หนี้ครัวเรือน เสียเพิ่มเป็น 1.16 ล้านล้านบาท

Date:

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ออกรายงาน ภาวะสังคมไทยไตรมาสสาม ปี 2567 ว่า หนี้สินครัวเรือนในไตรมาสสอง ปี 2567 ขยายตัวชะลอลง จากการปฏิเสธสินเชื่อของสถาบันการเงินที่เพิ่มขึ้น ด้านคุณภาพสินเชื่อของครัวเรือนยังคงปรับลดลงต่อเนื่อง ทั้งนี้ ยังมีประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ ได้แก่ แนวโน้มการก่อหนี้เพื่ออุปโภคบริโภคที่เพิ่มขึ้น ลูกหนี้บ้านที่มีปัญหาการผิดนัดชำระหนี้ ความเสี่ยง
ในการพึ่งพาหนี้นอกระบบของครัวเรือน และการเร่งให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ประสบปัญหาอุทกภัย

ไตรมาสสอง ปี 2567 หนี้สินครัวเรือนมีมูลค่า 16.32 ล้านล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 1.3 ชะลอลงจากร้อยละ 2.3 ในไตรมาสที่ผ่านมา ทำให้สัดส่วนหนี้ต่อ GDP ปรับลดลงจากร้อยละ 90.7 ของไตรมาสก่อน มาอยู่ที่ร้อยละ 89.6 โดยหนี้สินครัวเรือนเกือบทุกประเภทมีการปรับตัวชะลอลงหรือหดตัวยกเว้นสินเชื่อส่วนบุคคล ส่วนหนึ่งมาจากการมีภาระหนี้ที่สูง ประกอบกับคุณภาพสินเชื่อที่ปรับลดลง ทำให้สถาบันการเงินเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อ สะท้อนจากเงินให้กู้แก่ภาคครัวเรือนของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งมีสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 38.5 ของหนี้ครัวเรือนทั้งหมด มีการหดตัวเป็นครั้งแรก 

ด้านคุณภาพสินเชื่อของครัวเรือนปรับลดลงต่อเนื่อง โดยยอดคงค้างสินเชื่อบุคคลที่ค้างชำระเกิน 90 วัน (NPLs) ในฐานข้อมูลเครดิตบูโรมีมูลค่า 1.16 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนต่อสินเชื่อรวม อยู่ที่ร้อยละ 8.48 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 8.01 ของไตรมาสที่ผ่านมา เป็นการเพิ่มขึ้นในสินเชื่อทุกวัตถุประสงค์ สำหรับประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญในระยะถัดไป ได้แก่

1) แนวโน้มการก่อหนี้ในกลุ่มสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลที่เพิ่มขึ้น ในสัดส่วนเกือบ 1 ใน 3 ของหนี้ครัวเรือนทั้งหมด โดยเป็นหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูง หากครัวเรือนไม่ระมัดระวังในการก่อหนี้หรือไม่มีวินัยทางการเงิน จะนำไปสู่การติดกับดักหนี้

2) ความเสี่ยงจากการต้องหันไปพึ่งพาหนี้นอกระบบของครัวเรือน จากมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินที่เข้มงวดต่อเนื่อง โดยเฉพาะลูกหนี้ที่กู้ในระบบเต็มวงเงินแล้ว

3) แนวโน้มการผิดนัดชำระหนี้บ้านที่เร่งตัวขึ้น โดยเฉพาะบ้านที่มีวงเงินสินเชื่อต่ำกว่า 3 ล้านบาท สะท้อนให้เห็นว่า รายได้ของครัวเรือนบางกลุ่มยังไม่ฟื้นตัว และสถานะทางการเงินยังตึงตัว จากการเลือกที่จะผิดนัดชำระหนี้บ้านก่อนสินเชื่อประเภทอื่น แม้ว่าบ้านจะถือเป็นสินทรัพย์จำเป็น

และ 4) ผลกระทบของอุทกภัยต่อสภาพคล่องและความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือน ซึ่งภาครัฐอาจต้องติดตามการเข้าถึงมาตรการการช่วยเหลือของผู้ประสบอุทกภัย รวมถึงต้องเร่งฟื้นฟูสถานการณ์ให้กลับคืนสู่สภาพปกติ เพื่อให้รายได้ของครัวเรือนฟื้นตัวโดยเร็ว

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

นายกฯ เดินหน้า ล้างหนี้ประชาชน

นายกฯ ประกาศเดินหน้า 5 นโยบายหลัก “ล้างหนี้ประชาชน-บ้านเพื่อคนไทย-ทุนการศึกษา-รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย-ดิจิทัลวอลเล็ต” 

“พิชัย” ถกทูตเกาหลีใต้ เจรจา  FTA

“พิชัย” ถกทูตเกาหลีใต้ เดินหน้าเจรจา  FTA ไทย - เกาหลีใต้ ตั้งเป้าปิดดีลในปี 2568 ชวนเปิดตลาดสินค้าเกษตรไทย ดึงดูดนักลงทุนเพิ่มขึ้น

ธนาคารซีไอเอ็มบี คาด กนง. คงดอกเบี้ย 2.25%

ธนาคารซีไอเอ็มบี คาด กนง. คงดอกเบี้ย 2.25% รอประเมินผลของการลดดอกเบี้ยรอบเดือน ต.ค. ที่ผ่านมาก่อนตัดสินใจอีกครั้ง

เอกนัฏ” ชูธง ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทย สู่เศรษฐกิจใหม่

“เอกนัฏ” ชูธง ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทย สู่เศรษฐกิจใหม่ ชี้ต้องเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล