อุตสาหกรรม “กุ้ง” ไทย ยังไม่สดใส

Date:

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ SCB EIC ประเมินว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมกุ้งของไทยในปีที่ผ่านมาอยู่ในภาวะซบเซาต่อเนื่องโดยมูลค่าการส่งออกกุ้ง ในปี 2024 อยู่ที่ 1,134.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัว -7.4%YOY ทั้งนี้ปัจจัยหลักมาจากราคาส่งออกกุ้งที่หดตัวจากการแข่งขันด้านราคา (Price war) ที่ค่อนข้างรุนแรง ท่ามกลางภาพรวมความต้องการบริโภคกุ้งที่ยังคงอยู่ในภาวะซบเซา ขณะที่ปริมาณส่งออกกุ้งหดตัวเล็กน้อย ซึ่งนอกจากจะเป็นผลจากการชะลอการผลิตตามอุปสงค์ในตลาดโลกที่ซบเซาแล้ว ยังเป็นผลจากปริมาณผลผลิตกุ้งในประเทศที่ปรับตัวลดลง ทั้งจากปัญหาโรคระบาดต่าง ๆ ที่รุมเร้าอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสภาพอากาศที่แปรปรวนอีกด้วย ส่งผลให้อัตราการรอดของกุ้งอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้น เกษตรกรบางส่วนจึงตัดสินใจชะลอการลงลูกกุ้งเพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว

ทิศทางอุตสาหกรรมกุ้งในปี 2025 ยังคงมีแนวโน้มหดตัวท่ามกลางปัจจัยเสี่ยง (Downside risks) รอบด้านทั้งเรื่องโรคระบาดสะสมต่าง ๆ ในกุ้งที่ยังพบอย่างต่อเนื่องในไทย ซึ่งประเด็นนี้เป็นปัจจัยหลักที่กดดันการฟื้นฟูผลผลิตกุ้งในประเทศ รวมไปถึงประเด็นความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical risks) และสงครามการค้ารอบใหม่ที่มีแนวโน้มยกระดับความรุนแรงขึ้นอีกครั้งภายใต้นโยบาย Trump 2.0 ซึ่งประเด็นดังกล่าวจะส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อภาพรวมเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก รวมถึงอาจซ้ำเติมแนวโน้มเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลักของไทยอย่างสหรัฐฯ และจีนให้ฟื้นตัวได้ล่าช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งประเด็นความเสี่ยงต่าง ๆ เหล่านี้ ส่งผลให้ภาพรวมการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมกุ้งไทยในปีนี้อยู่ในภาวะเปราะบาง โดย SCB EIC คาดการณ์ว่ามูลค่าการส่งออกกุ้งในปี 2025 จะหดตัวที่ -2.3%YOY ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 

ในระยะต่อไปความท้าทายหลักที่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมกุ้งจำเป็นต้องจับตาอย่างใกล้ชิดและเตรียมพร้อมรับมือได้แก่ ปัญหาความไม่สมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานกุ้งในตลาดโลกท่ามกลางกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ยังคงมีแนวโน้มเปราะบาง รวมไปถึงกฎระเบียบการค้าโลกรวมทั้งมาตรการกีดกันทางการค้าด้านภาษีและไม่ใช่ภาษี (NTBs) ที่มีแนวโน้มเข้มงวดมากขึ้น ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมกุ้งจะต้องให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนตลอดห่วงโซ่การผลิตและตอบโจทย์การเลี้ยงกุ้งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อยกระดับศักยภาพการเติบโตและการแข่งขัน รวมทั้งต้องปรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจเพื่อเตรียมรับมือกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการแข่งขันของสินค้านวัตกรรมทางเลือกใหม่ ๆ ในตลาดอาหารทะเล

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

SME D Bank ประกาศลดดอกเบี้ยเงินกู้สูงสุด 0.15% ต่อปี

SME D Bank ประกาศลดดอกเบี้ยเงินกู้สูงสุด 0.15% ต่อปี คู่เติมทุนสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำคงที่ ช่วยเอสเอ็มอีลดภาระธุรกิจ

ธอส. ลดดอกเบี้ยเงินกู้บ้านสูงสุด 0.15% ต่อปี 

ธอส. ลดดอกเบี้ยเงินกู้บ้านสูงสุด 0.15% ต่อปี ลดภาระให้ลูกค้า และกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ มีผล 14 พ.ค. 68 เป็นต้นไป

การบินไทย กำไรไตรมาส 13,661 ล้านบาท

การบินไทย กำไรไตรมาส 13,661 ล้านบาท สะท้อนเติบโตอย่างแข็งแกร่งต่อเนื่อง เดินหน้าออกจากการฟื้นฟูกิจการ พร้อมกลับเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์

เวียตเจ็ท กำไรไตรมาสแรกทะลุ 2 หมื่นล้านบาท

เวียตเจ็ท กำไรไตรมาสแรกทะลุ 2 หมื่นล้านบาท เดินหน้าขยายเส้นทาง-จับมือพันธมิตรระดับโลก เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมการบินภูมิภาค