ท่าอากาศยานไทย รับลูกนายกฯ Kick off เป็นท็อปศูนย์กลางการบินโลก

Date:

บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (AOT) พร้อมส่งเสริมประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบินของโลก เชื่อมโยงการขนส่งทางอากาศและเชื่อมต่อการเดินทางแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน บนเป้าหมายการผลักดันท่าอากาศยานของไทยให้ติดอันดับ 1 ใน 20 สนามบินที่ดีที่สุดในโลกเพิ่มขีดศักยภาพรองรับผู้โดยสารระหว่างประเทศมากกว่า 150 ล้านคนต่อปี ตลอดจนเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าแห่งภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุดเป็น 1 ใน 10 ของโลก

ประเทศไทยมีศักยภาพการเป็นศูนย์กลางการบินเพราะตั้งอยู่ในจุดภูมิศาสตร์กึ่งกลางของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีพรมแดนติดกับ 4 ประเทศเพื่อนบ้านและได้รับสิทธิประโยชน์จากการเปิดเสรีการบินอาเซียน ในฐานะที่ ท่าอากาศยานไทย กำกับดูแลท่าอากาศยานในความรับผิดชอบ 6 แห่ง ประกอบด้วย ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.) ท่าอากาศยานดอนเมือง (ทดม.) ท่าอากาศยานเชียงใหม่ (ทชม.) ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย (ทชร.) ท่าอากาศยานภูเก็ต (ทภก.) และท่าอากาศยานหาดใหญ่จึงถือเป็นประตูด่านแรกในการสร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวและส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมการขนส่งทางอากาศ ดังนั้นเพื่อไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ AOT จึงมุ่งมั่นเพิ่มขีดความสามารถของ

ท่าอากาศยานเพื่อการรองรับการจราจรทางอากาศที่จะเติบโตในอนาคต เชื่อมโยงสนามบินกับโครงข่ายการเดินทางทั่วประเทศ ตลอดจนพัฒนาอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องเพื่อรองรับฮับการเดินทางภูมิภาค อาทิ ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน (Maintenance Repair and Overhaul: MRO) และท่าอากาศยานสำหรับเครื่องบินส่วนบุคคล (Private Jet) เพื่อจูงใจสายการบินทั่วโลกให้เข้ามาเปิดเส้นทางใหม่ ขานรับการเติบโตที่ก้าวกระโดดของตลาดการบินเอเชียแปซิฟิก โดยปัจจุบัน AOT ได้เร่งรัดแผนแม่บทการพัฒนาสนามบินในระยะ 10 ปี เพื่อรองรับปริมาณผู้โดยสารให้ได้ถึง 150 ล้านคน ต่อปี โดยเมื่อปี 2566 ที่ผ่านมา ทสภ.ได้เปิดใช้อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (Satellite 1: SAT-1) เพิ่มปริมาณการรองรับผู้โดยสารจาก 45 ล้านคนต่อปี เป็น 60 ล้านคนต่อปี ส่วนปี 2567 ทสภ.เตรียมเปิดใช้ทางวิ่งเส้นที่ 3 เพิ่มศักยภาพรองรับเที่ยวบินจาก 68 เที่ยวบินต่อชั่วโมง เป็น 94 เที่ยวบินต่อชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีแผนการพัฒนาขีดความสามารถของสนามบินอย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายด้านทิศตะวันออก-ทิศตะวันตก

ของอาคารผู้โดยสาร (East-West Expansion) เพิ่มปริมาณการรองรับผู้โดยสาร 30 ล้านคนต่อปี โครงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารด้านทิศใต้ (South Terminal) รองรับผู้โดยสารเพิ่มได้อีก 60 ล้านคนต่อปี และก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่ 4 เพิ่มศักยภาพรองรับเที่ยวบินได้ถึง 120 เที่ยวบินต่อชั่วโมง 

AOT ยังเตรียมพร้อมการพัฒนาสนามบินท้องถิ่นให้เป็นฮับการบินภูมิภาคเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเป็นศูนย์กลางการบินและบรรเทาปริมาณการจราจรทางอากาศที่หนาแน่นในสนามบินหลักของประเทศ เชื่อมต่อ

