คาด กนง. ลดดอกเบี้ยเหลือ 1.50% ปลายปีหน้า​

Date:

นายอมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า เปิดเผยว่า การที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ​ 5 ต่อ 2 ให้ลดอัตราดอกเบี้ยลง​ 0.25% เหลือ​ 2.25% ต่อปี​ เป็นปัจจัยหลักให้ลดน่าจะมาจากดังน้

1 ต้องเข้าใจว่าแบงก์ชาติมีเกณฑ์​ในการพิจารณา​ 3 ส่วน​ คือ​ การเติบโตทางเศรษฐกิจ​ เงินเฟ้อ​ และเสถียรภาพ​ตลาดเงิน

ในส่วนของการเติบโตทางเศรษฐกิจ​ แบงก์ชาติมองปีนี้ขยายตัวใกล้เคียงที่เคยมองไว้​ หรือโต​ 2.7% ในปี​ 2567 และ​ 2.9% ในปี​ 2568​ (มองดีขึ้นในปีนี้จาก​ 2.6% แต่ลดลงจาก​ 3.0%ปีหน้า) โดยมองเศรษฐกิจ​ไทย​มีแรงสนับสนุนจากการส่งออกและการท่องเที่ยว​ รวมทั้งมาตรการแจกเงินภาครัฐก็น่ากระตุ้น​การบริโภค

2 ส่วนเงินเฟ้อมองว่าเฉลี่ยที่​ 0.5%ปีนี้และ​ 1.2%ปีหน้า​ โดยเงินเฟ้อในระยะต่อไปน่ามาจากราคาอาหาร​ แต่เงินเฟ้อต่อไปยังต่ำจากปัญหาเชิงโครงสร้างหรือการนำเข้าสินค้าราคาถูกจากจีน​ แต่เชื่อว่าน่าเข้ากรอบล่าง​ได้​ (กรอบเงินเฟ้ออยู่ที่​ 1%-3%)

3​ ซึ่งมองว่าคณะกรรมการนโยบายการเงินให้น้ำหนักที่สุดคือเรื่องเสถียรภาพ​ตลาดเงิน​ โดยเฉพาะปัญหาหนี้ครัวเรือน​ ซึ่งตอนนี้หนี้ครัวเรือนต่อรายได้เริ่มลดลง​ หรือหนี้เริ่มชะลอลง​ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีปัญหารายได้เติบโตช้า​ สินเชื่อขยายตัวชะลอลง​ เมื่อลดดอกเบี้ยก็น่าบรรเทาภาระหนี้ได้โดยไม่น่าทำให้​ Household debt/GDP​ ขยายตัวไปอีก

นอกจากหลักเกณฑ์​ทั้งสามแล้ว​ แบงก์ชาติยังจับตาค่าเงินบาทด้วย​ เพราะบาทที่แข็งค่าจะส่งผลเสียต่อการฟื้นตัวของผู้ส่งออกและกลุ่มท่องเที่ยว​ โดยหลังเฟดลดดอกเบี้ยมา​ บาทแข็งค่าแรงมาก​ การลดดอกเบี้ยของไทยพอช่วยประคองบาทให้มีเสถียรภาพ​และอ่อนค่าได้เล็กน้อย

แม้แบงก์ชาติจะสื่อสารให้ตีความว่าลดดอกเบี้ยเพื่อช่วยบรรเทาปัญหาหนี้​ แต่ผมมองว่าทำไมทำตอนนี้​ทั้งๆที่เห็นหนี้ครัวเรือนทยอยลดได้จากสินเชื่อที่ขยายตัวต่ำ​ จึงมองว่าน่าเพราะภาครัฐไม่ได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ​ขนาดใหญ่หรือดิจิทัลวอล์เล็ตสะมากกว่า​ เพราะนั่นอาจเสี่ยงต่อเสถียรภาพ​เศรษฐกิจ​และปัญหาเงินเฟ้อ​ แต่พอลดขนาดเงินและแจกเฉพาะกลุ่มเป้าหมายได้​ ก็น่าสบายใจขึ้นจนลดดอกเบี้ยได้

