สร้างรอยยิ้ม (Smart Farming) เผยเคล็ดไม่ลับวิธีปลูกผักสลัด

Date:

ใครหลายคนหันไปปลูกผักสลัดไว้ทานเองที่บ้าน เพราะต้องการความปลอดภัยจากสารเคมี ไทยออยล์ได้ขอให้พันธมิตรจาก “โครงการนวัตกรรมสร้างรอยยิ้ม (Smart Farming)” มาเปิดเผยเคล็ดลับในการปลูกผักสลัดไว้รับประทานที่บ้านแบบง่ายๆ

คุณวิโรจน์ มีนะพันธ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ด้านกำกับองค์กรและกิจการสัมพันธ์ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “โครงการนวัตกรรมสร้างรอยยิ้ม (Smart Farming)” เน้นการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อยกระดับกระบวนการผลิตและการเพาะปลูก พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานไปสู่การผลิตสินค้าเกษตรวิถีใหม่ ประกอบด้วย

1.) โครงการที่ อ.บางพระ จ.ชลบุรี ภายใต้ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชประเภทผักสลัด

2.) โครงการที่เรือนจำกลาง ต.คลองกิ่ว อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี เน้นด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างอาชีพ สร้างโอกาสให้กับผู้ต้องขัง ได้ฝึกทักษะฝึกอาชีพด้านการเกษตรเพื่อให้ผู้ต้องขัง สามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพต่อได้ภายหลังการพ้นโทษ

และ 3.) โครงการที่ อ.สว่างวีระวงศ์ จ.อุบลราชธานี ตั้งเป้าหมายให้เป็นศูนย์การเรียนรู้เพาะปลูกใบบัวบก เพื่อนำมาแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มและรายได้แก่เกษตรกร

ผศ.ดร.รัตนากร กฤษณชาญดี หัวหน้าสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก เขตพื้นที่บางพระ (มทร.ตะวันออก) พันธมิตรโครงการนวัตกรรมสร้างรอยยิ้ม หรือ Smart Farming กล่าวว่า การปลูกผักไม่ใช่เรื่องยาก แต่ต้องดูแลเอาใจใส่ ถ้าทำถูกวิธีจะได้ผลผลิตที่คุ้มค่า มาดูเคล็ดไม่ลับที่ใช้ในโครงการนวัตกรรมสร้างรอยยิ้ม ในพื้นที่ชลบุรี ดังนี้

การเพาะเมล็ด

ใช้วัสดุเพาะสองแบบคือ วัสดุเพาะสำเร็จรูป (พีทมอส) และขุยมะพร้าว โดยพีทมอสนั้นสามารถนำมาใช้เพาะได้เลย แต่ขุยมะพร้าวต้องนำมาผ่านขั้นตอนการร่อนแยกเส้นใยออกด้วยตะกร้าพลาสติก จากนั้นแช่น้ำทิ้งไว้ 1 วัน ล้างทำความสะอาด 2-3 ครั้งแล้วจึงบีบขุยมะพร้าวให้หมาดใส่ลงตะกร้าพลาสติก นำเมล็ดผักสลัดที่ต้องการปลูกหว่านให้กระจายและโรยขุยมะพร้าวทับบางๆ นำไปวางในที่ร่มแดดรำไรและสเปรย์น้ำทุกวัน หลังจากเพาะ 2-3 วัน เมล็ดจะเริ่มมีรากงอกออกมา (ขึ้นกับความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ที่เลือกใช้)

การคัดเลือกต้นกล้าลงถาดเพาะ

หลังจากต้นกล้างอกจากเมล็ด 5 วัน ใบเลี้ยงคลี่เต็มที่และลำต้นตั้งตรง จะเริ่มย้ายลงถาดเพาะที่บรรจุวัสดุเพาะสำเร็จรูป (พีทมอส) ขุยมะพร้าวร่อนแช่น้ำ หรือขุยมะพร้าวร่อนแช่น้ำผสมปุ๋ยหมักในอัตราส่วน 1:0.25 โดยไม่ควรกดวัสดุเพาะแน่นจะมีผลต่อการเจริญของรากและการระบายน้ำ จากนั้นสเปรย์น้ำจนกระทั่งน้ำไหลออกจากด้านล่างถาดเพาะ ก่อนคัดเลือกให้สเปรย์น้ำให้วัสดุเพาะชุ่มแล้วจึงย้ายต้นกล้าที่มีลักษณะลำต้นแข็งแรง ใบเลี้ยงสมบูรณ์ ไม่มีโรคและแมลงเข้าทำลายลงปลูกในถาดเพาะ 1 หลุมต่อต้น เสร็จแล้วให้วางถาดเพาะไว้ที่บริเวณแดดร่มรำไรเป็นเวลา 7 วัน เมื่อครบ 7 วัน ให้วางบริเวณที่ได้รับแสงแดดเพิ่มขึ้น ในช่วงนี้ให้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพนมสดผสมน้ำอัตราส่วน 5 มิลลิลิตรต่อน้ำ 1 ลิตรทุกๆ 2 วัน

