นายวรุตม์ ธรรมาวรานุคุปต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เสริมสร้าง พาวเวอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (SSP) เปิดเผยถึงภาพรวมการดำเนินธุรกิจในครึ่งปีหลังคาดว่าจะเติบโตได้ตามเป้า ซึ่งสนับสนุนให้ผลงานในปี 2565 เติบโตไม่ต่ำกว่า 30% จากความสำเร็จที่บริษัทฯสามารถขยายโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนได้ทุกรูปแบบ ทั้งโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานชีวมวล และพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา และจากการมีฐานทุนที่แข็งแกร่งมาก SSP พร้อมเร่งขยายการลงทุนแตกไลน์ธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนธุรกิจเติบโตก้าวกระโดด สร้างสถิติสูงสุดใหม่ต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมีกำลังการผลิตไฟฟ้าที่เปิดดำเนินงานแล้ว 232 เมกะวัตต์ และวางเป้าหมายเพิ่มเป็น 500 เมกะวัตต์ภายในปี 2568
สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ LEO 2 ในประเทศญี่ปุ่น กำลังการผลิต 22 เมกะวัตต์ อยู่ระหว่างการพัฒนา ซึ่งเป็นไปตามแผนที่วางไว้ โดยคาดว่าจะสามารถจ่ายไฟเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD)ได้ราวไตรมาส 2 ปี 2567 ส่วนการลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมขนาดใหญ่ ในประเทศเวียดนาม ปัจจุบันอยู่ระหว่างขั้นตอนทำการศึกษาและรอความชัดเจนจากภาครัฐของเวียดนาม ภายใต้แผนการพัฒนาพลังงานแห่งชาติ (PDP8)
สำหรับผลการดำเนินงานมีกำไรสุทธิในงวดไตรมาสที่ 2/2565 อยู่ที่ 644.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 404.5 ล้านบาท หรือ 168.3% จากงวดเดียวกันปีก่อน โดยมีสาเหตุหลักจากการรับรู้กำไรพิเศษในไตรมาสที่ 2/2565 จากขายโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ฮิดากะ ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีกำไร 348.4 ล้านบาท แต่หากไม่รวมรายการดังกล่าว SSP มีกำไรจากการดำเนินงานปกติในไตรมาสที่ 2/2565 ที่ 293.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 26.1% ขณะที่ EBITDA หลักจากการดำเนินงาน อยู่ที่ 657.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 181.0 ล้านบาท เทียบงวดเดียวกันของปีก่อน
นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ครั้งที่ 4/2565 ได้มีมติอนุมัติจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลให้กับผู้ถือหุ้นเป็นเงินสด ในอัตราหุ้นละ 0.20 บาท รวมเป็นเงินปันผลทั้งสิ้น 249.8 และกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิได้รับเงินปันผล (Record Date)ในวันที่ 25 สิงหาคม 2565 และกำหนดจ่ายเงินปันผลวันที่ 9 กันยายน 2565
เนื่องจากปัจจุบัน SSP ยังมีให้อัพไซส์อีกเพียบ ด้าน บล.เคทีบีเอสที ระบุในบทวิเคราะห์ บริษัท เสริมสร้าง พาวเวอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SSP คงคำแนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 16.00 บาท ประเมินกำไรปกติปี 2022E ที่ 1.2 พันล้านบาท (+42% YoY, EPS +10% YoY dilution effect การเติบโตหลักมาจากการรับรู้รายได้เต็มปี ของโรงไฟฟ้าที่เริ่มรับรู้รายได้ในปี 2021) โดยกาไรปกติ 2Q22E คิดเป็น 49% ของประมาณการดังกล่าว แนวโน้ม 2H22E กาไรเติบโตต่อเนื่อง YoY โดยมีปัจจัยหลักคือการรับรู้รายได้โครงการที่ทยอย COD ในช่วง 2H21-1H22 เต็มครึ่งปีหลัง