“ธีระชัย” จี้รัฐ หยุดตีความกฎหมาย สร้างความชอบธรรมออก “จีโทเคน”

Date:

ธีระชัย

วันนี้ (15 พ.ค. 2568) ที่พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รองหัวหน้าพรรคฝ่ายเศรษฐกิจ  พปชร. อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แถลงข่าวถึงกรณีที่กระทรวงการคลังจะกู้หนี้สาธารณะโดยออกโทเคนดิจิทัล G-Token ว่า จะไม่ตรงกับเจตนารมย์ของกฎหมาย

นายธีระชัยกล่าวว่า ในปี พ.ศ. 2548 ที่มีการตราพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 นั้น เป็นเวลายี่สิบปีมาแล้ว ในขณะนั้นกฎหมายไทยยังไม่มีพื้นฐานใดเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล

สำหรับกรณีที่กระทรวงการคลังเสนอให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติการออก G-Token โดยอ้างว่าเป็น “วิธีการอื่น” ตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง ซึ่งระบุว่า 

“การกู้เงินตามพระราชบัญญัตินี้จะทำเป็นสัญญาหรือออกตราสารหนี้หรือวิธีการอื่นใดก็ได้ ทั้งนี้ ตามที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ“ นายธีระชัยเห็นว่าเจตนารมย์ของกฎหมายดังที่บรรยายไว้ก่อนหน้าว่าจะทำเป็นสัญญาหรือจะออกตราสารหนี้ก็ได้นั้น คือต้องการให้มีหลักฐานแห่งหนี้เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อคุ้มครองประชาชนผู้เป็นเจ้าหนี้ของรัฐ ดังนั้น “วิธีการอื่น” ที่กระทรวงการคลังจะเสนอให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมาตรา 10 วรรคหนึ่งได้ ก็จะต้องเป็นวิธีการที่มีหลักฐานแห่งหนี้เป็นลายลักษณ์อักษรในทำนองเดียวกับสัญญาหรือตราสารหนี้

ต่อมาในปี พ.ศ. 2561 ที่มีการตราพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ที่อนุญาตให้มีการออกโทเคนดิจิทัลได้นั้น ก็เป็นที่ชัดเจนว่า เจตนารมย์ของกฎหมายนั้นเพื่ออนุญาตให้ภาคเอกชนเป็นผู้ออก ดังระบุในมาตรา 17 ว่า 

“ในการเสนอขายโทเคนดิจิทัลที่ออกใหม่ต่อประชาชน ผู้ออกโทเคนดิจิทัลที่ประสงค์จะเสนอขายโทเคนดิจิทัลดังกล่าวต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. และให้กระทำได้เฉพาะนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด …” ในขณะนั้น จึงชัดเจนว่ามิได้มีความคิดที่จะใช้หลักการโทเคนดิจิทัลสำหรับการกู้เงินตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 

ส่วนกรณีที่กระทรวงการคลังเสนอ ครม. ให้อนุมัติวิธีการกู้เงินโดยการอกโทเคนดิจิทัลของรัฐบาล (Govemment Token: G-Token) อันเป็นการอ้างว่าสามารถนำเอาวิธีการสินทรัพย์ดิจิทัลที่เกิดขึ้นภายหลังในปี พ.ศ. 2561 มาใช้กับพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ ที่เกิดขึ้นก่อนหน้าในปี พ.ศ. 2548 นั้น นายธีระชัยเห็นว่า เป็นการอ้างอิงที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากหลักการและเหตุผลในพระราชกำหนดสินทรัพย์ดิจิทัล ระบุชัดเจนว่าเพื่อจัดระเบียบการทำธุรกิจในสินทรัพย์ดิจิทัลระหว่างเอกชนเป็นสำคัญ ส่วนการจะพิจารณานำไปใช้ในการบริหารหนี้สาธารณะหรือไม่ หรือสมควรใช้โดยมีเงื่อนไขอย่างไร จำเป็นจะต้องแก้ไขพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 ให้อำนาจแก่กระทรวงการคลังชัดเจนและกำหนดกฎกติกาให้รัดกุมเสียก่อน 

นอกจากนี้ ในรายงานการประชุม ครม. ที่ระบุว่า ”สำนักงาน ก.ล.ต. เห็นว่า หาก กค. พิจารณาได้ว่าการกู้เงินโดยวิธีการออก G-Token ไม่ใช่การออกตราสารหนี้ ซึ่งไม่เป็น “หลักทรัพย์” ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพรัพย์

พ.ศ. 2535 แล้ว ก็สามารถดำเนินการภายใต้พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 …“ นั้น ก็เป็นการผูกมัดชัดเจนว่ากระทรวงการคลังเห็นว่าโทเคนดิจิทัลไม่ถือเป็นตราสารหนี้ จึงไม่เข้าข่ายตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง เป็นการย้ำว่าสมควรจะมีการแก้ไขกฎหมายให้เรียบร้อยเสียก่อน

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

กบข. จัด Thailand Global Investment Workshop 2025

กบข. ร่วมกับ Institutional Investor จัด Thailand Global Investment Workshop 2025

ออมสิน “เปิดขั้นตอน! สมัคร ‘สินเชื่อสร้างเครดิต สร้างโอกาส’

ออมสิน "เปิดขั้นตอน! สมัคร ‘สินเชื่อสร้างเครดิต สร้างโอกาส’ พร้อมให้คุณเริ่มต้นสร้างเครดิตอย่างมั่นใจ กู้ได้เลยบนมือถือผ่าน MyMo

กรุงศรี ไพรเวท แบงก์กิ้ง จัดสัมมนา อัปเดตทิศทางเศรษฐกิจ 2568

กรุงศรี ไพรเวท แบงก์กิ้ง จัดสัมมนา Mid-Year Economics and Investment Outlook 2025:Thriving through Volatility อัปเดตทิศทางเศรษฐกิจ

“คณะรัฐมนตรีชุดใหม่” เข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนปฏิบัติหน้าที่ 

"คณะรัฐมนตรีชุดใหม่" เข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนปฏิบัติหน้าที่ เดินหน้าทำงาน สานต่อทุกนโยบาย เพื่อแก้ปัญหาประชาชน