว่าเหลือเม็ดเงินจาก พ.ร.ก. กู้เงิน 5 แสนล้านบาท ที่จะสามารถใช้ทำโครงการใหม่ได้เพียงราว 2.7 หมื่นล้านบาท และจะสิ้นอายุลงในเดือน ก.ย. 2022

Share post:

spot_img

Related articles

แนะรัฐบาลขึ้นภาษี VAT พาเศรษฐกิจพ้นหายนะ 

อดีต รมว.คลัง แนะรัฐบาลใหม่ขึ้นภาษี VAT เพิ่มรายได้ประเทศแสนล้าน พาเศรษฐกิจพ้นหายนะ

ครม.สืบสันดาน ถูกต้องเหมาะสมแล้ว

“นายเทพไท เสนพงศ์” บอก ครม.สืบสันดาน ถูกต้องเหมาะสมแล้ว

รัฐบาลอุ๊งอิ๊ง จะรอดข้ามปีมั้ย???

“นายเทพไท เสนพงศ์” ตั้งข้อสังเกต รัฐบาลอุ๊งอิ๊ง จะรอดข้ามปีมั้ย???

ทีทีบี ออกมาตรการสินเชื่อช่วยเหลือลูกค้าน้ำท่วม

ทีทีบี ออกมาตรการ “ตั้งหลัก” ช่วยเหลือลูกค้าสินเชื่อที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ปรับโครงสร้างหนี้ และขยายเวลาผ่อนชำระนานสูงสุด 6 เดือน

Notice: ob_end_flush(): Failed to send buffer of zlib output compression (0) in /home/ozapeumy/public_html/wp-includes/functions.php on line 5427