จับตา ค่าไฟไฟ้า งวดหน้าคงอัตราเดิม 4.18 บาท

Date:

ดร.พูลพัฒน์ ลีสมบัติไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า จากการประชุม กกพ. ครั้งที่ 49/2567เมื่อวันพุธที่ 6 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา กกพ. มีมติให้สำนักงาน กกพ. ดำเนินการเปิดรับฟังความคิดเห็นค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่าเอฟที) สำหรับการเรียกเก็บค่าไฟฟ้าในงวดเดือน ม.ค. – เม.ย. 2568 แบ่งเป็น 3 กรณีตามเงื่อนไข ดังนี้

กรณีที่ 1: ผลการคำนวณตามสูตรการปรับค่า Ft (จ่ายคืนภาระต้นทุนคงค้าง กฟผ. ทั้งหมด) รวมค่าส่วนต่างราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับภาคไฟฟ้าปี 2566 หรือ AFGAS  ค่าเอฟที ขายปลีกเท่ากับ 170.71 สตางค์ต่อหน่วย ซึ่งจะเป็นการเรียกเก็บตามผลการคำนวณตามสูตรการปรับค่าเอฟที ที่สะท้อนแนวโน้มต้นทุนเดือนมกราคม – เมษายน 2568 จำนวน 16.52 สตางค์ต่อหน่วย

รวมถึงเงินเรียกเก็บเพื่อชดเชยต้นทุนคงค้าง (AF) ที่เกิดขึ้นจริงของ กฟผ. จำนวน 85,236 ล้านบาท (หรือคิดเป็น 131.01 สตางค์ต่อหน่วย) และมูลค่า AFGAS ของรัฐวิสาหกิจที่ประกอบกิจการก๊าซธรรมชาติ (กฟผ. และ ปตท.) เดือนกันยายน – ธันวาคม 2566 จำนวน 15,083.79 ล้านบาท (หรือคิดเป็น 23.18 สตางค์ต่อหน่วย) รวมทั้งสิ้นจำนวน 154.19 สตางค์ต่อหน่วย โดย กฟผ. จะได้รับเงินที่รับภาระต้นทุนค่าเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้าแทนประชาชนตั้งแต่เดือนกันยายน 2564 – สิงหาคม 2567 ในช่วงสภาวะวิกฤตของราคาพลังงานที่ผ่านมา คืนทั้งหมดภายในเดือนเมษายน 2568 

ทั้งนี้เพื่อนำไปชำระหนี้เงินกู้เพื่อเสริมสภาพคล่องให้มีสถานะทางการเงินคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็ว และรัฐวิสาหกิจที่ประกอบกิจการก๊าซธรรมชาติ จะได้รับเงินคืนส่วนต่างราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับภาคไฟฟ้าคืนทั้งหมด ซึ่งเมื่อรวมค่าเอฟที  ขายปลีกที่คำนวณได้กับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.78 บาทต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 5.49 บาทต่อหน่วย โดยค่าไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วประเทศจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 31 จากระดับ 4.18 บาทต่อหน่วย ในงวดปัจจุบัน 

กรณีที่ 2: ผลการคำนวณตามสูตรการปรับค่าเอฟที (จ่ายคืนภาระต้นทุนคงค้าง กฟผ. ทั้งหมด) ค่า Ft ขายปลีกเท่ากับ 147.53 สตางค์ต่อหน่วย ซึ่งจะเป็นการเรียกเก็บตามผลการคำนวณตามสูตรการปรับค่า Ft ที่สะท้อนแนวโน้มต้นทุนเดือนมกราคม – เมษายน 2568 จำนวน 16.52 สตางค์ต่อหน่วย และเงินเรียกเก็บเพื่อชดเชยต้นทุนคงค้าง (AF) ที่เกิดขึ้นจริงของ กฟผ. โดยจะได้รับเงินที่รับภาระต้นทุนค่าเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้าแทนประชาชน ในช่วงสภาวะวิกฤตของราคาพลังงานที่ผ่านมา คืนทั้งหมดภายในเดือนเมษายน 2568 ซึ่งเมื่อรวมค่าเอฟที ขายปลีกที่คำนวณได้กับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.78 บาทต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 5.26 บาทต่อหน่วย โดยค่าไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วประเทศจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 26 จากระดับ 4.18 บาทต่อหน่วย ในงวดปัจจุบัน ซึ่งจะยังมีภาระ AFGAS ที่รัฐวิสาหกิจที่ประกอบกิจการก๊าซธรรมชาติรับภาระไว้จำนวน 15,083.79 ล้านบาท

กรณีที่ 3: กรณีตรึงค่าเอฟทีเท่ากับงวดปัจจุบัน (ข้อเสนอ กฟผ.) ค่าเอฟทีเท่ากับ 39.72 สตางค์ต่อหน่วย ซึ่งจะสะท้อนแนวโน้มต้นทุนเดือนกันยายน – ธันวาคม 2567 จำนวน 16.52 สตางค์ต่อหน่วย และทยอยชำระคืนภาระต้นทุน AF คงค้างสะสมได้จำนวน 15,094 ล้านบาท (หรือคิดเป็น 23.20 สตางค์ต่อหน่วย) โดยคาดว่า ณ สิ้นเดือนเมษายน 2568 จะมีภาระต้นทุนคงค้างที่ กฟผ. และรัฐวิสาหกิจ

