ตรึงค่าไฟ 4.18 บาท/หน่วย น้ำมันดีเซล 33 บาท/ลิตร

Date:

นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ในวันนี้ (23 กรกฎาคม 2567) กระทรวงพลังงาน ได้เสนอแนวทางการตรึงค่าไฟฟ้างวด กันยายน – ธันวาคม 2567 ที่ 4.18 บาทต่อหน่วย ภายใต้แนวทางการบริหารจัดการภาระค่าเชื้อเพลิงร่วมกับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และการตรึงราคาน้ำมันดีเซล ไม่เกิน 33 บาท/ลิตร โดยใช้งบประมาณจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง จนถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2567 เสนอให้กับคณะรัฐมนตรีพิจารณา  

ซึ่งที่ประชุม ครม. รับทราบถึงมาตรการของกระทรวงพลังงานในการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยแบกรับภาระต้นทุนเชื้อเพลิงไปก่อน เพื่อช่วยลดค่าครองชีพให้ประชาชน 

ทั้งนี้ บิลค่าไฟเดือนกันยายน – ธันวาคม 2567 อัตราค่าไฟฟ้าสำหรับประชาชนทั่วไปอยู่ที่หน่วยละ 4.18 บาท ในส่วนของกลุ่มเปราะบาง ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน คงไว้ที่อัตราเดิม 3.99 บาท/หน่วย ซึ่งมีจำนวน 17.7 ล้านครัวเรือน และ ครม. ได้เห็นชอบให้ใช้งบกลางมาชดเชย

“กระทรวงพลังงาน เข้าใจถึงสถานการณ์ ในปัจจุบันที่ราคาสินค้าและบริการปรับเพิ่มสูงขึ้น กระทรวงพลังงานจึงพยายามที่จะลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้กับประชาชนทั้งค่าไฟและค่าน้ำมัน และจากที่ได้เคยกล่าวในเรื่องของการปรับโครงสร้างราคาพลังงาน ขอให้ประชาชนอดทนรออีกสักนิด เนื่องจากการแก้กฎหมายต่างๆ ต้องใช้ระยะเวลา ซึ่งหากดำเนินการสำเร็จ ก็จะเป็นการแก้ไขปัญหาด้านโครงสร้างราคาพลังงานได้ในระยะยาว” นายพีระพันธุ์ กล่าว

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

อิ๊งค์ ออกแถลงการณ์ สหรัฐขึ้นภาษีกระทบผู้ส่งออกไทย

อิ๊งค์ ออกแถลงการณ์ สหรัฐขึ้นภาษีกระทบผู้ส่งออกไทย แนะผู้ส่งอกไทย หาตลาดใหม่ ชดเชยการการพึ่งพาสหรัฐฯ ตลาดเดียว

นายกฯ ยันไทยพร้อมรับมือ  สหรัฐฯขึ้นภาษีนำเข้าไทยสูง​ 36%

นายกฯ ยันไทยเตรียมพร้อมรับมือ มีแผนระยะสั้น-ยาว หลังสหรัฐฯเคาะภาษีนำเข้าไทยสูง​ 36% ​ ตั้งทีมเจรจา​ เชื่อยังต่อรองได้

ค่าเงินบาท “อ่อนค่าลงหนัก” หลังทรัมป์ขึ้นภาษีนำเข้าไทย

ค่าเงินบาท เปิดเช้านี้ ที่ระดับ  34.38 บาทต่อดอลลาร์ “อ่อนค่าลงหนัก” หลังทรัมป์ขึ้นภาษีนำเข้าไทย

นายกฯ ยัน ไม่รีบดันร่าง “พ.ร.บ. กาสิโน” เข้าสภาฯ

นายกฯ ยัน ไม่รีบดันร่าง “พ.ร.บ. กาสิโน” เข้าสภาฯ ลั่น พยายามบริหารงานทุกทางไม่ให้เกิดความขัดแย้ง บอกยังมีเวลาทำความเข้าใจ