การย้ายต้นกล้าลงภาชนะปลูกหรือแปลงปลูก

หลังย้ายต้นกล้าลงถาดเพาะ 14-21 วัน (ต้นกล้าสมบูรณ์และมีใบจริง 4-5 ใบ) จะย้ายลงภาชนะปลูกที่เตรียมไว้ เช่น กระถางพลาสติกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 นิ้ว โต๊ะปลูกผัก หรือแปลงปลูก เป็นต้น กรณีปลูกในภาชนะปลูกและโต๊ะปลูกจะใช้วัสดุปลูก ดังนี้ ขุยมะพร้าว 1 ส่วน มูลสัตว์หมักผสมรำละเอียด 1 ส่วน แกลบดิบหมัก ½ ส่วน ผสมให้เข้ากันแล้วกรอกลงภาชนะปลูก รดน้ำผสมเชื้อจุลินทรีย์ไตรโคเดอร์มา (Trichoderma sp.) เช่นเดียวกับบนโต๊ะปลูกและแปลง จากนั้นจึงย้ายต้นกล้าลงปลูก 1 ต้นต่อกระถาง ถ้าปลูกบนโต๊ะปลูกหรือแปลงจะใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 20 เซนติเมตร และระยะระหว่างแถว 25 เซนติเมตร (1 หลุมต่อต้น) หลังย้ายต้นกล้าเสร็จก็รดน้ำให้ชุ่ม แต่อย่าให้แฉะเกินไป เพราะจะทำให้ต้นกล้าเกิดโรครากเน่าได้

การดูแลหลังย้ายปลูกในภาชนะปลูก

หลังจากย้ายต้นกล้าลงภาชนะปลูกหรือแปลง 7 วัน จะให้น้ำหมักชีวภาพนมสด (ฮอร์โมนนม) หรือน้ำหมักชีวภาพไข่ (ฮอร์โมนไข่) อัตราส่วน 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 1 ลิตรทุก 3 วัน และให้ปุ๋ยมูลสัตว์หมักผสมรำละเอียดทุก 15 วัน จนกระทั่งเก็บเกี่ยว ในช่วงนี้ถ้าพบการเข้าทำลายของโรคหรือแมลงศัตรูพืชสามารถใช้สารชีวภัณฑ์ในการกำจัดได้ เช่น จุลินทรีย์ Trichoderma spp., Metarhizium anisopliae., Beauveria bassiana เป็นต้น นอกจากการใช้สารชีวภัณฑ์ สามารถใช้กับดักแมลง น้ำหมักสมุนไพรต่างๆ ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการไล่และป้องกันการเข้าทำลายของแมลงศัตรูพืชอีกทางหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ควรใช้น้ำหมักสมุนไพรที่มีรสขม หรือเผ็ดร้อนในช่วงใกล้เก็บผลผลิตเพราะอาจจะส่งต่อคุณภาพของผลผลิตได้

การเก็บเกี่ยวผลผลิต

หลังจากย้ายปลูกลงภาชนะปลูก 30-45 วัน สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้โดยการตัดลำต้นเหนือดินประมาณ 3 เซนติเมตร ล้างทำความสะอาดและวางบนตะแกรงก่อนบรรจุใส่ถุงพลาสติกเก็บไว้รับประทานหรือจำหน่าย หรืออีกทางหนึ่งถ้าปลูกไว้ทานเองภายในครอบครัวสามารถเด็ดใบโตเต็มที่ (ใบด้านล่าง) นำมารับประทาน จนกว่าต้นจะเริ่มเข้าสู่ระยะออกดอกเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ซึ่งในช่วงที่เหมาะสมต่อการเก็บเกี่ยวผลผลิตอยู่ในช่วง 06.00-08.30 น.

จากเคล็ดไม่ลับง่ายๆ เพียงเท่านี้ สามารถปลูกผักสลัดที่มีคุณภาพไว้รับประทานเองที่บ้านหรือเป็นรายได้เสริม ให้ได้ลองนำไปปรับใช้กันที่บ้านได้แบบสบายๆ หรือจะติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่เพจ Facebook สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก (มทร.ตะวันออก)

Share post:

spot_img

Related articles

ก.ล.ต. ฟันบิ๊ก NUSA 6 ราย ฟ้อง DSI กรณีทุจริตบริษัท

ก.ล.ต. กล่าวโทษกรรมการ อดีตกรรมการและผู้บริหาร NUSA กับพวก รวม 6 ราย ต่อ DSI กรณีทุจริตและการแสดงเอกสารและข้อมูลเท็จ พร้อมส่งเรื่องต่อ ปปง.

ธปท. ไม่ลดดอกเบี้ย ตามเฟด

“เศรษฐพุฒิ” บอก กนง. ไม่ลดดอกเบี้ยตามเฟด ดูเรื่องศก.โต กรอบเงินเฟ้อ และเสถียรภาพการเงินเป็นหลัก

จับตาผลกระทบจากน้ำท่วม ทำเศรษฐกิจไทยชะลอ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คงประมาณการจีดีพีปี 2567 ไว้ที่ 2.6% จับตาผลกระทบเฉพาะหน้าจากปัญหาน้ำท่วม และเศรษฐกิจหลักชะลอตัว

ออมสิน ออกคลิป เตือนระวังถูกมิจฉาชีพหลอกเอาเงิน

ออมสิน ออกคลิป เตือนระวังถูกมิจฉาชีพหลอกเอาเงิน อย่ารับเบอร์แปลก อย่ากดลิงก์ที่ไม่รู้จัก

Notice: ob_end_flush(): Failed to send buffer of zlib output compression (0) in /home/ozapeumy/public_html/wp-includes/functions.php on line 5427