ที่ประกอบกิจการก๊าซธรรมชาติ (กฟผ. และ ปตท.) รับภาระแทนประชาชนคงเหลืออยู่ที่ 85,226 ล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมค่า เอฟทีขายปลีกกับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.78 บาทต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) คงที่เท่ากับ 4.18 บาทต่อหน่วย เช่นเดียวกับปัจจุบัน

อย่างไรก็ตามแนวโน้มค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าขึ้นจากงวดก่อนหน้า 3.27 บาทต่อเหรียญสหรัฐ (งวด ก.ย. – ธ.ค. 2567) เป็น 33.36 บาทต่อเหรียญสหรัฐ การผลิตไฟฟ้าพลังน้ำในประเทศซึ่งมีต้นทุนราคาถูกมีความพร้อมในการผลิตเพิ่มขึ้น และสถานการณ์ราคาก๊าซธรรมชาติเหลวแบบสัญญาจร (LNG Spot) ในตลาดโลกปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากงวดก่อนหน้า 0.2 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู และปริมาณก๊าซธรรมชาติในแหล่งอ่าวไทยซึ่งมีต้นทุนราคาถูกมีปริมาณเพิ่มขึ้น ทำให้แนวโน้มต้นทุนจากปัจจัยนอกเหนือการควบคุมดีขึ้น ส่งผลต่อแรงกดดันต่อการเพิ่มค่าไฟลดลง แต่ปัจจัยที่ยังไม่สามารถทำให้ค่าไฟลดลงได้ยังคงมาจากภาระหนี้ค่าเชื้อเพลิงสะสมในช่วงกว่า 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งแม้ว่าจะลดลงจากงวดก่อนหน้าบ้าง แต่ก็ยังอยู่ในระดับสูงและต้องได้รับการดูแลเพื่อรักษาเสถียรภาพและความมั่นคงระบบไฟฟ้าของประเทศด้วย

ดร.พูลพัฒน์ กล่าวว่า จากสาเหตุหลักซึ่งเป็นปัจจัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุมส่งผลให้ต้นทุนค่าเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าปรับตัวลดลง แต่เมื่อรวมกับการทยอยคืนหนี้ค่าเชื้อเพลิงค้างชำระในงวดก่อนหน้าที่ยังคงสูงอยู่ ส่งผลให้ค่าไฟในช่วงต้นปี 2568 นี้ อาจจะต้องปรับเพิ่มค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่าเอฟที) ขึ้นสู่ระดับ 147.53 – 170.71 สตางค์ต่อหน่วย เพื่อคืนหนี้คงค้างให้กับ กฟผ. และ ปตท. ซึ่งทำให้เมื่อรวม

กับค่าไฟฟ้าฐาน ที่ 3.7833 บาทต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเรียกเก็บในงวด ม.ค. – เม.ย. 2568 เพิ่มขึ้นเป็น 5.26 – 5.49 บาทต่อหน่วย หรือหากตรึงค่าเอฟทีไว้ที่ 39.72 สตางค์ต่อหน่วย โดยทยอยคืนหนี้คงค้างควบคู่ไปกับ

การลดผลกระทบต่อการปรับค่าไฟฟ้าอย่างก้าวกระโดดเพื่อลดภาระของประชาชน ค่าไฟฟ้าจะอยู่ที่ 4.18 บาทต่อหน่วย เท่ากับปัจจุบัน

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

สำนักงานสลากฯ แจ้งเลื่อนออกรางวัล เป็นงวดวันที่ 2 ม.ค. 68 

สำนักงานสลากฯ แจ้งเลื่อนออกรางวัลเป็นงวดวันที่ 30 ธ.ค. 67 เป็น 2 ม.ค. 68 

GC, OR และ TG ผนึกกำลัง เดินหน้าผลักดัน SAF

GC, OR และ TG ผนึกกำลัง ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการบินไทยสู่ยุคพลังงานยั่งยืนเดินหน้าผลักดัน SAF เชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน 

“พิชัย” มั่นใจลงทุน อุตสาหกรรมไฮเทค ในไทยเพิ่ม

“พิชัย” ถกเกาหลีใต้ ที่เปรู มั่นใจ ตัวเลขลงทุนอุตสาหกรรมไฮเทค EV-PCB ในไทยเพิ่มสูงขึ้น

มาตรการภาษี ฉุดเศรษฐกิจโลกชะลอตัวหลังทรัมป์ชนะเลือกตั้ง

SCB CIO มอง มาตรการภาษี ฉุดเศรษฐกิจโลกชะลอตัวหลัง ทรัมป์ชนะเลือกตั้ง หนุนตลาดหุ้นสหรัฐฯ พุ่งแนะทยอยสะสมดัชนี Russell 2000