moomall เดินหน้ายกระดับ Social Commerce เต็มพิกัด

Date:

นายบุญชัย ลิ่มอติบูลย์ ผู้ก่อตั้งแอปพลิเคชัน moomall เปิดเผยว่า จากความสำเร็จของ moomall ที่ผ่านมาหลังเปิดตัวแพลตฟอร์มที่เป็น Social Commerce เพื่อให้ทุกคนสามารถทำการตลาดผ่าน Social Media สร้างคอนเทนต์ สร้างตัวตนในการบอกต่อสินค้า เป็นการบอกต่อสินค้าที่จริงใจ เข้าถึงง่าย และช่วยสร้างสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคนซื้อและคนขาย การทำการตลาดแบบนี้ไม่ต้องเสียเงินค่าโฆษณาใดๆ ทำให้เราสามารถนำค่าโฆษณามาคืนเป็นค่าการตลาดให้กับผู้บริโภค เป็นการสร้างโมเดลที่เปลี่ยนการช้อปปิ้งออนไลน์ ให้กลายเป็นไลฟ์สไตล์ที่สร้างเงิน โดย moomall มีแบรนด์สินค้าและบริการที่ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน รวมรายการสินค้ากว่า 10,000 รายการ มีแบรนด์รายใหญ่กว่า 60 แบรนด์ เช่น โลตัส โออิชิ, ปั๊มน้ำมันพีที, บีควิก สเนลไวท์, สมูทอี, เด็กสมบูรณ์, ข้าวแสนดี, ทีวีไดเร็ค ฯลฯ

ซึ่งในไตรมาสที่ 2 ของปี 2565 มียอดขายกว่า 25 ล้านบาท โดยมีอัตราการซื้อซ้ำอยู่ที่ 58% และมีสมาชิกหลายท่านที่สร้างรายได้ถึงหลักแสนต่อเดือน (ข้อมูล 1 ส.ค.2565)

สำหรับในปีนี้ moomall เดินหน้าพัฒนาความหลากหลายของสินค้าให้ครบครัน โดยล่าสุดเพื่อเอาใจสายช้อป moomall เปิดตัว E- voucher ของเครือเซ็นทรัล ที่สามารถใช้ได้กับร้านค้าในเครือเซ็นทรัล Central Department Store , Robinson , Powerbuy , Super Sports , B2S , Muji , มัตสึโมโต คิโยชิ , ไทวัสดุ ฯลฯ

นอกจากนี้ยังเพิ่มรายการสินค้าภาคการเกษตร มอบความสะดวกให้เกษตรกรและร้านค้าปุ๋ย โดยสมาชิกสามารถสั่งซื้อปุ๋ยเพื่อการเกษตรผ่านแอปฯ โดยเลือกได้ทั้งการสั่งซื้อแบบออนไลน์ และ นัดรับที่คลังสินค้า พร้อมรับสิทธิประโยชน์จากระบบการจ่ายผลตอบแทนให้กับสมาชิก ด้วยกลยุทธ์นี้ทำให้ยอดขายสินค้าปุ๋ยมีอัตราการเติบโตคิดเป็น 400 % เปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมา และยังคงมียอดขายอย่างต่อเนื่อง” นายบุญชัยกล่าวเพิ่มเติมว่า

สำหรับปี 2565 moomall มีแผนในการพัฒนาแพลตฟอร์ม Social Commerce ซึ่งเน้น 4 ส่วนหลัก ดังนี้

1.เพิ่มจำนวนสมาชิกที่สามารถสร้างรายได้
2.เพิ่มจำนวนพาร์ทเนอร์
3.เพิ่มจำนวนแบรนด์รายใหญ่ ทั้งสินค้า และ บริการ
4.กิจกรรมส่งเสริมให้สมาชิกสามารถสร้างรายได้ได้ง่ายขึ้น

โดยคาดการณ์ว่า จากแผนพัฒนาดังกล่าว moomall จะมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 60% ในปีนี้ และเชื่อมั่นว่า ความนิยมของ Social Commerce จะเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูล Statista Research Department พบว่าในปี 2564 ประเทศไทยมีผู้ซื้อสินค้าผ่าน Social Commerce แบ่งเป็นสัดส่วนของ Facebook 86% Line 68 % Instagram 35% Twitter 8% เนื่องจากสถานการณ์โควิด 19 ผลักดันให้ผู้บริโภคเปลี่ยนรูปแบบการช้อปปิ้ง

Social Commerce เป็นช่องทางออนไลน์ที่เข้าถึงผู้บริโภคได้ง่าย สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย จากเดิมที่เราใช้ Social media เพื่อการพูดคุยสื่อสาร แลกเปลี่ยนความคิดเห็น แต่ปัจจุบัน Social media กลายเป็นช่องทางการสร้างความน่าเชื่อถือจนสามารถสร้างเป็นมูลค่ายอดขายสินค้าได้ และเป็นเครื่องมือที่หลายธุรกิจให้ความสำคัญมากขึ้น โลกออนไลน์เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว สิ่งที่ทุกคนต้องทำคือ “การปรับตัว เรียนรู้ และลงมือทำ

Share post:

spot_img

Related articles

แนะรัฐบาลขึ้นภาษี VAT พาเศรษฐกิจพ้นหายนะ 

อดีต รมว.คลัง แนะรัฐบาลใหม่ขึ้นภาษี VAT เพิ่มรายได้ประเทศแสนล้าน พาเศรษฐกิจพ้นหายนะ

ครม.สืบสันดาน ถูกต้องเหมาะสมแล้ว

“นายเทพไท เสนพงศ์” บอก ครม.สืบสันดาน ถูกต้องเหมาะสมแล้ว

รัฐบาลอุ๊งอิ๊ง จะรอดข้ามปีมั้ย???

“นายเทพไท เสนพงศ์” ตั้งข้อสังเกต รัฐบาลอุ๊งอิ๊ง จะรอดข้ามปีมั้ย???

ทีทีบี ออกมาตรการสินเชื่อช่วยเหลือลูกค้าน้ำท่วม

ทีทีบี ออกมาตรการ “ตั้งหลัก” ช่วยเหลือลูกค้าสินเชื่อที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ปรับโครงสร้างหนี้ และขยายเวลาผ่อนชำระนานสูงสุด 6 เดือน

Notice: ob_end_flush(): Failed to send buffer of zlib output compression (0) in /home/ozapeumy/public_html/wp-includes/functions.php on line 5427