ชี้ อินเดียกำหนดราคาส่งออก ข้าว ส่งผลดีต่อราคาข้าวไทย

Date:

นายวิทยากร มณีเนตร โฆษกกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงสถานการณ์ข้าว กรณีอินเดียกลับมาส่งออกข้าวขาว 5% ภายใต้เงื่อนไขการก่าหนดราคาขั้นต่ำในการส่งออกที่ 490 เหรียญสหรัฐ/ตัน ยังถือว่าเป็นผลดีกับตลาดข้าวโลกและข้าวไทย เพราะราคายังถือว่าอยู่ในระดับที่สูงเมื่อเทียบกับช่วงปกติ ก่อนที่อินเดียจะประกาศไม่ส่งออกข้าวที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติในปี 2565 ที่เฉลี่ย 360 – 370 เหรียญสหรัฐ/ตัน แม้ขณะนี้สถานการณ์ข้าวเปลือกเจ้าจะปรับลดลงมาตามสถานการณ์ตลาดที่ผู้ประกอบการต้องจับตาการเปลี่ยนแปลงนโยบายส่งออกของประเทศอินเดีย แต่จากการติดตามสถานการณ์ร่วมกับผู้ประกอบการโรงสีข้าวและผู้ส่งออกของกรมการค้าภายใน คาดว่าสถานการณ์ราคาจะมีแนวโน้มดีขึ้น ไม่ต่ำลงไปมากกว่านี้

นายวิทยากร กล่าวว่า ตามที่นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้มีนโยบายให้ดูแลสินค้าเกษตร รวมถึงราคาข้าวในประเทศอย่างใกล้ชิด กระทรวงพาณิชย์โดยกรมการค้าภายในได้ติดตามสถานการณ์ร่วมกับสมาคมโรงสี ผู้ส่งออกอย่างต่อเนื่อง พบว่า ขณะนี้เกษตรกรส่วนใหญ่ได้เก็บเกี่ยวข้าวเปลือกเจ้าไปแล้วและจะมีผลผลิตออกสู่ตลาดอีกครั้งในปลายเดือนตุลาคมนี้ คาดการณ์ว่าสถานการณ์แนวโน้มราคาตลาด การซื้อขาย จะกลับมาปกติ

มีเสถียรภาพ ราคาไม่ตกต่ำ โดยข้าวเปลือกเจ้า (ข้าวแห้งความชื้นไม่เกิน 15%) มีราคา 9,100 – 10,000 บาท/ตัน ข้าวเกี่ยวสดความชื้น 30% ราคา 7,000 – 7,750 บาท/ตัน บางพื้นที่ที่ข้าวประสบปัญหาอุทกภัย จมน้ำ เร่งเก็บเกี่ยว ราคาจะลดลงมาตามคุณภาพ ส่าหรับข้าวเปลือกหอมมะลิ และข้าวเปลือกเหนียว ราคายังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยข้าวเปลือกความชื้นไม่เกิน 15% ข้าวหอมมะลิราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 16,600 บาท/ตัน ข้าวเปลือกเหนียว ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 13,900 บาท/ตัน

สำหรับการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวฤดูกาลผลิต 2567/68 กระทรวงพาณิชย์ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ (นบข.) ได้เตรียมมาตรการรองรับข้าวเปลือกโดยมาตรการเก็บข้าวไว้ในยุ้งฉางเกษตรกร เป็นมาตรการที่ส่าคัญ ที่จะช่วยชะลอข้าวเปลือกในช่วงที่จะออกสู่ตลาดมากในเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม 2567

นายวิทยากร กล่าวเพิ่มเติมว่า การที่อินเดียประกาศควบคุมการส่งออกข้าวขาว 5% ตั้งแต่ 20 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา เนื่องจากอินเดียประสบปัญหาภัยแล้ง ส่งผลให้ราคาข้าวเปลือกเจ้าของประเทศไทยปรับตัวสูงขึ้นจากเฉลี่ย 8,984 บาท/ตัน ในปี 2565 เป็น 11,000 – 12,000 บาท/ตัน ในช่วงสิงหาคม 2566 – กันยายน 2567 แม้ปัจจุบันอินเดียจะหันกลับมาส่งออกข้าวขาว 5% แต่การก่าหนดราคาส่งออกข้าวขั้นต่่ายังถือว่าท่าให้ราคาข้าวในตลาดโลกมีเสถียรภาพ

สำหรับการส่งออกข้าวของไทยในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา (ม.ค. – ส.ค.67) ก็ยังมีทิศทางที่ดี โดยไทยส่งออกไปแล้ว 6.57 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2566 ร้อยละ 24 (+1.28 ล้านตัน) และปริมาณการขออนุญาตส่งออกข้าวกับกรมการค้าต่างประเทศในเดือนกันยายน 2567 ข้าวไทย ก็ยังส่งออกได้เป็นปกติ แม้สถานการณ์ค่าเงินบาทจะมีความผันผวนจึงปรับเป้าหมายการส่งออกจาก 8 ล้านตัน เป็น 8.2 ล้านตัน ในสิ้นปี 2567

นายวิทยากร ได้ย้ำว่า กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าภายใน จะได้ติดตามดูแลการซื้อขายข้าวปลือกอย่างเข้มงวด ทั้งเรื่องของการปิดป้ายแสดงราคารับซื้อ ตรวจสอบความถูกต้องของเครื่องชั่งน้่าหนักและเครื่องวัดความชื้น ซึ่งหากเกษตรกรไม่ได้รับความเป็นธรรมในการซื้อขายหรือพบเห็นว่าท่าข้าวหรือโรงสีใด มีพฤติกรรมใดๆ ที่เป็นการเอารัดเอาเปรียบชาวนา สามารถร้องเรียนได้ที่สายด่วนกรมการค้าภายใน โทร 1569 ผู้ประกอบการรายใดจงใจที่จะท่าให้ปั่นป่วนซึ่งราคา ต้องระวางโทษจ่าคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือทั้งจ่าทั้งปรับ

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

พพ.แจงภารกิจคืนพื้นที่ เกาะร้อยไร่ สำเร็จ 

พพ.แจงภารกิจคืนพื้นที่ เกาะร้อยไร่ สำเร็จ ไม่มีผู้บุกรุกเหลืออยู่ในพื้นที่อีกต่อไป ประกาศปิดพื้นที่เด็ดขาด ห้ามบุกรุกซ้ำ

“บสย. พร้อมค้ำ พร้อมช่วย” สำเร็จเกินคาด

กิจกรรมแก้หนี้เชิงรุก “บสย. พร้อมค้ำ พร้อมช่วย” สำเร็จเกินคาด ช่วย SMEs ลูกหนี้ที่ บสย. จ่ายเคลม “ปลดหนี้” สูงสุดเป็นประวัติการณ์ 

โรงไฟฟ้าบีแอลซีพี ประกาศจุดยืน “อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ”

โรงไฟฟ้าบีแอลซีพี ร่วมเวที CEO Forum ประกาศจุดยืน "อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ" สู่อนาคต Net Zero

“นายกฯแพทองธาร” เป็นสักขีพยานลงนาม FTA ไทย – ภูฏาน

“นายกฯแพทองธาร” เป็นสักขีพยานลงนาม FTA ไทย - ภูฏาน FTA ฉบับที่ 17 ของไทย เปิดตลาดใหม่สู่เอเชียใต้