นายอมรเทพ กล่าวว่า มองต่อไป​ ดอกเบี้ยขาลงเลยไหม ซึ่งแม้จะเซอร์ไพรส์​ที่ลดรอบนี้​ คิดว่าน่าลดรอบที่แล้ว​ แต่แบงก์ชาติสื่อสารเหมือนจะไม่ลดเพราะห่วงปัญหาหนี้​ เลยคิดว่าคงไว้ก่อนแล้วค่อยลดเดือนธันวา​คม​ มาตอนนี้​ มองว่าดอกเบี้ยไทยน่าปรับลดลงต่อได้​อีก​ และระดับดอกเบี้ยที่เหมาะสมกับเศรษฐกิจไทยที่ขยายตัวได้ต่ำ​ เงินเฟ้อหลุดกรอบล่าง​ สินเชื่อโตช้า​ บาทจะพลิกมาแข็ง​ และปัจจัยเชิงโครงสร้างอื่นๆ​ เช่น​ สังคมสูงวัย​ ขาดแคลนแรงงาน​ ขาดการลงทุน​ น่าเห็นดอกเบี้ยนโยบายที่​ 1.50% ปลายปีหน้า​ แต่กนง.ไม่น่าปรับลดลงในทันที​ น่าปรับลดครั้งเว้นครั้ง​ก่อนหรือเว้นช่วงเพื่อดูการปรับตัวของเศรษฐกิจ​ และประเมินผลการลดดอกเบี้ย

มองต่อไป​ น่าเห็นการประสานงานด้านเศรษฐกิจของนโยบายการเงินและการคลัง​ แต่อย่าเพิ่งกังวลว่าการเมืองแทรกแซงนะครับ​ ผมว่าแบงก์ชาติน่ามีเหตุผลและยืดหยุ่นพอ

ส่วนลดดอกเบี้ยแล้วเศรษฐกิจ​ไทย​จะฟื้นดีเลยไหม​ ขอตอบว่าไม่น่าใช่​ จริงๆแล้วผมมองด้านลบกว่าที่แบงก์ชาติมอง​ คือมองปีนี้ขยายตัวเพียง​ 2.3% ต่ำกว่า​ที่แบงก์ชาติประเมินที่​ 2.7% แม้ตัวสนับสนุนจะมาจากส่งออกและท่องเที่ยว​ แต่ที่น่าห่วงคือการบริโภคของคนรายได้น้อยได้แรงกระทบจากน้ำท่วม​ และปัญหาการลงทุนภาคเอกชนอ่อนแอ​ ตัวเลข​ MPI ติดลบต่อเนื่องและการกระทบการจ้างงานและรายได้แรงงาน​ รวมทั้งภาคการก่อสร้างยังหดตัว​ ผมรอประเมินตัวเลข​ GDP​ ไตรมาส​สามที่ทางสภาพัฒน์​จะรายงานช่วงกลางเดือนหน้า​ ว่าจะสอดคล้องกับที่แบงก์ชาติมองที่ระดับ​ 3%หรือไม่​ เพราะผมมองไว้เพียง​ 2.2%

หากเดือนหน้า​ เศรษฐกิจ​ไทยยังขยายตัวต่ำ​ มาตรการรัฐยังไม่มีการแจกเงินขนานใหญ่อย่างที่กังวล​ และเฟดลดดอกเบี้ยต่อเนื่อง​ ส่วนการเลือกตั้งสหรัฐก็ไม่มีแรงกระแทกต่อเศรษฐกิจ​โลก​ เราน่าเห็นการปรับลดดอกเบี้ยต่อเนื่องหรือการสื่อสารด้านดอกเบี้ยขาลงชัดเจนขึ้น

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

พพ.แจงภารกิจคืนพื้นที่ เกาะร้อยไร่ สำเร็จ 

พพ.แจงภารกิจคืนพื้นที่ เกาะร้อยไร่ สำเร็จ ไม่มีผู้บุกรุกเหลืออยู่ในพื้นที่อีกต่อไป ประกาศปิดพื้นที่เด็ดขาด ห้ามบุกรุกซ้ำ

“บสย. พร้อมค้ำ พร้อมช่วย” สำเร็จเกินคาด

กิจกรรมแก้หนี้เชิงรุก “บสย. พร้อมค้ำ พร้อมช่วย” สำเร็จเกินคาด ช่วย SMEs ลูกหนี้ที่ บสย. จ่ายเคลม “ปลดหนี้” สูงสุดเป็นประวัติการณ์ 

โรงไฟฟ้าบีแอลซีพี ประกาศจุดยืน “อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ”

โรงไฟฟ้าบีแอลซีพี ร่วมเวที CEO Forum ประกาศจุดยืน "อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ" สู่อนาคต Net Zero

“นายกฯแพทองธาร” เป็นสักขีพยานลงนาม FTA ไทย – ภูฏาน

“นายกฯแพทองธาร” เป็นสักขีพยานลงนาม FTA ไทย - ภูฏาน FTA ฉบับที่ 17 ของไทย เปิดตลาดใหม่สู่เอเชียใต้