ดร.ชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายองค์กรสัมพันธ์ และ โฆษก ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ช่วงที่ผ่านมา ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนท่ามกลางความไม่แน่นอนในตลาดการเงินโลกที่ยังอยู่ในระดับสูง โดยปัจจัยหลักมาจากการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ สรอ. เป็นสำคัญ หลังตัวเลขเงินเฟ้อพื้นฐานสหรัฐฯ ออกมาสูงกว่าคาด และอาจกดดันให้ Fed ขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากขึ้นในระยะข้างหน้า รวมถึงสถานการณ์การเมืองในประเทศอังกฤษ หลังการประกาศลาออกจากตำแหน่งของอดีตนายกรัฐมนตรี Liz Truss นอกจากนี้ยังมีความไม่แน่นอนจากการผ่อนคลายมาตรการ lockdown ของจีน ที่อาจส่งผลต่อการฟื้นตัวภาคการท่องเที่ยวของไทย
ดร.ชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายองค์กรสัมพันธ์ และ โฆษก ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ช่วงที่ผ่านมา ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนท่ามกลางความไม่แน่นอนในตลาดการเงินโลกที่ยังอยู่ในระดับสูง โดยปัจจัยหลักมาจากการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ สรอ. เป็นสำคัญ หลังตัวเลขเงินเฟ้อพื้นฐานสหรัฐฯ ออกมาสูงกว่าคาด และอาจกดดันให้ Fed ขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากขึ้นในระยะข้างหน้า รวมถึงสถานการณ์การเมืองในประเทศอังกฤษ หลังการประกาศลาออกจากตำแหน่งของอดีตนายกรัฐมนตรี Liz Truss นอกจากนี้ยังมีความไม่แน่นอนจากการผ่อนคลายมาตรการ lockdown ของจีน ที่อาจส่งผลต่อการฟื้นตัวภาคการท่องเที่ยวของไทย
ด้านเงินทุนเคลื่อนย้าย ยังไม่พบสัญญาณที่ผิดปกติ โดยนับตั้งแต่ต้นปี จนถึงวันที่ 20 ตุลาคม 2565 นักลงทุนต่างชาติยังมีฐานะเป็นซื้อสุทธิในสินทรัพย์ไทยประมาณ 1.1 แสนล้านบาท (ซื้อสุทธิในตลาดหลักทรัพย์กว่า 1.4 แสนล้านบาท และขายสุทธิในตลาดพันธบัตรพันธบัตรที่ 3 หมื่นล้านบาท)
ทั้งนี้ ธปท. ได้ติดตามสถานการณ์การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทและเงินทุนเคลื่อนย้ายอย่างใกล้ชิด โดยภาคเอกชนควรบริหารความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดผลกระทบจากความผันผวนของตลาดการเงินในสถานการณ์ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง