ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย กำไรปี 2567 จำนวน 2,852 ล้านบาท

Date:

พอล วอง ชี คิน กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย  เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานของกลุ่มธนาคารสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2567 มีกำไรสุทธิจำนวน 2,852.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 1,246.8 ล้านบาท หรือร้อยละ 77.7 เมื่อเปรียบเทียบผลกำไรสุทธิของงวดเดียวกันปี 2566 สาเหตุหลักเกิดจากรายได้จากการดำเนินงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 และผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นลดลง ร้อยละ 13.7  สุทธิกับการเพิ่มขึ้นในค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานร้อยละ 2.6

รายได้จากการดำเนินงาน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2567  มีจำนวน 15,102.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้น    จำนวน 1,331 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.7 เมื่อเปรียบเทียบกับงวดเดียวกันปี 2566 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ จากการดำเนินงานอื่นจำนวน 1,388,8 ล้านบาท หรือร้อยละ 49.4  ส่วนใหญ่เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของกำไรสุทธิ จากเครื่องมือทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุน หนี้สูญรับคืนและกำไรจากเงินลงทุน สุทธิกับการลดลงของกำไรสุทธิจากการขายสินเชื่อด้อยคุณภาพ   รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิเพิ่มขึ้น 237.4   ล้านบาท หรือร้อยละ 19.9  ส่วนใหญ่มาจากการเพิ่มขึ้นของรายได้จากให้บริการชำระค่าสินค้าและบริการชำระเงิน และค่าธรรมเนียมการโอนเงินและเรียกเก็บเงิน สุทธิกับการลดลงของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ จำนวน 295.2 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.0 เนื่องจากค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยเติบโตสูงกว่าการเติบโตของรายได้ดอกเบี้ย   

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2567 เปรียบเทียบกับงวดเดียวกันปี 2566 เพิ่มขึ้นจำนวน 224.7 ล้านบาทหรือร้อยละ 2.6 สาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของค่าเผื่อการด้อยค่าของทรัพย์สินรอการขาย สุทธิกับการลดลงของค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน   อัตราส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ต่อรายได้จากการดำเนินงานสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2567 อยู่ที่ร้อยละ 58.7 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปี 2566 อยู่ที่ ร้อยละ 62.7 เป็นผลมาจากการเติบโตของรายได้จากการดำเนินงานที่แข็งแกร่งเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน

อัตราส่วนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิต่อสินทรัพย์เฉลี่ย (Net Interest Margin – NIM) สำหรับปี 2567 อยู่ที่ร้อยละ 2.2 ลดลงจากงวดเดียวกันปี 2566 อยู่ที่ร้อยละ 2.6 เป็นผลจากต้นทุนเงินฝากที่เพิ่มขึ้น

วันที่ 31 ธันวาคม 2567 เงินให้สินเชื่อสุทธิจากรายได้รอตัดบัญชี (รวมเงินให้สินเชื่อซึ่งค้ำประกันโดยธนาคารอื่นและเงินให้สินเชื่อแก่สถาบันการเงิน) ของกลุ่มธนาคารอยู่ที่ 251.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับเงินให้สินเชื่อ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 กลุ่มธนาคารมีเงินฝาก (รวมตั๋วแลกเงิน หุ้นกู้ และผลิตภัณฑ์ทางการเงิน บางประเภท) จำนวน 324 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 จากสิ้นปี 2566 ซึ่งมีจำนวน 310.4 พันล้านบาท อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝาก (the Modified Loan to Deposit Ratio) ของกลุ่มธนาคารลดลงเป็นร้อยละ 77.6 จากร้อยละ 78.9 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566

สินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPLs) อยู่ที่ 6.7 พันล้านบาท อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ ต่อเงินให้สินเชื่อทั้งสิ้นอยู่ที่ร้อยละ 2.6 ลดลงเมื่อเทียบกับ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 อยู่ที่ร้อยละ 3.3   สาเหตุเกิดจากการขายสินเชื่อด้อยคุณภาพในระหว่างงวด 2567 การบริหารจัดการความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ การปรับปรุงการบริหารคุณภาพสินทรัพย์ และกระบวนการในการเก็บหนี้

