พาณิชย์ – DITP ชี้เป้าส่งออกเครื่องสำอางในเวียดนาม

Date:

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมได้มอบนโยบายให้ทูตพาณิชย์ที่ประจำอยู่ในประเทศต่างๆทำการสำรวจลู่ทางและโอกาสการส่งออกสินค้าไทยไปยังประเทศที่ประจำอยู่ ตามนโยบายนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และให้รายงานผลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้รับรายงาน นางสาวอุษาศรี เขียวระยับ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม ถึงโอกาสการจำหน่ายสินค้ากลุ่มเครื่องสำอางในช่องทางออนไลน์ของเวียดนาม

โดยทูตพาณิชย์ได้ให้ข้อมูลว่าตลาดสำหรับสินค้ากลุ่มเครื่องสำอาง และสินค้า Personal Care ในเวียดนาม ยังเป็นตลาดขนาดใหญ่และมีศักยภาพการเติบโตสูง จากการขยายตัวของเศรษฐกิจ และการดำเนินนโยบายและมาตรการของรัฐบาล เพื่อส่งเสริมการจ้างงานของผู้หญิงทำให้ผู้หญิงเข้าสู่ระบบการทำงานมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงนี้ ทำให้มีการเพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการที่หลากหลายมากขึ้น และยังมีปัจจัยการขยายตัว

ของเมืองอย่างรวดเร็ว วิถีชีวิตที่วุ่นวาย และกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้สินค้าสำหรับผู้หญิงที่จำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น เพราะการช้อปปิ้งผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ ให้ความสะดวกสบาย สามารถเลือกและเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ได้ รวมทั้งมีโปรแกรมส่งเสริมการขาย และตัวเลือกการชำระเงิน

ที่หลากหลาย ทำให้แพลตฟอร์มเหล่านี้กลายเป็นแหล่งช็อปปิ้งยอดนิยมสำหรับผู้บริโภคจำนวนมาก โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับผู้หญิงมีการเติบโตอย่างมากในช่องทางออนไลน์

ทั้งนี้ มีข้อมูลจากบริษัท McKinsey & Company ชี้ให้เห็นว่า อีคอมเมิร์ซจะยังคงเป็นช่องทางการขายผลิตภัณฑ์ความงามที่เติบโตเร็วที่สุด โดยมีอัตราการเติบโตร้อยละ 12 ระหว่างปี 2565-2570 และสถิติจากบริษัท Statista ระบุว่าตลาดอีคอมเมิร์ซด้านความงามและการดูแลตนเองทั่วโลกเพียงอย่างเดียวมีมูลค่าประมาณ 119 พันล้านเหรียญสหรัฐ และคาดว่าจะสูงถึง 184 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2571

สำหรับผลิตภัณฑ์สำหรับผู้หญิง ครอบคลุมหลายประเภท เช่น ความงามและการดูแลตนเอง แฟชั่น บ้านและห้องครัว รวมถึงสินค้าสำหรับแม่และเด็ก โดยในเวียดนาม ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและสินค้ากลุ่ม Personal Care ติดหนึ่งใน 5 อันดับหมวดหมู่สินค้าที่ขายดีที่สุดบนแพลตฟอร์ม Amazon ทั่วโลกในปี 2566 และยังพบว่า อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องสำอางและสินค้ากลุ่ม Personal Care ในเวียดนาม ส่วนใหญ่จะเน้นส่วนผสมจากธรรมชาติ เช่น ขมิ้น มะพร้าว ว่านหางจระเข้ ข้าว เป็นต้น

นายภูสิตกล่าวว่า ตลาดสินค้าเครื่องสำอางในเวียดนามเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา การขยายตัวทางเศรษฐกิจ และจำนวนผู้หญิงเข้ามาทำงานในเมืองใหญ่และเมืองท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น ทำให้สินค้าเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ความงามมีความต้องมากขึ้น ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา การจำหน่ายสินค้ากลุ่มเครื่องสำอางและสินค้า Personal Care ผ่านช่องทางออนไลน์บน E-Commerce Platform และ Social Media เติบโตขึ้นอย่างมาก เนื่องจากสามารถตอบโจทย์ความต้องการความสะดวกในการซื้อสินค้า ช่องทางออนไลน์สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายผู้บริโภครุ่นใหม่ และสามารถสร้างการรับรู้แบรนด์สินค้าอย่างต่อเนื่องด้วยต้นทุนที่ต่ำ

“เวียดนามยังคงเป็นตลาดศักยภาพสำหรับสินค้าเครื่องสำอาง การเติบโตของช่องทางออนไลน์ ทั้งแพลตฟอร์ม E-Commerce และ Social Media ทำให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสินค้าได้มากขึ้น และผู้ขายสามารถทำกิจกรรมส่งเสริมการขายด้วยต้นทุนที่ต่ำ และสามารถสร้างการรับรู้ได้ตรงตามเป้าหมายมากขึ้น ตลาดสินค้าเครื่องสำอางและสินค้า Personal Care ในเวียดนาม มีการแข่งขันสูง โดยเฉพาะสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ และปัจจุบันสินค้าแบรนด์เวียดนามมีการพัฒนาสินค้าให้สามารถแข่งขันได้มากขึ้น ผู้ประกอบการไทยที่สนใจขยายตลาดผลิตภัณฑ์ความงามมาในเวียดนามจึงควรศึกษาความต้องการผู้บริโภค รวมทั้งสร้างความแตกต่างของสินค้า เพื่อให้ผู้บริโภครับรู้และจดจำรวมถึงการใช้ประโยชน์จากช่องทางออนไลน์ในการประชาสัมพันธ์ และจำหน่ายสินค้า”นายภูสิตกล่าว

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

คลังปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2568 โต 2.1%

คลังปรับเศรษฐกิจไทยในปี 2568 คาดว่าจะขยายตัวที่ 2.1% ผลจากนโยบายภาษีนำเข้าของสหรัฐอเมริกา

เปิดฉากยิ่งใหญ่ “Pet Expo Thailand 2025”

เปิดฉากยิ่งใหญ่ "Pet Expo Thailand 2025” ฉลองครบรอบ 25 ปี สินค้า-บริการนวัตกรรมเพื่อสัตว์เลี้ยงจัดเต็มกว่าใคร

สคร. เข้าร่วมงาน “MOF Journey 150 ปี เส้นทางการคลังไทย”

สคร. เข้าร่วมงาน "MOF Journey 150 ปี เส้นทางการคลังไทย" เนื่องในโอกาสครบรอบ 150 ปี กระทรวงการคลัง

“พิชัย” รับ เจรจาสหรัฐฯ ห่วงเรื่องอื่นนอกเหนือภาษี

“พิชัย” รับ เจรจาสหรัฐฯ ห่วงเรื่องอื่นนอกเหนือภาษี เหตุกติกาแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน ยัน ไทยเป็นกลางสงครามการค้า