TPCH ลุยขยายธุรกิจพลังงานทดแทนต่างประเทศ

Date:

นางกนกทิพย์ จันทร์พลังศรี ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท ทีพีซี เพาเวอร์ โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (TPCH) ประกอบธุรกิจหลักโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) ที่ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เปิดเผยว่า แนวโน้มธุรกิจยังมีทิศทางที่ดีต่อเนื่อง โดยทยอยรับรู้รายได้จากโรงไฟฟ้าในมือ รวมทั้ง บริษัทฯ มีแผนที่จะลงทุนร่วมกับพันธมิตร เพื่อเข้าลงทุนในธุรกิจพลังงานทดแทนขนาดใหญ่ในต่างประเทศหลายโครงการ ซึ่งอยู่ระหว่างการเข้าศึกษาโครงการ และคาดว่าจะเห็นความชัดเจนเร็วๆ นี้

สำหรับการลงทุนภายในประเทศ ขณะนี้ อยู่ระหว่างการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าประเภทเชื้อเพลิงขยะ 5-7 โครงการ ภายใต้บริษัท สยาม พาวเวอร์ จำกัด (SP) ซึ่ง TPCH ถือหุ้นในสัดส่วน 50% เพื่อเข้าร่วมโครงการรับซื้อไฟฟ้าของภาครัฐ คาดว่าจะเห็นความชัดเจน 1-2 โครงการ ภายในปีนี้

“TPCH เห็นโอกาสในการขยายธุรกิจไปในต่างประเทศ จึงได้มีการศึกษาและเตรียมความพร้อมร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจที่มีความชำนาญในพื้นที่ เพื่อเข้าลงทุนในธุรกิจพลังงานทดแทน ให้กับประเทศใน CLMV ที่มีความต้องการใช้พลังงานทดแทนในรูปแบบต่างๆ ซึ่ง บริษัทฯ มีความเชี่ยวชาญในการทำโรงไฟฟ้าประเภทชีวมวล และขยะ อยู่แล้ว รวมถึงยังได้ศึกษาและพัฒนาเตรียมเข้าซื้อกิจการพลังงานทดแทนอีกหลายแห่งในประเทศอีกด้วย เพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ถือหุ้น และสร้างการเติบโตอย่างมั่นคงให้กับบริษัทฯ”

ด้านนายเชิดศักดิ์ วัฒนวิจิตรกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีพีซี เพาเวอร์ โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (TPCH) กล่าวว่า สำหรับโรงไฟฟ้าประชารัฐชีวมวล แม่ลาน กำลังการผลิตรับซื้อไม่เกิน 2.85 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าประชารัฐชีวมวล บันนังสตา กำลังการผลิตรับซื้อไม่เกิน 2.85 เมกะวัตต์ ขณะนี้การก่อสร้างมีความคืบหน้าไปมากแล้ว คาดว่า จะสามารถ COD ได้ภายในไตรมาส 1/2566

ขณะที่ โครงการโรงไฟฟ้าที่ได้จำหน่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) รวม 11 แห่ง ประกอบด้วย โครงการโรงไฟฟ้าชีวมวล CRB, MWE, MGP, TSG, PGP, SGP, PTG,TPCH 5, TPCH 1 ,TPCH 2 และโรงไฟฟ้าขยะ SP มีกำลังการผลิตรวม 116.3 เมกะวัตต์ สามารถเดินเครื่องได้ตามปกติ รวมทั้งโครงการที่อยู่ระหว่างการปรับจูนเครื่องจักรก็มีความสามารถผลิตไฟฟ้าได้ดีขึ้น อีกทั้ง บริษัทได้ทยอยนำโรงไฟฟ้าที่ดำเนินการ COD แล้วไปจดทะเบียนคาร์บอนเครดิตเพื่อทำการขาย เป็นช่องทางสร้างรายได้เพิ่มให้กับบริษัทในอนาคต

ทั้งนี้ โครงการโรงไฟฟ้าสตูล กรีน เพาเวอร์ (SGP) ตั้งอยู่ที่ ต.ควนกาหลง อ.ควนกาหลง จ.สตูล ขนาดกำลังการผลิตไฟฟ้าเสนอขาย 9.2 เมกะวัตต์ ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1 ด้านพลังงานทดแทน ประเภทโครงการที่เชื่อมโยงกับระบบสายส่งไฟฟ้า (On-Grid) จากงาน ASEAN Energy Awards 2022 ซึ่งการได้รับรางวัลในครั้งนี้ ตอกย้ำการดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณภาพและได้มาตรฐานที่ดีอย่างต่อเนื่องในระดับอาเซียน

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

OR เปิดแผนปฏิรูปดิจิทัล 

OR เปิดแผนปฏิรูปดิจิทัล มุ่งยกระดับธุรกิจน้ำมันและค้าปลีกสู่อนาคต

บางจากฯ ลงนามข้อตกลงจัดหา SAF ร่วมกับเชลล์

บางจากฯ ลงนามข้อตกลงจัดหา SAF ร่วมกับเชลล์ โดยบางจากฯ จะจัดส่ง SAF ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ให้กับเชลล์

SPRC 9 เดือนปี 2567 มีกำไรสุทธิ 55 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

SPRC 9 เดือนปี 2567 มีกำไรสุทธิ 55 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากราคาน้ำมันเฉลี่ยที่สูงกว่าและยอดขายที่เพิ่มขึ้น

EGCO Group โชว์กำไร Q3/67 กว่า 3,600 ล้านบาท

EGCO Group กำไรจากการดำเนินงาน Q3/67 กว่า 3,600 ล้านบาท และ 9M/67 กว่า 7,000 ล้านบาท แรงหนุนจากกลุ่มโรงไฟฟ้าต่างประเทศ และ USA