การเดินทางของนักท่องเที่ยวกระจายโอกาสทางเศรษฐกิจไปสู่เมืองรอง สำหรับท่าอากาศยานดอนเมืองซึ่งเป็นสนามบินหลักรองรับเที่ยวบินภายในประเทศและเที่ยวบินระหว่างประเทศในภูมิภาค AOT จึงมีแผนเพิ่มขีดความสามารถการรองรับผู้โดยสารจาก 30 ล้านคนต่อปี เป็น 50 ล้านคนต่อปี อาทิ โครงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ โครงการปรับปรุงอาคารผู้โดยสารเดิม โครงการก่อสร้างอาคาร Junction Building เป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่เชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนทางรางรถไฟฟ้าสายสีแดง การพัฒนาศูนย์ซ่อมอากาศยาน (MRO) ร่วมกับเอกชน และการก่อสร้างอาคารจอดรถรองรับได้ 7,600 คัน ส่วนด้านภาคใต้ซึ่งมีเศรษฐกิจการท่องเที่ยวหนาแน่นมากที่สุดนั้น AOT มีแผนขยายขีดความสามารถของ ทภก. พัฒนาส่วนต่อขยายอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศและก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบิน เพิ่มปริมาณการรองรับผู้โดยสารเป็น 18 ล้านคนต่อปี รวมถึงแผนการก่อสร้าง ทภก.แห่งที่ 2 หรือ

ท่าอากาศยานอันดามัน รองรับผู้โดยสารเพิ่มอีก 40 ล้านคน มีศักยภาพเป็นฮับการบินภาคใต้เชื่อมเส้นทางระยะไกล (Long-haul Flight) รองรับเที่ยวบินตรงระหว่างประเทศแบบ Point to Point นอกจากนี้ AOT ยังได้ศึกษาโครงการพัฒนา Seaplane & Ferry Terminal พัฒนาพื้นที่จอดอากาศยานขึ้น-ลงในทะเลรองรับผู้โดยสารชั้นสูงอีกด้วย ขณะที่ฮับการบินทางภาคเหนือยังมีโครงการขยาย ทชม.ระยะที่ 1 ก่อสร้างอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศและปรับปรุงอาคารผู้โดยสารเดิม เพิ่มขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารเป็น 16.5 ล้านคนต่อปี รวมทั้งแผนการก่อสร้าง ทชม.แห่งที่ 2 หรือ ท่าอากาศยานล้านนา รองรับปริมาณผู้โดยสารได้ 20 ล้านคนต่อปี ส่วนโครงการพัฒนา ทชร.ระยะที่ 1 จะดำเนินการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ เพิ่มขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารเป็น 6 ล้านคนต่อปี ควบคู่ไปกับการเปิดให้เอกชนเข้ามาพัฒนา MRO เพื่อรับซ่อมบำรุงอากาศยานแบบครบวงจร อย่างไรก็ตาม AOT ยังมีแผนการรับโอนสิทธิการบริหาร 3 ท่าอากาศยานภูมิภาค ได้แก่ ท่าอากาศยานอุดรธานี ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ และท่าอากาศยานกระบี่ เพื่อพัฒนาเป็นประตูเมืองเชื่อมต่อประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน (Gateway) โดยอีสานเหนือคือ ท่าอากาศยานอุดรธานีเชื่อมต่อสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และอีสานใต้คือ ท่าอากาศยานบุรีรัมย์เชื่อมต่อราชอาณาจักรกัมพูชา ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางการบินอาเซียน ส่วนท่าอากาศยานกระบี่จะเข้ามาช่วยแบ่งเบาปริมาณการจราจรทางอากาศที่เต็มขีดความสามารถของ ทภก.และรองรับเที่ยวบินระหว่างประเทศจากภูมิภาคต่างๆ ของโลก

