ก.ล.ต. เปิดรับฟังความคิดแก้ไข พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ

Date:

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 (ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ) เพื่อยกระดับการกำกับดูแลให้มีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับลักษณะและความเสี่ยงของสินทรัพย์ดิจิทัลแต่ละประเภท สอดคล้องกับแนวทางสากล และสร้างความเชื่อมั่นต่อตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลของไทยมากยิ่งขึ้น

ตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. มีมติเห็นชอบหลักการปรับปรุง พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ เพื่อให้การกำกับดูแลมีประสิทธิภาพมากขึ้น เหมาะสมตามลักษณะและความเสี่ยงของสินทรัพย์ดิจิทัลแต่ละประเภท (same activity, same risk, same regulatory outcome) รวมทั้งสอดคล้องกับการกำกับดูแลในต่างประเทศ ซึ่งเป็นกลไกที่จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ลงทุนต่อตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลของไทย ก.ล.ต. จึงจัดทำร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ ซึ่งได้ปรับปรุงหลักการตามข้อเสนอที่ได้รับจากการเปิดรับฟังความคิดเห็นไปเมื่อปลายปี 2566 โดยมีสาระสำคัญดังนี้

(1) ปรับปรุงขอบเขตนิยามสินทรัพย์ดิจิทัล โดยมีลักษณะเป็นคริปโทแอสเซท (crypto asset) ตามแนวทางสากล ซึ่งมีลักษณะร่วมพื้นฐาน 4 ประการ* รวมทั้งมีลักษณะเป็นกลางทางเทคโนโลยี (tech neutral) และมีมูลค่าทางเศรษฐกิจ โดยให้อำนาจคณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนดประเภทสินทรัพย์ดิจิทัลที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแล (positive list) เพื่อความเหมาะสมในการกำกับดูแล

(2) การปรับปรุงหลักการกำกับดูแลการออกและเสนอขายสินทรัพย์ดิจิทัลในตลาดแรก (ซึ่งไม่มีลักษณะของการระดมทุนและไม่มีความคาดหวังความสำเร็จของโครงการ**) ให้สอดคล้องกับขอบเขตสินทรัพย์ดิจิทัลที่จะอยู่ภายใต้การกำกับดูแล โดยกำหนดให้ต้องยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายสินทรัพย์ดิจิทัล (แบบ filing) และร่างหนังสือชี้ชวน ตามหลักการเปิดเผยข้อมูลสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุน (disclosure based) แทนการได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต. พร้อมทั้งยกเลิกการกำหนดให้ต้องเสนอขายผ่านผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ICO portal) เพื่อให้การกำกับดูแลในการเสนอขายมีความเหมาะสมและได้สัดส่วนกับความเสี่ยงของสินทรัพย์ดิจิทัลที่ออกเสนอขาย

(3) การปรับปรุงข้อกำหนดเกี่ยวกับการกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลในตลาดรองให้สอดคล้องกับการปรับปรุงบทนิยาม “สินทรัพย์ดิจิทัล” รวมทั้งกำหนดห้ามผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าและบริการ (means of payment) ปรับปรุงบทบัญญัติเพื่อกำกับดูแลบุคคลที่ไม่ได้มีตำแหน่งเป็นกรรมการหรือผู้บริหาร แต่เข้ามามีอำนาจบริหารกิจการ และเพิ่มเติมบทบัญญัติเพื่อกำกับดูแลผู้ถือหุ้นรายใหญ่ไว้ใน พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่น่าเชื่อถือและเหมาะสมแก่การประกอบธุรกิจ

(4) การปรับปรุงและแก้ไขหลักการในเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น เพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับบทกำหนดโทษทางอาญาสำหรับการกระทำความผิดเกี่ยวกับการออกและเสนอขายสินทรัพย์ดิจิทัลต่อประชาชนให้สอดคล้องกับการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในเรื่องดังกล่าว ปรับปรุงอัตราโทษทางอาญาและปรับเปลี่ยนโทษทางอาญาเดิมในบางลักษณะให้เป็นโทษปรับเป็นพินัย*** และปรับปรุงอายุความในการดำเนินคดีสำหรับความผิดตาม พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ ที่มีโทษปรับสถานเดียว ให้มีอายุความไม่เกิน 5 ปีเช่นเดียวกับมาตรา 316/1 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เป็นต้น

ทั้งนี้ ก.ล.ต. ได้เผยแพร่เอกสารรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ ไว้บนเว็บไซต์ ก.ล.ต. https://www.sec.or.th/TH/Pages/PB_Detail.aspx?SECID=1007 และระบบกลางทางกฎหมาย http://law.go.th/listeningDetail?survey_id=NDA0OURHQV9MQVdfRlJPTlRFTkQ= ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ที่สนใจสามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่เว็บไซต์ หรือทาง e-mail: pinyapat@sec.or.th หรือ dpsec@sec.or.th จนถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2567

Share post:

spot_img

Related articles

แนะรัฐบาลขึ้นภาษี VAT พาเศรษฐกิจพ้นหายนะ 

อดีต รมว.คลัง แนะรัฐบาลใหม่ขึ้นภาษี VAT เพิ่มรายได้ประเทศแสนล้าน พาเศรษฐกิจพ้นหายนะ

ครม.สืบสันดาน ถูกต้องเหมาะสมแล้ว

“นายเทพไท เสนพงศ์” บอก ครม.สืบสันดาน ถูกต้องเหมาะสมแล้ว

รัฐบาลอุ๊งอิ๊ง จะรอดข้ามปีมั้ย???

“นายเทพไท เสนพงศ์” ตั้งข้อสังเกต รัฐบาลอุ๊งอิ๊ง จะรอดข้ามปีมั้ย???

ทีทีบี ออกมาตรการสินเชื่อช่วยเหลือลูกค้าน้ำท่วม

ทีทีบี ออกมาตรการ “ตั้งหลัก” ช่วยเหลือลูกค้าสินเชื่อที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ปรับโครงสร้างหนี้ และขยายเวลาผ่อนชำระนานสูงสุด 6 เดือน

Notice: ob_end_flush(): Failed to send buffer of zlib output compression (0) in /home/ozapeumy/public_html/wp-includes/functions.php on line 5427