moomall เดินหน้ายกระดับ Social Commerce เต็มพิกัด

Date:

นายบุญชัย ลิ่มอติบูลย์ ผู้ก่อตั้งแอปพลิเคชัน moomall เปิดเผยว่า จากความสำเร็จของ moomall ที่ผ่านมาหลังเปิดตัวแพลตฟอร์มที่เป็น Social Commerce เพื่อให้ทุกคนสามารถทำการตลาดผ่าน Social Media สร้างคอนเทนต์ สร้างตัวตนในการบอกต่อสินค้า เป็นการบอกต่อสินค้าที่จริงใจ เข้าถึงง่าย และช่วยสร้างสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคนซื้อและคนขาย การทำการตลาดแบบนี้ไม่ต้องเสียเงินค่าโฆษณาใดๆ ทำให้เราสามารถนำค่าโฆษณามาคืนเป็นค่าการตลาดให้กับผู้บริโภค เป็นการสร้างโมเดลที่เปลี่ยนการช้อปปิ้งออนไลน์ ให้กลายเป็นไลฟ์สไตล์ที่สร้างเงิน โดย moomall มีแบรนด์สินค้าและบริการที่ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน รวมรายการสินค้ากว่า 10,000 รายการ มีแบรนด์รายใหญ่กว่า 60 แบรนด์ เช่น โลตัส โออิชิ, ปั๊มน้ำมันพีที, บีควิก สเนลไวท์, สมูทอี, เด็กสมบูรณ์, ข้าวแสนดี, ทีวีไดเร็ค ฯลฯ

ซึ่งในไตรมาสที่ 2 ของปี 2565 มียอดขายกว่า 25 ล้านบาท โดยมีอัตราการซื้อซ้ำอยู่ที่ 58% และมีสมาชิกหลายท่านที่สร้างรายได้ถึงหลักแสนต่อเดือน (ข้อมูล 1 ส.ค.2565)

สำหรับในปีนี้ moomall เดินหน้าพัฒนาความหลากหลายของสินค้าให้ครบครัน โดยล่าสุดเพื่อเอาใจสายช้อป moomall เปิดตัว E- voucher ของเครือเซ็นทรัล ที่สามารถใช้ได้กับร้านค้าในเครือเซ็นทรัล Central Department Store , Robinson , Powerbuy , Super Sports , B2S , Muji , มัตสึโมโต คิโยชิ , ไทวัสดุ ฯลฯ

นอกจากนี้ยังเพิ่มรายการสินค้าภาคการเกษตร มอบความสะดวกให้เกษตรกรและร้านค้าปุ๋ย โดยสมาชิกสามารถสั่งซื้อปุ๋ยเพื่อการเกษตรผ่านแอปฯ โดยเลือกได้ทั้งการสั่งซื้อแบบออนไลน์ และ นัดรับที่คลังสินค้า พร้อมรับสิทธิประโยชน์จากระบบการจ่ายผลตอบแทนให้กับสมาชิก ด้วยกลยุทธ์นี้ทำให้ยอดขายสินค้าปุ๋ยมีอัตราการเติบโตคิดเป็น 400 % เปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมา และยังคงมียอดขายอย่างต่อเนื่อง” นายบุญชัยกล่าวเพิ่มเติมว่า

สำหรับปี 2565 moomall มีแผนในการพัฒนาแพลตฟอร์ม Social Commerce ซึ่งเน้น 4 ส่วนหลัก ดังนี้

1.เพิ่มจำนวนสมาชิกที่สามารถสร้างรายได้
2.เพิ่มจำนวนพาร์ทเนอร์
3.เพิ่มจำนวนแบรนด์รายใหญ่ ทั้งสินค้า และ บริการ
4.กิจกรรมส่งเสริมให้สมาชิกสามารถสร้างรายได้ได้ง่ายขึ้น

โดยคาดการณ์ว่า จากแผนพัฒนาดังกล่าว moomall จะมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 60% ในปีนี้ และเชื่อมั่นว่า ความนิยมของ Social Commerce จะเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูล Statista Research Department พบว่าในปี 2564 ประเทศไทยมีผู้ซื้อสินค้าผ่าน Social Commerce แบ่งเป็นสัดส่วนของ Facebook 86% Line 68 % Instagram 35% Twitter 8% เนื่องจากสถานการณ์โควิด 19 ผลักดันให้ผู้บริโภคเปลี่ยนรูปแบบการช้อปปิ้ง

Social Commerce เป็นช่องทางออนไลน์ที่เข้าถึงผู้บริโภคได้ง่าย สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย จากเดิมที่เราใช้ Social media เพื่อการพูดคุยสื่อสาร แลกเปลี่ยนความคิดเห็น แต่ปัจจุบัน Social media กลายเป็นช่องทางการสร้างความน่าเชื่อถือจนสามารถสร้างเป็นมูลค่ายอดขายสินค้าได้ และเป็นเครื่องมือที่หลายธุรกิจให้ความสำคัญมากขึ้น โลกออนไลน์เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว สิ่งที่ทุกคนต้องทำคือ “การปรับตัว เรียนรู้ และลงมือทำ

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

ออมสิน เอาในสายออม เงิยฝากสั้นดอกเบี้ยสูง

ออมสินเอาใจสายออม ออกเงินฝากเผื่อเรียกพิเศษ 5 เดือนและ 8 เดือน ดอกเบี้ยรับเต็มไม่เสียภาษี ฝากเลยที่ธนาคารออมสิน

ภท.งดออกเสียง พรบ.ประชามติ สัญญานการแข็งข้อกับเพื่อไทย

“เทพไท เสนพงศ์” ภท.งดออกเสียง พรบ.ประชามติ สัญญานการแข็งข้อกับเพื่อไทย

การบินไทย เปิดเผยรายงานประเมินมูลค่ายุติธรรม

การบินไทยเปิดเผยรายงานประเมินมูลค่ายุติธรรม เพื่อประกอบการพิจารณาเจ้าหนี้ในการใช้สิทธิแปลงหนี้เป็นทุนตามแผนฟื้นฟูกิจการ

อย่ามองคำร้องของ ธีรยุทธ์  ไม่มีน้ำหนัก

อย่ามองคำร้องของ ธีรยุทธ์  ไม่มีน้ำหนัก เพราะผลงานการร้องในอดีตนั้นรัดกุมด้วยข้อกฎหมาย