ขึ้นค่าแรงลดเหลื่อมล้ำแต่ดันเงินเฟ้อสูง

Date:

Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย ประเมินว่า การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2022 นั้น ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการยกระดับรายได้ของลูกจ้าง ลดสัดส่วนแรงงานที่มีฐานะยากจน และอาจช่วยหนุนการปรับโครงสร้างในตลาดแรงงาน โดยจะลดความเหลื่อมล้ำระหว่างกลุ่มแรงงานที่ขาดทักษะกับกลุ่มแรงงานมีฝีมือและแรงงานวิชาชีพในระยะยาว และสนับสนุนให้แต่ละภาคส่วนได้รับผลพวงจากการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น

สำหรับผลกระทบในภาพกว้าง Krungthai COMPASS คาดว่าการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในช่วงประมาณ 4.5-6.6% จะส่งผลให้ดัชนีราคาผู้ผลิตจะปรับตัวขึ้นประมาณ 0.69-1.01% ขณะที่เงินเฟ้ออาจสูงขึ้น 0.13-0.20% ในปี 2023 เนื่องจากการขึ้นค่าจ้างจะกดดันต้นทุนการผลิตและเงินเฟ้อ แต่อาจไม่กระทบจีดีพี เนื่องจากผลสุทธิได้รับการชดเชยด้วยปัจจัยบวกจากผลทางรายได้ที่เพิ่มขึ้น

Krungthai COMPASS มีข้อเสนอแนะต่อผู้ประกอบการที่จะต้องเผชิญกับภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งนอกจากจะส่งผลให้บางภาคการผลิตที่พึ่งพาแรงงานค่าจ้างต่ำมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นแล้ว ยังส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างแรงงานโดยภาพรวม จากผลแพร่กระจาย (Spillover) ในการเรียกร้องค่าจ้างเพิ่มขึ้นของลูกจ้างกลุ่มที่ได้รับค่าตอบแทนสูงกว่าขั้นต่ำ โดยผู้ประกอบการควรใช้โอกาสนี้ในการพัฒนาศักยภาพแรงงาน ทั้งการยกระดับทักษะให้ดีขึ้นกว่าเดิม (Upskill) และการสร้างทักษะใหม่ที่จำเป็นต่อการทำงาน (Reskill) ซึ่งจะเอื้อต่อสภาพการแข่งขันทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การปฏิรูปด้านดิจิทัล การพัฒนาทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ การเพิ่มความสามารถของลูกจ้างดังกล่าวจะช่วยเพิ่มผลิตภาพ ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มผลผลิต ยอดขาย ทั้งยังจะช่วยลดต้นทุนต่อหน่วย และชดเชยผลกระทบจากค่าจ้างที่สูงขึ้น

นอกจากนี้ ผู้ประกอบการควรปรับระบบการผลิตให้มีความยืดหยุ่นตามสภาวะเศรษฐกิจที่เผชิญกับความผันผวนมากขึ้น ปรับลดขั้นตอนในการทำงานและใช้ระบบการผลิตที่กระชับ (Streamline) รวมถึงการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ซึ่งวิธีการเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการมีกำลังแรงงานที่เหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปมากยิ่งขึ้น

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการอสังหาฯลดต่ำกว่าค่ากลาง 7 ไตรมาสติด

ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัย ไตรมาส 3 ปี 2567 ในกรุงเทพฯ – ปริมณฑล ลดลงต่อเนื่อง ต่ำกว่าค่ากลาง 7 ไตรมาสติด

ฝากรัฐบาล ถกหาทางออก ร่าง กม.นิรโทษกรรม

“ธนกร” ฝากวงดินเนอร์พรรคร่วม 21 ต.ค.ถกหาทางออกเหมาะสม ร่างกม.นิรโทษกรรม หลังทุกพรรคค้านไม่เหมาเข่งคดีม.112 มอง รัฐบาลควรลดความเสี่ยง

ยุบพรรค กับพรรคร่วมแตกอะไรมาก่อนกัน

ยุบพรรคเพื่อไทยกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของรัฐบาล อะไรจะมาถึงก่อนกัน ระหว่างนางสาวแพทองธาร พ้นจากตำแหน่งนายกฯ

“นภินทร” ลงพื้นที่ พบสินค้าลดราคาขายเพียบ

“นภินทร” ลงพื้นที่ห้างท้องถิ่น สหแสงชัย พบลดราคาขายเพียบ ชาวบ้านชอบ ลดค่าครองชีพได้จริง