นอกจากเพิ่มศักยภาพการขนส่งผู้โดยสารแล้ว AOT ยังมุ่งมั่นด้านภารกิจการขนส่งสินค้าทางอากาศพร้อมดำเนินโครงการขยายอาคารคลังสินค้าให้รองรับปริมาณสินค้าได้กว่า 3.5 ล้านตันต่อปี และโครงการก่อสร้างคลังสินค้า

ใกล้อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 2 (SAT-2 Cargo) ควบคู่ไปกับการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพงานบริหารจัดการสินค้า ซึ่งจะช่วยขยายโอกาสผู้ประกอบการไทยไปสู่ตลาดโลกได้ดีมากขึ้น ตลอดจนดึงดูดให้บริษัทขนส่งสินค้าทางอากาศชั้นนำของโลกเข้ามาร่วมลงทุนสร้างศูนย์กลางการกระจายสินค้าทางอากาศแห่งภูมิภาค ณ ทสภ. อย่างไรก็ตาม AOT ยังมีแผนกิจกรรมเชิงพาณิชย์บนพื้นที่บริเวณโดยรอบ ทสภ.เพื่อดึงดูดผู้ประกอบการขนาดใหญ่มาตั้งการจัดเก็บและกระจายสินค้า รวมถึงพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์

AOT ได้นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกี่ยวกับระบบบริการผู้โดยสารสมัยใหม่เข้ามาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการผู้โดยสารทั้ง 6 ท่าอากาศยาน ให้ได้รับความสะดวกรวดเร็ว ลดระยะเวลาการรอคอยและแก้ปัญหคอขวด บรรเทาความหนาแน่นของผู้โดยสารในชั่วโมงเร่งด่วน ได้แก่ (1) ระบบตรวจบัตรโดยสารขึ้นเครื่อง (Common Use Terminal Equipment: CUTE) เป็นระบบอำนวยความสะดวกและจัดการด้านการเข้าถึงระบบเช็กอินผู้โดยสารผ่าน Airlines Application (2) ระบบเช็กอินด้วยตนเองอัตโนมัติ (Common Use Self Service: CUSS) เป็นระบบอำนวยความสะดวก และจัดการด้านการเข้าถึงระบบเช็กอินผู้โดยสาร โดยมุ่งเน้นการบริการแบบ Self-Service 

ซึ่งผู้โดยสารไม่ต้องต่อแถวรอ (3) ระบบรับกระเป๋าสัมภาระอัตโนมัติ (Common Use Bag Drop: CUBD) ผู้โดยสารสามารถโหลดกระเป๋าสัมภาระสู่สายพานลำเลียงได้ด้วยตนเองอัตโนมัติ (4) ระบบตรวจสอบยืนยันตัวตนผู้โดยสาร (Passenger Validation System: PVS) เป็นระบบการตรวจสอบข้อมูลการเดินทางของผู้โดยสาร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาความปลอดภัยท่าอากาศยาน (5) ระบบประตูทางออกขึ้นเครื่องอัตโนมัติ (Self-Boarding Gate: SBG) เพิ่มความสะดวกสบายนักเดินทาง (6) ระบบ Individual Carrier System (ICS) ซึ่งเป็นระบบขนส่งสัมภาระความเร็วสูงและมีความแม่นยำสูงในการตรวจสอบติดตามสัมภาระ (7) ช่องตรวจหนังสือเดินทางอัตโนมัติ

ขาออก (Auto Channel) สำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Passport) เพิ่มขีดความสามารถในการตรวจหนังสือ เดินทางจากเดิม 5,000 คนต่อชั่วโมง เป็น 10,000 คนต่อชั่วโมง (8) ระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (Automated People Mover: APM) รถไฟฟ้าเชื่อมต่ออาคารผู้โดยสารกับอาคาร SAT-1 นอกจากนี้ยังให้บริการผ่านโครงข่าย 5G นำเสนอประสบการณ์เดินทางแบบใหม่ให้กับผู้โดยสาร เช่น หุ่นยนต์อัจฉริยะ AI (Artificial Intelligence) ระบบตรวจจับและรับรู้ใบหน้าบุคคล (Biometric) ระบบความปลอดภัยการบินขั้นสูง (Advance Aviation Safety) และ

