ฟินบิส โดย ทีทีบี เจาะลึกสูตรสำเร็จเอสเอ็มอีไทย

Date:

ฟินบิส โดย ทีทีบี เจาะลึกสูตรสำเร็จเอสเอ็มอีไทย รุกธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ

นางพรรณวลัย อินทราพิเชฐ หัวหน้าบริหารการตลาดลูกค้าธุรกิจ ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี กล่าวว่า แม้เศรษฐกิจไทยจะอยู่ในภาวะถดถอยจากสถานการณ์โควิด-19 แต่ภาคการส่งออกถือว่าสวนกระแส และเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ทีเอ็มบีธนชาต เห็นความสำคัญของเรื่องดังกล่าว จึงได้จัดงานสัมมนาออนไลน์ ttb SME I the X-Change “เจาะลึกสูตรสำเร็จการค้าระหว่างประเทศ เดินหน้าสู่การเป็น Smart SME ยุค Next Normal” เพื่อเสริมความรู้ด้านการค้าระหว่างประเทศให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ทำธุรกิจส่งออกโดยเฉพาะ ซึ่งได้รับเกียรติจากพันธมิตรทั้งองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้บริหารมากประสบการณ์ มาร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้แบบเจาะลึกครบทุกด้าน ทั้งด้านการบริหารธุรกิจ การตลาด และเทรนด์ของตลาดโลก พร้อมเสริมความแข็งแกร่งด้วยดิจิทัลโซลูชันทางการเงินแบบครบวงจร โดยธนาคารพร้อมเคียงข้าง ช่วยลูกค้าธุรกิจให้เดินหน้าต่อไปได้ในทุกสถานการณ์

ด้าน นางแคทรีน อมตวิวัฒน์ ผู้ร่วมก่อตั้ง และผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ บริษัท เฮด วัน ฮันเดรด จำกัด เปิดเผยถึง เคล็ดลับการเติบโตทางธุรกิจแบบก้าวกระโดด สำหรับผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออก ที่จำเป็นต้องปรับการบริหารธุรกิจด้วยมุมมองใหม่ ได้แก่ Think Ahead : คิดตอบโจทย์ล่วงหน้ามองความต้องการลูกค้าเป็นหลัก Build Brands : เสริมแกร่งแบรนด์ตนเอง และเชื่อมต่อกับผู้บริโภคให้ดียิ่งขึ้นโดยเน้นความจริงใจ Customer Direct : สื่อตรงถึงกลุ่มเป้าหมาย เข้าถึงผู้บริโภคโดยตรงให้มากที่สุด Go to Digital : ใช้ช่องทางดิจิทัลเพิ่มโอกาสสร้างการเชื่อมต่อแบบไร้ที่ติ และ Embrace the Environment : เทรนด์ผู้บริโภคปัจจุบันคาดหวังจากแบรนด์ในเรื่องของการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม

นายพรวิช ศิลาอ่อน ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์การค้าระหว่างประเทศ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ หรือ DITP กล่าวว่า การค้าระหว่างประเทศยังเป็นโอกาสสำคัญของผู้ประกอบการไทย แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาจะเกิดการระบาดของโควิด-19 แต่ภาคการส่งออกยังขยายตัวถึง 17.4% แนะนำให้ผู้ประกอบการไทยควรปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของตลาด มองตลาดใหม่ที่เฉพาะเจาะจง เข้าสู่ช่องทางออนไลน์ให้มากขึ้น รวมถึงให้ความสำคัญกับการผลิตสินค้าที่สอดรับกับแนวทาง Bio-Circular-Green Economy หรือ BCG Model ตามเทรนด์ของโลก ซึ่ง DITP พร้อมที่จะแนะนำข้อมูลผู้ประกอบการผ่าน Market Intelligence Tools ด้านต่าง ๆ รวมถึงยังมีการสนับสนุนค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ในการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ และกิจกรรมขยายตลาดในต่างประเทศอื่น ๆ ผ่านโครงการ SMEs Pro-active Program ทั้งหมดนี้เพื่อเปิดโอกาสให้นำสินค้าเข้าไปทำตลาดได้มากขึ้น และเป็นการสร้างความมั่นใจว่าผู้ประกอบการที่ร่วมโครงการจะได้พบกับคู่ค้าตัวจริงที่มีศักยภาพ และผ่านการคัดกรองมาแล้วอย่างดี

