ญี่ปุ่นขึ้นทะเบียน GI “สับปะรดห้วยมุ่น” ผลไม้ไทย

Date:

นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ หารือนายโยอิจิ วาตานาเบะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงของญี่ปุ่น พร้อมรับมอบประกาศขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) สับปะรดห้วยมุ่น ผลไม้ไทยรายการแรกที่ได้รับ GI ในญี่ปุ่นและได้เยี่ยมชมตลาดค้าส่งสินค้า ผักผลไม้ ดอกไม้ และอาหารทะเลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น

นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เป็นที่น่ายินดีที่ญี่ปุ่นประกาศรับขึ้นทะเบียน GI สับปะรดห้วยมุ่นเป็นตัวที่ 3 ต่อจากกาแฟดอยช้างและกาแฟดอยตุง ภายใต้ความร่วมมือแลกเปลี่ยนการขึ้นทะเบียน GI 3 + 3 ซึ่งเป็นเครื่องการันตีคุณภาพของสินค้าดังกล่าวได้เป็นอย่างดี ด้วยสับปะรดห้วยมุ่นเป็นสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวียที่มีชื่อเสียง มีจุดเด่นในเรื่องของเนื้อสีน้ำผึ้งหนานุ่ม รสชาติหวานหอม และยังมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ทำให้สับปะรดห้วยมุ่นเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคญี่ปุ่นและเป็นอีกหนึ่งสินค้าที่มีศักยภาพในการส่งออก

โดยไทยมีผู้ประกอบการกว่า 850 ราย มีกำลังการผลิตกว่า 180,000 ตันต่อปี คิดเป็นมูลค่าการตลาดรวมกว่า 1,200 ล้านบาท จึงได้มอบหมายให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาเร่งเดินหน้าสานต่อความร่วมมือในระยะที่ 2 เพื่อขยายตลาด GI ไทย ในญี่ปุ่น พร้อมทั้งได้หารือกับทางญี่ปุ่นเพื่อพัฒนาระบบการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ร่วมกันต่อไป

ตลาดสินค้าสับปะรดในญี่ปุ่นมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นนิยมรับประทานสับปะรดสดที่มีรสชาติ หวานฉ่ำ มีปริมาณการบริโภคของคนในประเทศ ปีละไม่ต่ำกว่า 180,000 ตันรวมถึงสินค้าสับปะรดแปรรูป เช่น น้ำสับปะรด สับปะรดกระป๋อง และสับปะรดอบแห้ง แต่เนื่องจากสภาพภูมิอากาศในประเทศญี่ปุ่นไม่เหมาะกับการปลูกสับปะรด จึงมีการนำเข้าจากประเทศต่างๆ จำนวนมาก

โดยไทยเป็นหนึ่งในประเทศคู่ค้าสำคัญที่ส่งออกสับปะรดมากเป็นอันดับ 4 รองจากฟิลิปปินส์ คอสตาริกาและอินโดนีเซีย ทั้งนี้มีความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ ไทย – ญี่ปุ่น (JTEPA) ที่ใช้เจรจาสิทธิประโยชน์ทางการค้าเพิ่มเติมให้กับสินค้าเกษตรรวมถึงสับปะรดจากไทย

นายนภินทร กล่าวเพิ่มเติมว่า ในครั้งนี้ได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมตลาดขายส่งโอตะ (OTA Wholesale Market) ซึ่งเป็นตลาดขายส่งผักผลไม้ ดอกไม้ และอาหารทะเลที่ใหญ่ที่สุดของประเทศญี่ปุ่น มีเงินหมุนเวียนในการซื้อขายกว่า 500 ล้านบาทต่อวัน เพื่อศึกษาการบริหารจัดการพื้นที่ กระบวนการประมูลสินค้าเกษตร และระบบการค้าส่งและโลจิสติกส์ และนำมาพัฒนาการทำตลาดกลางสินค้าเกษตรที่เป็นธรรมกับเกษตรกรโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรรายย่อย และผู้ค้าปลีกค้าส่งในไทย อีกทั้งยังเป็นการสำรวจช่องทางขยายตลาดผักผลไม้ไทยสู่ญี่ปุ่นได้มากยิ่งขึ้น

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

อดีตนายกฯ เศรษฐา เชื่อมั่นศักยภาพภูเก็ต

อดีตนายกฯ เศรษฐา เชื่อมั่นศักยภาพภูเก็ต ดึงดูดให้บริษัทใหญ่ๆ มาเปิดสำนักงานใหญ่ได้ ไม่จำเป็นต้องไปอยู่แค่กรุงเทพฯ

ค่าเงินบาท ตลาดหุ้นไทย ลุ้นเจรจาภาษีสหรัฐฯ

จับตาค่าเงินบาท และตลาดหุ้นไทย นักลงทุนรอติดตามประเด็นนโยบายภาษีสหรัฐฯ

“จุลพันธ์” ยันรัฐบาลไม่ ‘ยุบสภา’

“จุลพันธ์” ยันรัฐบาลไม่ ‘ยุบสภา’ ยังไม่ถึงทางตัน แค่มีสะดุดติดขัดบ้าง ลุ้นคำวินิจฉัยศาล ปมคลิปเสียงนายกฯ เป็นบวก

เปิดตัว Alipay+ Voyager ผู้ช่วยท่องเที่ยวอัจฉริยะครบวงจร

แอนท์ อินเตอร์เนชั่นแนล เปิดตัว Alipay+ Voyager ผู้ช่วยท่องเที่ยวอัจฉริยะครบวงจรสำหรับผู้ใช้งานกระเป๋าเงินดิจิทัลและซูเปอร์แอป