ออมสินคลอดสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ 1 แสนล้าน

Date:

นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ต้นทุนการผลิตและระดับราคาสินค้าทั่วไปปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชนที่มีค่าครองชีพและต้นทุนในการประกอบอาชีพปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ ยังส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises : SMEs) ทำให้กำไรลดลงและประสบกับปัญหาด้านสภาพคล่องจากการไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบสถาบันการเงินได้ กระทรวงการคลังเล็งเห็นว่าหากปัญหาดังกล่าวไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน อาจส่งผลกระทบเป็นวงกว้างอเศรษฐกิจไทยในภาพรวม 

ดังนั้น เพื่อเป็นแก้ไขและบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้น รวมถึงเป็นการสนองตอบนโยบายรัฐและสอดรับกับบทบาทธนาคารเพื่อสังคม ธนาคารออมสินจึงได้ออกโครงการสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือประชาชนและผู้ประกอบการ SMEs โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

1. โครงการให้สินเชื่อตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและช่วยเหลือประชาชนรายย่อย เริ่มดำเนินโครงการมาตั้งแต่เดือนเมษายน 2567 ประกอบด้วย

1.1 กลุ่มสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำภาคอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 4 มาตรการ แบ่งเป็น สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำสำหรับกลุ่มลูกค้าที่ประกอบธุรกิจภาคอสังหาริมทรัพย์รวม 2 มาตรการ ได้แก่ สินเชื่อ GSB D – Home กระตุ้นเศรษฐกิจ และสินเชื่อ GSB D – Home สร้างบ้านเพื่อคนไทย และสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำสำหรับกลุ่มประชาชนรายย่อยรวม 2 มาตรการ ได้แก่ สินเชื่อบ้านออมสินเพื่อคนไทย และสินเชื่อ Top Up

1.2 กลุ่มสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำ เพื่อบรรเทาผลกระทบและแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนด้วยการ Refinance สินเชื่อที่มีดอกเบี้ยสูงในตลาด มาใช้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำของธนาคารออมสิน ภายใต้โครงการ “สินเชื่อรีไฟแนนซ์เพื่อสังคม” จำนวน 4 มาตรการ แบ่งเป็น สินเชื่อรีไฟแนนซ์สำหรับกลุ่มลูกค้าฐานราก รวม 2 มาตรการ ได้แก่ สินเชื่อรีไฟแนนซ์สินเชื่อผู้ประกอบอาชีพอิสระ (Re-Nano) และสินเชื่อรีไฟแนนซ์สินเชื่อส่วนบุคคล (Re P-loan) และสินเชื่อรีไฟแนนซ์สำหรับกลุ่มลูกค้ารายย่อยบุคคล รวม 2 มาตรการ ได้แก่ สินเชื่อรีไฟแนนซ์หนี้บัตรเครดิต (Re-Card) และสินเชื่อรีไฟแนนซ์สินเชื่อที่อยู่อาศัย (Re-Home)

2. โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ GSB Boost Up โดยธนาคารออมสินสนับสนุนแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำวงเงิน 100,000 ล้านบาท ให้แก่สถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ ทั้งธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจในอัตราดอกเบี้ย 0.01% ต่อปี เป็นระยะเวลา 2 ปี เพื่อให้สถาบันการเงินนำไปปล่อยสินเชื่อต่อให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ในอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 3.5% ต่อปี ในระยะเวลา 2 ปี วงเงินต่อรายไม่เกิน 40 ล้านบาทรวมทุกสถาบันการเงินโดยผู้ประกอบการ SMEs ที่สนใจสามารถยื่นคำขอสินเชื่อได้ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2568 ทั้งนี้ ภายใต้วงเงินดังกล่าวธนาคารออมสินสามารถให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการโดยตรงในหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเดียวกับสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการเพื่อรองรับผู้ประกอบการ SMEs ที่ไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย

ผู้อำนวยการ สศค. กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงการคลังได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างมากในการช่วยเหลือประชาชนและผู้ประกอบการ SMEs เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชนเป็นวงกว้าง รวมถึงการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและพัฒนาศักยภาพในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ SMEs เพื่อให้เป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตได้ในระยะยาวต่อไป ทั้งนี้ คาดว่าการดำเนินโครงการดังกล่าวของธนาคารออมสินจะสามารถสร้างเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจและส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) ได้ประมาณ 0.27%

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

สำนักงานสลากฯ เริ่มขายสลากตัวเลข 3 หลัก 17 ต.ค. นี้

สำนักงานสลากฯ พร้อมขายสลากตัวเลข 3 หลัก เริ่มงวด 1 พ.ย. 2567 ใบละ 20 บาท ประเดิมตลอด 2 ล้านใบ

SCB เพิ่มบริการโอนเงินต่างประเทศ

SCB ผนึกกำลัง Thunes เพิ่มเส้นทางบริการโอนเงินต่างประเทศผ่านแอป SCB EASY โอนไวกว่า 26 ประเทศ 17 สกุลเงิน ปลายทางได้รับเงินเต็มจำนวน 

บลจ.เอ็มเอฟซี มอง “ตลาดหุ้นเกิดใหม่” น่าสนใจ

บลจ.เอ็มเอฟซี ส่อง "ตลาดหุ้นเกิดใหม่" น่าสนใจมากขึ้น รับสัญญาณ Fund Flow ไหลเข้าหลัง Fed เริ่มปรับลดดอกเบี้ยครั้งแรก 

ทีทีบี สนับสนุนผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออก

ทีทีบี สนับสนุนผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออก เตรียมพร้อมรับมือกับเศรษฐกิจ การค้าโลกและค่าเงินผันผวนในปีหน้า โดยเฉพาะตลาดในเอเชีย