ด้าน นางสาวปิยจิต รักอริยะพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็ปเป้ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทฯ เริ่มต้นจากธุรกิจเอสเอ็มอี จำหน่ายสินค้าประเภทขนมขบเคี้ยว และได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ในกลุ่มน้ำผลไม้ที่ใช้นวัตกรรมทำให้สินค้ามีความโดดเด่นและแตกต่างในท้องตลาด รวมทั้งได้ขยายตลาดต่างประเทศ ส่งออกไปในประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้ธุรกิจเติบโตได้มากขึ้น จนปัจจุบันมีสินค้าเซ็ปเป้กว่า 10 แบรนด์สินค้า 5 กลุ่มผลิตภัณฑ์ จำหน่ายใน 98 ประเทศทั่วโลก อย่างไรก็ตาม เมื่อธุรกิจได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ทางบริษัทฯ ได้มีการปรับกลยุทธ์บริหารสต๊อกสินค้าเพื่อระบายสินค้า โดยใช้ช่องทางออนไลน์เพื่อเชื่อมต่อกับผู้บริโภคมากขึ้น พร้อมแชร์เทคนิคการบริหารธุรกิจต่างประเทศด้วยการกำหนดโมเดลธุรกิจที่เหมาะสมกับประเทศนั้น ๆ มุ่งเน้นการสร้าง Brand Awareness และกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญกับการทำธุรกรรมการเงินเพื่อปิดความเสี่ยงของค่าเงินที่มีความผันผวน เนื่องจากมีรายรับหลายสกุลเงินเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อต้นทุนของธุรกิจ

นางสาวบุษรัตน์ เบญจรงคกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี กล่าวว่า ผู้ประกอบการธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ต้องเผชิญกับความท้าทายอยู่ตลอดเวลา ทั้งสถานการณ์โลก ไม่ว่าจะเป็นสงครามรัสเซีย-ยูเครน ราคาพลังงานและค่าขนส่งที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดวิกฤตเงินเฟ้อเฉลี่ยสูงขึ้นทั่วโลกเกือบ 10% ทำให้ธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะธนาคารกลางสหรัฐฯ เดินหน้าปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งเห็นได้จากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐในปีนี้ มีการปรับ ตัวแข็งค่ามากกว่า 10% เมื่อเทียบกับตะกร้าเงินหลัก แต่ความผันผวนของค่าเงินเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการสามารถบริหารจัดการได้ หากได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องและทันท่วงที โดยธนาคารแนะนำให้มีการปิดความเสี่ยงโดยการใช้สกุลเงินท้องถิ่นทำการค้าด้วยให้มากขึ้น แต่หากทำการค้าด้วยหลายสกุลเงินแล้วจะบริหารอย่างไรให้สะดวกและมีประสิทธิภาพ ในวันนี้ ธนาคารมีโซลูชันที่อยากจะแนะนำให้ผู้ประกอบการธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ สามารถปิดความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนได้ด้วย บัญชีสำหรับบริหารหลายสกุลเงิน ทีทีบี (ttb multi-currency account) ที่สามารถบริหารจัดการ 11 สกุลเงินในบัญชีเดียวรวมสกุลเงินบาท ผ่านอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้งแบบครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นการโอนเงิน การแลกเปลี่ยนเงิน และการเรียกดูรายการเดินบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ ก็สามารถทำได้อย่างสะดวก ง่าย และรวดเร็ว ทำได้ทุกที่ ทุกเวลา โดยทีเอ็มบีธนชาต ถือว่าเป็นธนาคารแรกและธนาคารเดียว ที่พัฒนาบัญชีนี้เพื่อผู้ประกอบการนำเข้าและส่งออกโดยเฉพาะ ซึ่งผู้ส่งออกสามารถใช้บัญชีนี้บัญชีเดียวในการบริหารธุรกิจทั้งในและต่างประเทศได้เลย ผู้ประกอบการที่สนใจเปิดบัญชีสำหรับบริหารหลายสกุลเงิน ทีทีบี (ttb multi-currency account) สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ttbbank.com/pr-tradefx-apr22

สำหรับผู้สนใจรับชมสัมมนาออนไลน์ ttb SME I the X-Change “เจาะลึกสูตรสำเร็จการค้าระหว่างประเทศ เดินหน้าสู่การเป็น Smart SME ยุค Next Normal” สามารถเข้าไปชมย้อนหลังได้ที่ https://youtu.be/43p1IPCaQWc

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

“นภินทร” เพิ่มศักยภาพกาแฟไทย

“นภินทร” เพิ่มศักยภาพกาแฟไทยขึ้นทะเบียน “กาแฟระนอง - กาแฟดอยมูเซอตาก” GI น้องใหม่ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว พร้อมยกระดับกาแฟไทยสู่ตลาดสากล

“พิชัย” ถก ”ทูตสหรัฐ“ ดันการต่ออายุโครงการ GSP

“พิชัย” ถก ”ทูตสหรัฐ“ ดันการต่ออายุโครงการ GSP ชวนลงทุน Data Center และ Cloud Service เพิ่มมูลค่าการค้า ชูไทยพร้อมเป็น Food Security Hub 

ผลักดันไม้ยืนต้นสู่หลักประกันทางธุรกิจ

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ผลักดันไม้ยืนต้นสู่หลักประกันทางธุรกิจ ติวเข้มเกษตรกร จ.ราชบุรี แปลงไม้ยืนต้นเป็นเงินทุน

”พิชัย“ ปลื้ม คลีนิกแพทย์จีนหัวเฉียว-ม.หัวเฉียวฯ

”พิชัย“ ปลื้ม คลีนิกแพทย์จีนหัวเฉียว-ม.หัวเฉียวฯ จับมือ 5 สถาบันแพทย์จีนชั้นนำ เปิดนวัตกรรม AI ตรวจโรค สานสัมพันธ์การแพทย์-การค้า-ลงทุน ไทย-จีน