หมอเปรมศักดิ์ จี้แก้ น้ำเชื่อมไทย ถูกกีดกันนำเข้า

Date:

เมื่อวันที่ 5 มี.ค. ที่รัฐสภา มีการประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อพิจารณา ความตกลงว่าด้วยกรอบข้อบังคับด้านความปลอดภัยอาหารอาเซียน  ซึ่ง คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ นพ.เปรมศักดิ์ เพียยุระ สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะสมาชิกรัฐสภา อภิปรายว่า สมาชิกรัฐสภาคงจะเล็งเห็นประโยชน์ของประเทศไทยและคงผ่านความตกลงนี้ไป หลังจากนี้จะมีการจัดตั้งคณะกรรมการประสานงานด้านอาหารปลอดภัยอาเซียน ซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนและสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ แต่ที่น่าสนใจคือ จะมีหน่วยงานทั้งทางด้านเกษตร ในฐานะผู้ผลิตอาหาร หน่วยงานทางสาธารณสุขที่ดูแลความปลอดภัยของอาหาร และหน่วยงานทางการค้า  แต่สิ่งที่ตนห่วงใยคือ หน่วยงานของกระทรวงที่เกี่ยวข้องจะมีความเป็นเอกภาพ หรือแบ่งงานการชัดเจนอย่างไร

ทั้งนี้ ความปลอดภัยของอาหารมีหน่วยงานหนึ่งที่สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดูแล คือ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตร และอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เป็นหน่วยงานหลัก แต่ในเรื่องของสุขภาพ สำนักงานอาหารและยา หรือ อย. สังกัดกระทรวงสาธารณสุขดูแล ทั้ง 2 กระทรวงนี้จะต้องทำงานร่วมกัน เพื่อให้ได้มาตรฐานสินค้าที่ปลอดภัยไปสู่ต่างประเทศ แต่ปัญหาขณะนี้ที่เป็นรูปธรรมเกิดขึ้นแล้ว จากกรณีที่เป็นข่าวมาก่อนหน้านี้คือ น้ำตาลพรีมิกซ์ที่เป็นน้ำเชื่อมของประเทศไทย ไม่สามารถส่งไปประเทศคู่ค้าได้ โดยสมาคมอุตสาหกรรมน้ำตาลแปรรูปไทย ได้รายงานว่า สินค้าน้ำตาลซึ่งผลิตมาจากอ้อยจะมีรูปแบบการนำส่งสินค้า 2 แบบคือ น้ำตาลทราย และน้ำตาบพรีมิกซ์หรือน้ำเชื่อม 

นพ.เปรมศักดิ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมามีการส่งสินค้าประเภทน้ำเชื่อมจากประเทศไทย ไปถึงประเทศเป้าหมายตั้งแต่ 11 ธันวาคม 2567 แต่ไม่สามารถนำเข้าประเทศคู่ค้าได้ สินค้าต้องลอยเรืออยู่กลางทะเล จนถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ น้ำเชื่อมดังกล่าวถูกตีกลับ จนต้องนำไปขายที่ประเทศอินเดียในราคาที่ถูกกว่าประเทศคู่ค้า 50 -70% ไม่ต้องถามว่า คุ้มทุนหรือไม่ ผู้ส่งออกขาดทุนกว่า 2 พันล้าน เพราะถูกหน่วยงานตรวจสอบความปลอดภัยทางอาหารของประเทศคู่ค้ากีดกัน นี่คือความสูญเสียที่เกิดขึ้น ที่นำเรื่องนี้มาพูดเพราะเกี่ยวข้องกับเกษตรกร น้ำตาลทรายหรือน้ำเชื่อมก็ล้วนผลิตจากอ้อย ราคาอ้อยก็เกี่ยวพันกับเกษตรกรชาวไร่อ้อย เวลานี้ชาวไร่อ้อย เขาร้องอ๋อยกันแล้ว เพราะไม่มีความคุ้มทุน ขณะนี้ราคาอ้อยลดต่ำลงตันละ 300 บาทจาก 1,460 บาทต่อตันมาเป็นวันนี้ 1,160 บาทต่อตัน เกษตรกรเสียหายอย่างต่ำ 200,000 รายทั่วประเทศ ปัญหานี้ทำอย่างไร สินค้าจากน้ำเชื่อมของประเทศไทยส่งออกไปแล้วแต่ลอยคออยู่กลางทะเล เหตุเกิดขึ้นปลายปี 2567 ต่อเนื่องเนื่องถึงต้นปี 2568 ก็ยังแก้ปัญหาไม่ได้