อัตราส่วนค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567 อยู่ที่ร้อยละ 137.9  เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2566 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 124.2 ค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นของกลุ่มธนาคารอยู่ที่จำนวน 9.0 พันล้านบาท ซึ่งเป็นเงินสำรองส่วนเกินตามเกณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยจำนวน 1.5 พันล้านบาท

เงินกองทุนรวมของกลุ่มธนาคาร ณ สิ้นวันที่ 31 ธันวาคม 2567 มีจำนวน 59.8 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนเงินกองทุนรวมต่อสินทรัพย์เสี่ยงร้อยละ 21.6 โดยเป็นอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ร้อยละ 17.0

เกี่ยวกับธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)

ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) (“CIMB Thai”) เป็นธนาคารพาณิชย์ที่ให้บริการเต็มรูปแบบและครบวงจร ผ่านเครือข่ายสาขา 54 แห่งทั่วประเทศไทย (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566) โดยซีไอเอ็มบี ไทย ยึดมั่นในวิสัยทัศน์ของการก้าวเป็น ‘a digital-led bank with ASEAN Reach’ ธนาคารอาเซียนขับเคลื่อนด้วยดิจิทัล และสร้างองค์กรที่มีประสิทธิภาพสูงบนความยั่งยืน เพื่อช่วยให้ลูกค้าและสังคมก้าวไปข้างหน้า โดยใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงิน เครือข่ายในภูมิภาคอาเซียน และเทคโนโลยีที่ดีที่สุดของเรา                                                                                 

ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ถือหุ้น 94.83% โดยกลุ่มซีไอเอ็มบี โฮลดิ้ง เบอร์ฮาด กลุ่มการเงินชั้นนำในอาเซียน และเป็นผู้ให้บริการทางการเงินที่มีสินทรัพย์ใหญ่เป็นอันดับ 2 ในมาเลเซีย กลุ่มซีไอเอ็มบี มีสำนักงานใหญ่ ตั้งอยู่ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย โดย ซีไอเอ็มบี ไทย นำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการให้ลูกค้ารายย่อย ลูกค้าธุรกิจขนาดกลาง ลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ ธุรกรรมการเงิน ธนาคารอิสลาม และบริหารจัดการสินทรัพย์  ผ่านเครือข่ายแข็งแกร่งในอาเซียน (มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ไทย กัมพูชา เวียดนาม และฟิลิปปินส์)   นอกจากนี้ ยังมีเครือข่ายในจีน ฮ่องกง และสหราชอาณาจักร อีกด้วย ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.cimbthai.com 

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

ชี้ “คาสิโน-พนันออนไลน์” คือเศรษฐกิจบาป

“อลงกรณ์” ชี้“คาสิโน-พนันออนไลน์”คือเศรษฐกิจบาปและวัฒนธรรมสีเทา”กัดเซาะบ่อนทำลายหลักนิติรัฐและคุณธรรมของประเทศ

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ เผยสุดยอดทำเลทองประจำปี 2567

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ เผยสุดยอดทำเลทองประจำปี 2567 ไม่พลิกโผคนยังค้นหาบ้านใน “กรุงเทพฯ” มากที่สุด “BTS อ่อนนุช” ยังครองแชมป์ทำเลแนวรถไฟฟ้าสุดฮอต

10 ประเด็น ที่ต้องทำความเข้าใจกับ ทักษิณ

“เทพไท เสนพงศ์” ชี้ 10 ประเด็น ที่ต้องทำความเข้าใจกับ ทักษิณ

ยุคทองของสหรัฐ เริ่มต้นขึ้นแล้ว

ซีไอเอ็มบีไทย วิเคราะหื ยุคทองของสหรัฐ เริ่มต้นขึ้นแล้ว “ทรัมป์ 2.0” จะเห็นโลกและภูมิเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป