“ธีระชัย” ชำแหละแผนชวนเชื่อรายย่อยลงทุน จีโทเคน

Date:

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รองหัวหน้าพรรคฝ่ายเศรษฐกิจ  พปชร. อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แถลงข่าวถึงกรณีที่กระทรวงการคลังเสนอคณะรัฐมนตรีจะออกพันธบัตรรัฐบาลในรูปแบบโทเคนดิจิทัล G-Token ว่า จะไม่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาประเทศไทยสู่เศรษฐกิจดิจิทัลดังที่รัฐบาลโฆษณาชวนเชื่อ

นายธีระชัยกล่าวว่าวิธีการในการเปิดให้ผู้ลงทุนรายย่อยเข้ามาลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลนั้นมีอยู่แล้วในปัจจุบัน ด้วยกลไกผ่านกองทุนรวมที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ดังนั้น จึงต้องชี้แจงก่อนว่าการออกพันธบัตรรัฐบาลในรูปแบบ G-Token จะเพิ่มความสะดวกอย่างใดแก่ผู้ลงทุน โดยเฉพาะในเรื่องการขายคืน ซึ่งราคาในกองทุนรวมจะเป็นไปตามกติกาโดยมี ก.ล.ต. กำกับดูแล แต่กรณี G-Token ผู้ลงทุนจะต้องไปขายในตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลซึ่งราคาอาจจะผันผวนไปแต่ละชั่วโมงตามแรงเก็งกำไรได้

นอกจากนี้ ยังมีจำเป็นจะต้องมีเงื่อนไขบังคับ เพื่อไม่ให้ผู้ถือ G-Token นำไปใช้เพื่อชำระหนี้ตามกฎหมายแก่บุคคลอื่น เพราะจะเข้าข่ายเป็นเงินตราอย่างหนึ่งซึ่งจะต้องขออนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อน

ส่วนกรณีที่นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รมช.คลัง กล่าวว่าการออก G-Token จะช่วยลดต้นทุนการดำเนินการ จากเดิมที่ออกพันธบัตรมีค่าธรรมเนียมดำเนินการจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) 0.03% ของกรอบวงเงินจำหน่ายนั้น ก็ขอให้แจกแจงว่ามีต้นทุนค่าใช้จ่ายจริงเท่าไหร่ และใครจะเป็นผู้ทำหน้าที่เป็นนายทะเบียนโดยมีค่าธรรมเนียมเท่าใด รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นแล้วต่ำกว่า ธปท. อย่างไร ทั้งนี้ ขอแนะนำอย่าไปหมกมุ่นกับเงินที่รัฐบาลต้องจ่ายแก่ ธปท. เพราะเป็นองค์กรของรัฐ เงินไม่รั่วไหลไปไหน

นายธีระชัยแนะนำว่าการนำประเทศสู่เศรษฐกิจดิจิทัลให้สำเร็จนั้น มีเรื่องที่ต้องดำเนินการก่อนหลายอย่าง กล่าวคือ (1) ต้องช่วยให้ประชากรเข้าถึงระบบอินเทอร์เนตอย่างกว้างขวาง (2) ต้องให้ความรู้ทั้งในระบบโรงเรียนและในกลุ่มประชาคม (3) ต้องพัฒนาธุรกิจการเงินแบบดิจิทัลให้กว้างขวางมากขึ้น (4) ต้องกระตุ้นคนรุ่นหนุ่มสาวให้ลองทำธุรกิจขนาดย่อมด้านดิจิทัลให้มากขึ้น และ (5) รัฐต้องให้บริการทางออนไลน์มากขึ้นรวมทั้งใช้บล็อกเชนในการบริหารราชการให้โปร่งใส 

นายธีระชัยเห็นว่าการจะทำให้โทเคนเกิดขึ้นในหลักทรัพย์ต่างๆ (tokenization) จะต้องมีโครงสร้างพื้นฐานครบถ้วน ทั้ง 

stable coin สกุลบาท ทั้ง smart contract   ทั้งระบบเคลียริ่ง และมีกฎหมายรองรับเรื่องเหล่านี้ทั้งหมดรวมไปถึงการนำโทเคนไปใช้เป็นหลักประกัน โดยต้องปล่อยให้เป็นหน้าที่ของเอกชนเป็นผู้ริเริ่ม ส่วนรัฐบาลเองไม่ควรมีหน้าที่ไปออกโทเคน ดังเห็นได้ว่าปัจจุบันนี้ยังไม่มีประเทศที่ระบบการเงินล้ำหน้าใดที่รัฐบาลเป็นผู้ออกโทเคนเอง 

นอกจากนี้ นายธีระชัยมีความเห็นว่าถึงแม้กฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะมาตรา 10 วรรคหนึ่งเปิดให้ใช้วิธีการอื่นใดก็ได้ตามที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ แต่ถ้าอ่านตามเนื้อความที่บัญญัติไว้ย่อมจะต้องหมายถึงหลักฐานแห่งหนี้ในทำนองเดียวกับสัญญาหรือตราสารหนี้ อย่างไรก็ดี นิยามโทเคนดิจิทัลในกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลนั้น ไม่น่าจะเข้าข่ายเป็นหลักฐานแห่งหนี้ตามข้อบัญญัตินี้

“ผมขอแนะนำให้ตรวจสอบให้แน่ใจว่าการออกโทเคนดิจิทัลมีกฎหมายรองรับอย่างแน่นอน แต่ทั้งนี้ การพัฒนาโทเคนนั้น เป็นเพียงเสี้ยวเดียวของงานเศรษฐกิจดิจิทัลทั้งหมด แต่ไม่ใช่เรื่องที่มีความจำเป็นในลำดับต้น ดังนั้น การที่กระทรวงการคลังเอามาโปรโมทเป็นด่านหน้านั้น สะท้อนว่าคิดงานเป็นชิ้นๆแทนที่จะวางแผนเป็นระบบ ผมขอแนะนำให้ศึกษาแนวการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลให้ถ่องแท้ทะลุปรุโปร่งเสียก่อน มิฉะนั้นก็จะเป็นการวาดฝันสวยหรูแต่ไม่สามารถทำได้จริง ดังที่เกิดขึ้นกรณีโครงการแจกเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท ที่หาเสียงเอาไว้ใหญ่โตเป็นนโยบายเรือธง แต่เวลาผ่านมาสองปีก็ยังทำไม่ได้” นายธีระชัยเตือน

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

“คณะรัฐมนตรีชุดใหม่” เข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนปฏิบัติหน้าที่ 

"คณะรัฐมนตรีชุดใหม่" เข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนปฏิบัติหน้าที่ เดินหน้าทำงาน สานต่อทุกนโยบาย เพื่อแก้ปัญหาประชาชน

รมต. ‘แพทองธาร 1/2’ เท้าเข้าทำเนียบฯ เตรียมเข้าเฝ้าถวายสัตย์ฯ

รมต. ‘แพทองธาร 1/2’ เท้าเข้าทำเนียบฯ ตรวจ RT-PCR ‘นายกฯ’ สีหน้ายิ้มแย้ม เตรียมเข้าเฝ้าถวายสัตย์ฯ

นายกฯ นั่งรมว.วัฒนธรรม เสี่ยงถกร้องพ้นจากตำแหน่งอีก

นายกฯ นั่งรมว.วัฒนธรรม เสี่ยงซ้ำรอยถกร้องพ้นจากตำแหน่งอีก หลังจากถูกสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่นายกฯ

YGG ดัน “ศิรกาญจน์ สุทธิเกียรติ” นั่ง CEO 

YGG ดัน “ศิรกาญจน์ สุทธิเกียรติ” นั่ง CEO “ธนัช” นั่งที่ปรึกษา-เปลี่ยนผู้บริหารไม่กระทบธุรกิจ