บีคอน วีซี ร่วมกับกรมลดโลกร้อนและ GGGI

Date:

บีคอน เวนเจอร์ แคปิทัล จำกัด (บีคอน วีซี) บริษัทเงินร่วมทุนของธนาคารกสิกรไทย ร่วมกับกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (กรมลดโลกร้อน) และสถาบันเพื่อการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโลก (Global Green Growth Institute  หรือ GGGI) เปิดตัวคู่มือสำหรับสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีเพื่อสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย (Thailand Climate Tech Startup Guide) ฉบับแรกของประเทศ ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุมทุกประเด็นสำคัญ ตั้งแต่แหล่งเงินทุน นวัตกรรม การกำกับดูแลด้านนโยบาย กฎหมาย รวมทั้งข้อเสนอแนะด้านการนำ Climate Tech มาใช้สนับสนุนผู้ประกอบการและนักลงทุนในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ท่ามกลางตลาดธุรกิจสีเขียวโลกที่คาดว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 280 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

นายวรพจน์ กิ่งแก้วก้านทอง Investment Head ของ บริษัท บีคอน เวนเจอร์ แคปิทัล จำกัด (บีคอน วีซี) เปิดเผยว่า ท่ามกลางความท้าทายหลากหลายที่ประเทศไทยกำลังเผชิญ การขับเคลื่อนเพื่อบรรเทาการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง   สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Tech จึงเข้ามามีบทบาทในการพัฒนานวัตกรรมที่มีส่วนช่วยให้ประเทศเดินหน้าสู่เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และ Net Zero ที่วางไว้  โดยบีคอน วีซี ได้ส่งเสริมการด้านเงินทุนผ่าน Beacon Impact Fund นอกจากนี้ เพื่อสร้างพื้นฐานและพัฒนาระบบนิเวศ Climate Tech ไทยให้แข็งแกร่งขึ้น  บีคอน วีซี จึงได้ร่วมกับกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม และสถาบันเพื่อการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโลก เปิดตัวคู่มือสำหรับสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีเพื่อสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย (Thailand Climate Tech Startup Guide) ฉบับแรกของประเทศ ซึ่งพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นแนวทางสำคัญสำหรับผู้ประกอบการ นักลงทุน และผู้กำหนดนโยบายในการใช้ประโยชน์จาก Climate Tech อย่างเต็มศักยภาพ โดยมุ่งเน้นการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจพร้อมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

เนื้อหาในคู่มือสำหรับสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีสภาพภูมิอากาศฉบับใหม่นี้ เป็นการรวบรวมข้อมูลเชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญหลายภาคส่วน แนวทางปฏิบัติที่ใช้ได้จริง และกรณีศึกษาที่ช่วยสตาร์ทอัพวางแผนธุรกิจและขยายตัวอย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมประเด็นสำคัญสำหรับสตาร์ทอัพด้าน Climate Tech ตั้งแต่แหล่งเงินทุน นวัตกรรม การกำกับดูแลด้านนโยบาย รวมถึงข้อเสนอแนะเพื่อให้ประเทศไทยสามารถนำ Climate Tech มาใช้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และข้อเสนอแนะการออกกฎหมายนโยบายเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการ นักลงทุน ผู้พัฒนาเทคโนโลยี ด้วยความมุ่งหมายให้คู่มือนี้เป็นจุดเริ่มต้นการวางรากฐานที่ดีสำหรับผู้เกี่ยวข้องกับ Climate Tech ทุกภาคส่วน ซึ่งจะนำไปสู่ความร่วมมือผลักดันการพัฒนาที่จำเป็น เพื่อให้ประเทศไทยเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น 

นายกิตติศักดิ์ พฤกษ์กานนท์ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และความร่วมมือระหว่างประเทศ กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (กรมลดโลกร้อน) เปิดเผยว่า ความร่วมมือในการจัดทำคู่มือคู่มือสำหรับสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีเพื่อสภาพภูมิอากาศครั้งนี้ ตอกย้ำความสำคัญที่ประเทศไทยได้ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนและท้าทายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นโจทย์ใหญ่ที่ไม่สามารถสำเร็จได้ด้วยนโยบายอย่างเดียว แต่จำเป็นต้องใช้นวัตกรรมเข้ามาขับเคลื่อนด้วย ผู้ประกอบการด้าน Climate Tech ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตั้งแต่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไปจนถึงการช่วยชุมชนปรับตัวรับมือกับผลกระทบ แม้รัฐบาลจะมีนโยบายและสิทธิประโยชน์สนับสนุนการพัฒนา Climate Tech แต่ภาคธุรกิจยังเผชิญความท้าทายสำคัญ ได้แก่ กฎระเบียบที่ซับซ้อน การขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะ และข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ซึ่งยังคงเป็นอุปสรรคในการปลดล็อกศักยภาพของภาค Climate Tech จึงจำเป็นต้องสร้างกรอบนโยบายที่ยืดหยุ่นแต่มั่นคงเพื่อรองรับนวัตกรรมใหม่ที่กฎหมายเก่าไม่สามารถตอบสนองได้ และสร้างช่องทางสนับสนุนสตาร์ทอัพโดยตรงมากขึ้น

