TISCO ESU เตือน แรงหนุนตลาดหุ้นเริ่มแผ่ว 

Date:

Moody’s

นายธนธัช ศรีสวัสดิ์ นักกลยุทธ์ ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้ เปิดเผยว่า ตลาดหุ้นโลกเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัว หลังจากปรับตัวฟื้นขึ้นอย่างแข็งแกร่งสู่ระดับก่อนวัน Liberation Day ท่ามกลางบรรยากาศเชิงบวกจากความคืบหน้าในการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน และสหราชอาณาจักร แต่แรงขับเคลื่อนดังกล่าวเป็นปัจจัยสนับสนุนชั่วคราวเท่านั้น

 ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงเชิงโครงสร้างยังคงอยู่และมีแนวโน้มจะกดดันตลาดในระยะถัดไป หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ควรให้ความสำคัญคือ ระดับการประเมินมูลค่าหุ้น (Valuation) ที่เริ่มตึงตัว โดยดัชนี S&P 500 มี Forward P/E เพิ่มขึ้นแตะระดับเกือบ 22 เท่าแล้ว หรือเทียบเท่ากับช่วงที่ GDP สหรัฐฯ เติบโตได้ในระดับร้อนแรง (Overheat) ในปี 2566-2567 สวนทางกับภาพระยะข้างหน้าที่เศรษฐกิจโลกยังคงเปราะบางและมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่อง 

แม้จะมีข่าวดีเรื่องการเจรจาการค้าบ้าง แต่ยังมีข้อจำกัดในประเด็นสำคัญ อาทิ สหรัฐฯ ยังคงยืนยันอัตราขั้นต่ำ (Floor Tariff Rate) ของภาษีศุลกากรที่ระดับ 10% แม้กับประเทศพันธมิตรใกล้ชิดอย่างสหราชอาณาจักร และเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่ขาดดุลการค้ากับสหรัฐฯ ส่วนจีนแม้จะได้รับการผ่อนปรนภาษีนำเข้าชั่วคราวจาก 145% เป็น 30% จนกว่าจะเจรจาทางออกสุดท้ายกันได้ แต่ก็ยังถือเป็นอัตราที่สูงมาก ขณะเดียวกันประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ยังส่งสัญญาณเตรียมปรับขึ้นภาษีนำเข้าจากสหภาพยุโรปเป็น 50% หากการเจรจาไม่มีความคืบหน้า  

สถานการณ์เหล่านี้สะท้อนแนวโน้มสงครามการค้ายังคงยืดเยื้อ และโลกอาจกำลังเข้าสู่ “ยุคลัทธิพาณิชย์นิยมสมัยใหม่ (Modern Mercantilism)” ที่ให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศมหาอำนาจเป็นหลัก มากกว่าการค้าเสรี ส่งผลกระทบเชิงลบต่อห่วงโซ่อุปทานโลก ทำให้ต้นทุนสินค้าเพิ่มขึ้นแต่คุณภาพลดลง 

อีกหนึ่งปัจจัยที่กดดันตลาด คือ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ปรับขึ้นมาอยู่ที่ 4.5% ตามที่เคยประเมินไว้ คาดว่าจะสร้างแรงกดดันเพิ่มเติมต่อ Valuation ของสินทรัพย์เสี่ยงในระยะข้างหน้า 

ภายใต้บริบทดังกล่าว TISCO ESU แนะนำให้ทยอยลดน้ำหนักในหุ้นกลุ่มที่มีความอ่อนไหวต่อวัฏจักรเศรษฐกิจ อาทิ กลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย (Consumer Discretionary) และใช้จังหวะการฟื้นตัวของตลาดในรอบนี้เป็นโอกาสในการทยอยขายทำกำไร เพื่อบริหารความเสี่ยง

ขณะที่อีกสินทรัพย์เสี่ยงที่มองว่ามีโอกาสปรับขึ้นได้จำกัดคือ ราคาน้ำมันดิบ โดยเราปรับลดคาดการณ์ราคาน้ำมันดิบ West Texas Intermediate Crude Oil (WTI) ลงสู่ระดับ 60 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรลในช่วงที่เหลือของปี สืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงเชิงยุทธศาสตร์ของกลุ่มผู้ผลิตน้ำมัน OPEC ที่หันหลังให้กับการรักษาระดับราคาน้ำมันในกรอบ 70–90 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และมุ่งเน้นการผลิตน้ำมันเพื่อตอบสนองต่อผลประโยชน์เชิงภูมิรัฐศาสตร์มากขึ้น 

“การตัดสินใจเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันของ OPEC ในช่วงที่ผ่านมา อาจเป็นความพยายามส่งสัญญาณเชิงบวกก่อนการมาเยือนของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา สะท้อนความสำคัญของการพยายามพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับประเทศในตะวันออกกลาง โดยเฉพาะซาอุดีอาระเบีย ภายใต้แนวทางของ OPEC ที่เปลี่ยนไป ประกอบกับแรงกดดันจาก Sentiment เชิงลบของตลาดการเงินต่อตลาดน้ำมันที่รุนแรงกว่าสินทรัพย์ประเภทอื่น ทำให้เราประเมินว่า โอกาสฟื้นตัวของราคาน้ำมันในระยะนี้ค่อนข้างจำกัด” นายธนธัช กล่าว 

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

เคทีซีแกร่งต่อเนื่อง ครึ่งปีแรกโชว์กำไร 3,755 ล้าน

เคทีซีแกร่งต่อเนื่อง ครึ่งปีแรกโชว์กำไร 3,755 ล้าน คล่องส่วนแบ่งตลาดโตทุกผลิตภัณฑ์

พาณิชย์” ยันเดินหน้าร่วมมือจีน ขับเคลื่อนการค้า

"พาณิชย์” ยันเดินหน้าร่วมมือจีน ขับเคลื่อนการค้า การลงทุน ความร่วมมือเศรษฐกิจ

นายกฯ บินด่วนอุบลฯ เยี่ยมให้กำลังใจทหาร

นายกฯ ควง ’บิ๊กเล็ก‘ บินด่วนอุบลฯ เยี่ยมให้กำลังใจทหาร เหยียบระเบิดช่องบก

คปภ. เดินหน้ายกระดับการกำกับดูแล

คปภ. เดินหน้ายกระดับการกำกับดูแล เสริมเกราะธุรกิจประกันภัยไทย สู่มาตรฐานสากล