“ผู้เดือดร้อนไปร้องทุกข์ทุกหน่วยงาน ไปร้องที่มกอช. ว่าทำไมถึงส่งออกไม่ได้ ไปร้องที่กระทรวงพาณิชย์ ในฐานะที่ทำการค้าระหว่างประเทศ ก็โยนกันไปมา จนสมาคมอุตสาหกรรมน้ำตาลแปรรูปไทย ไม่รู้จะไปพึ่งใคร ต้องไปร้องที่ทำเนียบรัฐบาลก็มีบุคลากรของทำเนียบมารับเรื่องราวร้องทุกข์ มีการลงรับเลขที่หนังสือแล้ว แต่วันนี้หนังสือนี้ไปอยู่ที่ไหน ปล่อยให้เกษตรกรและสมาคมอุตสาหกรรมน้ำตาลแปรรูปไทยขาดทุนยับเยิน อยากถามว่า วันนี้เมื่อรัฐสภาเห็นชอบเรื่องนี้แล้ว จะแก้ปัญหานี้ได้หรือไม่ อกหักครั้งแรกไม่เท่าไหร่ อย่าให้อกหักซ้ำสองมันจะหนักกว่าเดิม จะกระทบต่อผู้ผลิตและเกษตรกรชาวไร่อ้อยทั่วประเทศ ผมขอฝากปัญหานี้ให้ ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รมว.เกษตรและสหกรณ์ จี้ถามมกอช.ว่า เรื่องนี้มีสายสนกลในอย่างไร เพราะเรื่องนี้เป็นข่าวไปไม่ต่ำกว่า 40-50 ครั้ง แต่แก้ปัญหาไม่ได้ จนต้องไปขายน้ำเชื่อมให้อินเดีย ถูกกว่าเดิม 50-70%  ถึงเวลาแล้วที่ไทยต้องปรับมาตรฐานอาหารใหม่ ไม่ใช่ให้ผู้บริโภคเสี่ยงดวงเอาเอง  ต้องให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ในสินค้าต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากฟาร์ม หรือจากไร่จากสวน จะได้ปลอดภัย มีมาตรฐาน ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นเรื่องของคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นเรื่องของอนาคตของคนไทยทั้งประเทศ” นพ.เปรมศักดิ์

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

เคทีซี เดินหน้าโครงการปันความรู้ เสริมศักยภาพพนักงาน

เคทีซี เดินหน้าโครงการปันความรู้ เสริมศักยภาพพนักงานพร้อมยกระดับการบริการ

เคทีซีปันน้ำใจกว่า 28 ล้านบาท ให้กับน้องๆ มูลนิธิเด็กโสสะฯ

เคทีซีรวมพลังสมาชิกปันน้ำใจกว่า 28 ล้านบาท ร่วมสร้างอนาคตที่มั่นคงให้กับน้องๆ มูลนิธิเด็กโสสะฯ

เคทีซี มอบทุนสนับสนุนมูลนิธิศุภนิมิตฯ กว่า 29 ล้านบาท

เคทีซี รวมพลังสมาชิกบัตรเครดิตส่งต่อโอกาส มอบทุนสนับสนุนมูลนิธิศุภนิมิตฯ กว่า 29 ล้านบาท

เคทีซีเผยยอดเช่ารถคึกคัก

เคทีซีเผยยอดเช่ารถคึกคัก เส้นทางเมืองรองได้รับความนิยมมากขึ้น