นายศานติ์กร ภักดีเศรษฐกุล เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านยุทธศาสตร์การลงทุนสีเขียว สถาบันเพื่อการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโลก (Global Green Growth Institute หรือ GGGI) เปิดเผยว่า ตลาดธุรกิจสีเขียวทั่วโลกคาดว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 280 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2593 ขณะที่ประเทศไทยเริ่มมีความชัดเจนในเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งเปิดโอกาสการลงทุนในสาขาใหม่ เช่น พลังงานสะอาด เกษตรกรรมยั่งยืน การจัดการขยะ และรถยนต์ไฟฟ้า ดังนั้น การจัดทำคู่มือคู่มือสำหรับสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีเพื่อสภาพภูมิอากาศจึงมุ่งส่งเสริม Climate Tech ให้สามารถตอบรับกับโอกาสที่เกิดขึ้นได้ หากเราสามารถลดข้อจำกัดต่างๆ และเสริมความแข็งแกร่งของระบบนิเวศให้ครบวงจร ประเทศไทยก็มีศักยภาพที่จะเป็นศูนย์กลางของนวัตกรรมด้านสภาพภูมิอากาศในภูมิภาคนี้ได้อย่างแน่นอน

นายวรพจน์ กล่าวตอนท้ายว่า แม้วงการสตาร์ทอัพด้าน Climate Tech ในประเทศไทยจะยังเผชิญความท้าทายหลากหลาย แต่โอกาสในการพัฒนาธุรกิจด้านนี้ก็มีมาก เมื่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในภาคส่วนต่างๆ เริ่มตระหนักถึงความสำคัญของ Climate Tech มากขึ้น ซึ่งเป็นตัวจุดประกายความร่วมมือในการสร้างนวัตกรรมเพื่อลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คู่มือฉบับนี้โดยคู่มือยังเจาะลึกถึงกลุ่มเทคโนโลยีเฉพาะทางของ Climate Tech ที่มีโอกาสเติบโตสูงในไทย รวมทั้งชวนทุกภาคส่วนมองไปข้างหน้าถึงสาขาที่จะมีบทบาทสำคัญในอนาคต โดยเฉพาะการลดก๊าซเรือนกระจกในอุตสาหกรรม การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญทั้งในระดับประเทศและภูมิภาคอาเซียน ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลด Thailand Climate Tech Startup Guide ฟรี ภาษาไทยที่ https://www.dcce.go.th/media/6757/  และภาษาอังกฤษที่ https://www.dcce.go.th/media/6762/

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

นายกฯ หยุดปฏิบัติหน้าที่ สะเทือนหนักเศรษฐกิจไทย

เศรษฐกิจไทยไตรมาสสาม เดือดดาลดั่งงูไฟ การเมืองกดดันเศรษฐกิจ หลังนายกฯ หยุดปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราว

นายกฯ แถลงน้อมรับคำสั่งศาลหยุดปฏิบัติหน้าที่

นายกฯ แถลงน้อมรับคำสั่งศาลหยุดปฏิบัติหน้าที่ พร้อมพิสูจน์ปมคลิปเสียง ทำเพื่อรักษาอธิปไตยไทย 100 เปอร์เซ็นต์

นายกฯ ถูกสั่งพักงาน ฉุดรั้งเศรษฐกิจ

นายกฯ ถูก ศาลรัฐธรรมนูญสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ ฉุดรั้งเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง 68

ศาลรัฐธรรมนูญ สั่งให้นายกฯ หยุดปฏิบัติหน้าที่

ศาลรัฐธรรมนูญ สั่งให้นายกฯ หยุดปฏิบัติหน้าที่ ปมคลิปเสียง สนทนาฮุนเซนฯ