ธ.ก.ส. ร่วมงานมหกรรมร่วมใจแก้หนี้ พร้อมวางมาตรการดูแล

Date:

ธ.ก.ส. ผนึกกำลังกระทรวงการคลังและแบงก์ชาติเข้าร่วมงานมหกรรมร่วมใจแก้หนี้

นายธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ร่วมมือกันจัดมหกรรมร่วมใจแก้หนี้ : มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน โดย ธ.ก.ส. พร้อมผู้ให้บริการทางการเงินภาครัฐ (SFIs) และบริษัทเอกชนเข้าร่วมงานมหกรรมฯ กว่า 60 แห่ง เพื่อช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สงครามระหว่างประเทศ ค่าครองชีพที่สูงขึ้นจนนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ด้วยการให้คำปรึกษาด้านการเงิน การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ การเติมความรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพในการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ พร้อมจัดทัพผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินให้ลูกค้าเลือกสรร สำหรับลูกค้าที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม สามารถลงทะเบียนออนไลน์ผ่าน www.bot.or.th/DebtFair เพื่อเข้าร่วมงานมหกรรมร่วมใจแก้หนี้สัญจร 5 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ จังหวัดกรุงเทพมหานคร จังหวัดชลบุรี จังหวัดขอนแก่น จังหวัดสงขลาและจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งจัดโดยธนาคารกรุงไทย ธ.ก.ส. และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐอีก 6 แห่ง

นายธนารัตน์ กล่าวต่อไปว่า ธ.ก.ส. ตระหนักถึงสถานการณ์และผลกระทบต่าง ๆ ที่เกษตรกรต้องเผชิญมากว่า 2 ปี ธ.ก.ส. จึงวางมาตรการเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้าในทุกกลุ่ม เริ่มตั้งแต่การตรึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในช่วงขาขึ้นขณะนี้ออกไปให้นานที่สุด เพื่อมิให้เป็นภาระต้นทุนกับลูกค้าในช่วงการฟื้นตัว การจูงใจให้ลูกค้ารักษาประวัติการชำระหนี้ที่ดีไว้ โดยดูแลในเรื่องผลตอบแทน ทั้งอัตราดอกเบี้ยที่คิดตามชั้นลูกค้าและการคืนเงินดอกเบี้ยเพื่อแบ่งเบาภาระผ่านโครงการชำระดีมีคืน Plus จำนวน 3,000 ล้านบาทให้กับลูกค้าที่ชำระหนี้ ตั้งแต่วันนี้จนถึง 31 มีนาคม 2566 การดูแลภาระหนี้สินเดิม เพื่อลดความกังวลใจในเรื่องหนี้ เช่น การปรับปรุงโครงสร้างหนี้และการเลื่อนงวดในการชำระหนี้ผ่านมาตรการจ่ายดอกตัดต้น การไกล่เกลี่ยหนี้ การจัดทำคลินิกหมอหนี้เพื่อลดหนี้ครัวเรือน การให้คำปรึกษาด้านการจัดการหนี้ ทั้งหนี้ในและนอกระบบ การพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพในการประกอบอาชีพ เช่น การให้ความรู้ด้าน Financial Literacy/Digital Literacy การร่วมกับภาคีเครือข่ายภาครัฐเอกชน สถาบันการศึกษา ในการศึกษาดูงาน การฝึกปฏิบัติเพิ่มทักษะ ทั้งอาชีพเดิม อาชีพเสริม อาชีพใหม่ การปรับเปลี่ยนการผลิตไปปลูกพืชที่มีมูลค่าสูง การลดต้นทุนการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม การแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิต การยกระดับมาตรฐานสินค้า เป็นต้น การเติมสินเชื่อใหม่ ภายใต้อัตราดอกเบี้ยที่ผ่อนปรน เพื่อเสริมสภาพคล่องในการใช้จ่ายและการลงทุน เช่น สินเชื่อ สานฝันสร้างอาชีพ สินเชื่อนวัตกรรมดีมีเงินทุน อัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 4 สินเชื่อแฟรนไชส์ สินเชื่อ Green Credit สินเชื่อ Contract Farming อัตราดอกเบี้ย MRR สินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทย อัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 0.01 เป็นต้น การสนับสนุนช่องทางด้านการตลาดในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นตลาดในระดับท้องถิ่น ตลาด Modern trade ตลาด E-Commerce ควบคู่การสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการประกันภัยทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์เงินฝากสงเคราะห์ชีวิต กองทุนทวีสุข กองทุนเงินออมแห่งชาติ เป็นต้น เพื่อเสริมสร้างความยั่งยืนให้กับเกษตรกรและชุมชนต่อไป

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

จี้ ปตท. สอบติดตรามอก. ถังดับเพลิงรถไฟฟ้า

ปธ.กมธ.อุตสาหกรรม จี้ ปตท. ตรวจสอบบริษัทที่ติดตรา มอก. โดยไม่ได้รับอนุญาตในถังดับเพลิงรถไฟฟ้า หวั่นอาจเกิดโศกนาฏกรรมหมู่ซ้ำรถบัส

SCB EIC คาด กนง. เริ่มลดดอกเบี้ยอีกครั้งต้นปีหน้า

SCB EIC มอง กนง. จะลดดอกเบี้ยต่อเนื่องหรือไม่ ขึ้นอยู่กับภาวะการเงินเป็นหลัก คาด กนง. เริ่มลดดอกเบี้ย และมีแนวโน้มจะลดอีกครั้งต้นปีหน้า

รถโดยสารที่ใช้ก๊าซ CNG ตรวจสภาพไม่ผ่านแล้ว 68 คัน

กรมการขนส่งทางบก เผยผลการตรวจสภาพรถโดยสารที่ใช้ก๊าซ CNG ทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่  4 – 16 ตุลาคม 2567 ตรวจแล้ว 1,331 คัน ไม่ผ่านห้ามใช้ 68 คัน 

ออร์บิกซ์ เปิดตัวเหรียญสกุลเงินดิจิทัลใหม่

ออร์บิกซ์ เทรด รุกตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลปี 67 เปิดตัวเหรียญสกุลเงินดิจิทัลใหม่ในแพลตฟอร์ม orbix Trade