 ระบบตรวจจับวัตถุต้องสงสัย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม AOT ยังให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพงานบริการภาคพื้น (Ground Handling) รองรับปริมาณผู้โดยสารที่เพิ่มมากขึ้น โดยเปิดกว้างให้เกิดผู้บริหารรายใหม่เข้ามามีส่วนร่วมในการให้บริการอีกด้วย

นอกจากงานบริการที่เป็นหัวใจสำคัญแล้ว AOT ยังให้ความสำคัญกับมาตรฐานความปลอดภัยซึ่งถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของการก้าวไปสู่ศูนย์กลางการบินโลก ปัจจุบัน สนามบินทั้ง 6 แห่งของ AOT ปฏิบัติตามข้อกำหนดของรัฐ ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานสากลโดยบุคลากรที่ปฏิบัติงานเป็นผู้ที่ได้รับรองจากรัฐและอุปกรณ์ด้านการรักษาความปลอดภัยที่ AOT นำมาใช้งานนั้นเป็นอุปกรณ์ที่หน่วยงานรักษาความปลอดภัยด้านการขนส่งของสหรัฐอเมริกา (Transportation Security Administration: TSA) และ (European Civil Aviation Conference: ECAC) เป็นหน่วยงานมาตรฐานระดับสากลของอเมริกาและยุโรปให้การรับรอง 

การพัฒนาสนามบินไม่เพียงสร้างโอกาสให้กับเศรษฐกิจ แต่เป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ดังนั้นการเชื่อมต่อระบบขนส่งแบบไร้รอยต่อ (Seamless Journey) จึงถือเป็นอีกหนึ่งกำลังสำคัญของการส่งเสริมศูนย์กลางการบิน เพื่อเชื่อมโยงกับเขตเศรษฐกิจสำคัญและเชื่อมเส้นทางไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน ปัจจุบัน ทสภ.สามารถเชื่อมต่อการเดินทางได้อย่างครบครันทั้งระบบขนส่งมวลชนทางรางเข้าสู่ใจกลางเมืองหลวง รถโดยสารสาธารณะ และในอนาคตสามารถเชื่อมต่อระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-

อู่ตะเภา ทั้งนี้ การเป็นศูนย์กลางการบินของโลกจะเป็นฟันเฟืองขับเคลื่อนพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้สูงขึ้น สนับสนุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวซึ่งถือเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชาติ จากความสะดวกสบายของการเดินทางเส้นทางการบินที่หลากหลาย กระจายความเจริญสู่ภูมิภาคไปจนถึงการสร้างความมั่นคงของประเทศอย่างยั่งยืน

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

ทีดีอาร์ไอ เตือนการเมืองแทรกแซงธปท. 

นักวิชาการทีดีอาร์ไอ เตือนการเมืองแทรกแซงแบงก์ชาติ ทำให้นักลงทุนไม่มั่นใจ กระทบเศรษฐกิจเสียหาย

ผู้ประกันตนยื่นกู้ แห่ขอกู้สินเชื่อบ้าน ธอส.

ธอส. เผยผู้ประกันตน ยื่นขอสินเชื่อกับ ธอส.  ดอกเบี้ยต่ำ วันแรกเป็นจำนวนมาก กว่า 2,000 ราย

บมจ.ไทยวิวัฒน์ โฮลดิ้ง 3Q24 แกร่ง กำไรสุทธิพุ่งแตะ 87 ล้านบาท 

บมจ.ไทยวิวัฒน์ โฮลดิ้ง 3Q24 แกร่ง กำไรสุทธิพุ่งแตะ 87 ล้านบาท ส่งซิกปิดปี 67 เบี้ยรับรวมโตตามเป้า 10% 

บมจ.เบริล 8 พลัส โชว์ผลงานไตรมาส 3 โตต่อเนื่อง

บมจ.เบริล 8 พลัส โชว์ผลงานไตรมาส 3 โตต่อเนื่อง โกยกำไรสุทธิ 44 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 27.8%