บสย. ตั้งเป้าค้ำผู้ประกอบการ 5 หมื่นล้าน

Date:

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่าที่ประชุม ครม. มีมติเห็นชอบมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises : SMEs) ผ่านโครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme (โครงการ PGS) ระยะที่ 11 ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และอนุมัติงบประมาณวงเงินรวม 7,125 ล้านบาท จากงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อดำเนินโครงการ PGS ระยะที่ 11 โดยให้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) กำหนดโครงการย่อยภายใต้โครงการ PGS ระยะที่ 11 ที่เน้นให้ความสำคัญและความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการ SMEs ที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่รัฐบาลสนับสนุน และผู้ประกอบการ SMEs รายใหม่ที่ยังไม่เคยได้รับสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินเป็นลำดับแรก พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

ทั้งนี้ โครงการ PGS ระยะที่ 11 มีวงเงินค้ำประกันโครงการ – 50,000 ล้านบาท โดย บสย. สามารถกำหนดเงื่อนไขวงเงินค้ำประกันสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการ SMEs แต่ละกลุ่ม หรือแต่ละสถาบันการเงิน หรือโครงการย่อยแต่ละโครงการได้ตามความเหมาะสม

รูปแบบการค้ำประกัน – Portfolio Guarantee Scheme / Package Guarantee Scheme

ระยะเวลารับคำขอค้ำประกันสินเชื่อ – นับตั้งแต่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2568

อายุการค้ำประกันสินเชื่อ – ไม่เกิน 10 ปี

วงเงินค้ำประกันต่อราย – ไม่เกิน 40 ล้านบาทต่อรายรวมทุกสถาบันการเงิน ทั้งนี้ อยู่ภายใต้ข้อกำหนดหลักเกณฑ์การค้ำประกันสินเชื่อต่อรายและต่อกลุ่มลูกค้า (Single Guarantee Limit : SGL) ของ บสย. และการยื่นขอให้ค้ำประกันขั้นต่ำครั้งละไม่น้อยกว่า 10,000 บาท

ค่าธรรมเนียมการค้ำประสินเชื่อ – รวมทั้งโครงการเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 1.758 ต่อปี และสามารถจัดสรรอัตราค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสินเชื่อที่รัฐบาลจ่ายแทนผู้ประกอบการ SMEs ในแต่ละโครงการย่อยได้ตามความเหมาะสม

กรอบวงเงินค่าประกันชดเชยตลอดโครงการฯ – รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 15,000 ล้านบาท ประกอบด้วย

(1) บสย. ขอรับเงินงบประมาณชดเชยจากรัฐบาลสำหรับการชดเชยค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs และการชดเชยการจ่ายค่าประกันชดเชยจากรัฐบาลเป็นเงินรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 7,125 ล้านบาท (ร้อยละ 14.25 x 50,000 ล้านบาท)

(2) รายได้จากค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสินเชื่อในโครงการที่เรียกเก็บจากผู้ประกอบการ SMEs เฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 1.75 ต่อปีของวงเงินค้ำประกันสินเชื่อในแต่ละปีตามรายรับที่เกิดขึ้นจริง เป็นจำนวนเงินไม่เกิน 7,875 ล้านบาท (ร้อยละ 15.75 x 50,000 ล้านบาท)

ผลเชิงเศรษฐกิจที่คาดว่าจะได้รับ

(1) มีผู้ประกอบการ SMEs ได้รับสินเชื่อเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 76,900 ราย (เฉลี่ย 0.65 ล้านบาทต่อราย)

(2) ก่อให้เกิดสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินไม่ต่ำกว่า 60,000 ล้านบาท (1.2 เท่า)

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

เจาะลึก 4 เครื่องมือวางแผนมรดก

เดอะวิสดอมกสิกรไทย เจาะลึก 4 เครื่องมือวางแผนมรดก ลดภาระภาษี ส่งต่อความมั่งคั่งจากรุ่นสู่รุ่น

กรุงศรี ออโต้ ผนึก ททท. เปิดตัวบริการบัดดี้ท่องเที่ยว

กรุงศรี ออโต้ ผนึก ททท. เปิดตัวบริการบัดดี้ท่องเที่ยวคู่ใจผู้ใช้รถใน GO Travel บนแอปพลิเคชัน GO by Krungsri Auto

กลุ่มสยามกลการ ลุยตลาดอาคารสำนักงาน

กลุ่มสยามกลการ ลุยตลาดอาคารสำนักงาน เปิดตัว “สยามปทุมวัน เฮ้าส์” อาคารสำนักงานอัจฉริยะสีเขียวใจกลางกรุงเทพฯ

ธนชาตประกันภัย รุกหนักออก ประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้า 

ธนชาตประกันภัย รุกหนักออก ประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้า คุ้มครองแบตเตอรี่เสียหายเปลี่ยนให้ใหม่ 100%