เจาะลึก “ฮูเวอร์อุตสาหกรรม” ผู้นำธุรกิจบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง

Date:

ฮูเวอร์อุตสาหกรรม (ประเทศไทย) แสดงศักยภาพโรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชี้จุดเปลี่ยนตลาดเครื่องสำอางไทย เร่งปรับตัวแก้โจทย์โกยฐานลูกค้า SME พร้อมเร่งยกระดับนวัตกรรมสร้างสินค้าไอเดียเฉพาะ ภายใต้วัตถุดิบรักษ์โลก ต่อยอดสู่การแข่งขันท้าทายคู่แข่งในตลาดบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางโลก

นายเอนก เขมพาณิชย์กุล Design Director บริษัท ฮูเวอร์อุตสาหกรรม (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงภาพรวมของ ‘Thai Hoover Industry’ ว่า ฮูเวอร์อุตสาหกรรมเป็นโรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางกลุ่ม Color cosmetics ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อตั้งมาประมาณ 40 ปี โดยรับเอาองค์ความรู้และเทคโนโลยีมาจากพาร์ทเนอร์จากประเทศญี่ปุ่น ทำให้ฮูเวอร์อุตสาหกรรมสามารถผลิตบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางได้แบบครบวงจร ตั้งแต่เริ่มรับวัตถุดิบ (Raw Materials) ทั้งในกลุ่มพลาสติก และวัตถุดิบที่เป็นจุดแข็งของบริษัทฯ อย่างอะลูมิเนียม ก่อนนำเข้าสู่กระบวนการผลิต จนออกเป็น Finished Goods นำส่งให้ลูกค้าในไทยและต่างประเทศ รวมถึงลูกค้า Global Brand อาทิ Yves Saint Laurent, Dior, Givenchy ฯลฯ

แต่เดิม ฮูเวอร์อุตสาหกรรม มีกลุ่มลูกค้าหลักอยู่ 2 กลุ่ม คือลูกค้าในประเทศและลูกค้าต่างประเทศ ในสัดส่วนเท่า ๆ กันที่ร้อยละ 50:50 แต่ในช่วง 5 ปีหลังก่อนเกิดสถานการณ์โควิด คือช่วงที่ฐานลูกค้าในประเทศของฮูเวอร์อุตสาหกรรม เริ่มมีจำนวนลดลง แต่ก็ถูกชดเชยด้วยจำนวนลูกค้าต่างประเทศที่มีมากขึ้น โดยเฉพาะลูกค้าจากประเทศฝรั่งเศสและญี่ปุ่น ที่เข้ามาแทนที่ด้วยสัดส่วนราว 70-80%

นายเอนก เผยว่าผลกระทบที่เกิดจากสถานการณ์โควิด คือการที่ End-user ลดการใช้เครื่องสำอาง จนลูกค้าต้องชะลอการผลิต แต่ผลกระทบหลักที่เกิดกับฮูเวอร์อุตสาหกรรม รวมถึงโรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางทั่วประเทศ เกิดมาจากปัญหาที่สะสมมานานของโครงสร้างธุรกิจเครื่องสำอางไทย

“เมื่อ 10 ปีก่อน ตลาดเครื่องสำอางไทยแข่งขันกันด้วยผู้เล่นหลักไม่กี่เจ้า ที่มีทั้งกำลังการผลิตและกำลังการซื้อ แต่ในระยะหลังที่ออนไลน์เข้ามามีบทบาทมากขึ้น ตลาดเครื่องสำอางเกิดผู้เล่นใหม่อย่างกลุ่ม SME ที่มีแนวทางการทำธุรกิจต่างจากเจ้าใหญ่ โดยเฉพาะเรื่องทุนทรัพย์ในการลงทุน ซึ่งลูกค้า SME ไม่สามารถสั่งซื้อบรรจุภัณฑ์ในจำนวนขั้นต่ำ (MOQ) ของโรงงานได้ ข้อจำกัดนี้คือผลกระทบเสียหายต่อทั้ง 2 ฝ่าย คือฝั่ง SME จะไม่ได้ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ Custom ได้เองตามต้องการ ส่วนฝั่งโรงงานจะมีสัดส่วนลูกค้าในประเทศหายไป และอาจหมายถึง Margin จำนวนมากที่หายตามไปด้วย”

ความเปลี่ยนแปลงของตลาดเครื่องสำอาง ถือเป็นโจทย์ท้าทายที่ ฮูเวอร์อุตสาหกรรม ต้องปรับตัวในการเร่งดึงฐานกลุ่ม SME เพิ่มสัดส่วนลูกค้าในประเทศไทย รวมถึงการเพิ่มศักยภาพบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง เพื่อรักษาฐานลูกค้าเจ้าใหญ่ พร้อมสร้างความเป็นนวัตกรรมเพื่อยกระดับการแข่งขันกับโรงงานบรรจุภัณฑ์ในระดับ Global

“เราพยายามสร้างการเข้าถึงลูกค้า SME ด้วยวิธีที่แตกต่างจากในอดีต เพราะหลัก ๆ แล้ว บรรจุภัณฑ์คือปัจจัยท้าย ๆ ที่กลุ่ม SME จะนึกถึงในตอนสร้างแบรนด์ จึงเป็นเรื่องยากมากที่เขาจะรู้จักกับโรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์ นั่นทำให้งาน Exhibition หรืองานแสดงสินค้าลักษณะ B2B กลายเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์ในการเข้าถึงคู่ค้าใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็น SME หรือซัพพลายเออร์ และเรายังมองถึงข้อดีในการได้เจาะไปในกลุ่มโรงงานใส่เนื้อหรือ Filling Company ที่มีจำนวนเกิดใหม่ไม่น้อยกว่ากลุ่ม SME เพื่อสร้างโอกาสการเป็นพาร์ทเนอร์ร่วมกันในอนาคต”

อีกสิ่งที่ ฮูเวอร์อุตสาหกรรม ได้เร่งปรับตัว คือการสร้างสินค้าใหม่ ๆ และสิ่งที่เป็นนวัตกรรมที่แตกต่างจากในตลาด ด้วยการนำ Know-how จากองค์ความรู้และเทคโนโลยีมาผนวกกับงานดีไซน์และวิศวกรรม เพื่อออกแบบสินค้า Unique ที่มีความเฉพาะตัว และมีความสามารถแข่งขันกับคู่แข่งระดับโลกได้ ประกอบกับอีกจุดแข็งของฮูเวอร์อุตสาหกรรม ในการโฟกัสถึงนโยบายผลิตภัณฑ์รีไซเคิล ด้วยการนำ ECO Materials มาใช้เป็นวัตถุดิบในการทำบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง

“ไทยฮูเวอร์ เป็นโรงงานที่ใช้พลาสติกค่อนข้างเยอะ” นายเอนก กล่าว “ด้วยความที่เทรนด์สิ่งแวดล้อมเป็นเทรนด์ที่ทุกอุตสาหกรรมทำกัน วิธีที่ดีที่สุดในการรับผิดชอบพลาสติกของเราคือการไม่กำจัด ไม่ทำลาย แต่นำกลับมาใช้ใหม่ด้วยวิธีการรีไซเคิล โดยนำ Post-consumer Recycled หรือพลาสติกบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางที่ End-user ใช้แล้วทิ้ง มาผ่านกระบวนการแปรรูปเป็นเม็ดพลาสติกส่งกลับมายังโรงงาน ซึ่งในภาคนโยบายที่เราทำร่วมกับลูกค้ากลุ่มยุโรป จะมีระบุไว้ชัดเจนว่าทุกบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตและส่งขาย จะต้องมีวัตถุดิบ Post-consumer Recycled รวมอยู่กี่เปอร์เซ็นต์”

นอกจากการนำพลาสติกรีไซเคิลมาเป็นวัตถุดิบในบรรจุภัณฑ์แล้ว ฮูเวอร์อุตสาหกรรม ยังมองไปถึงการใช้วัสดุที่มีผลดีต่อโลกไปอีกระดับ ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบลักษณะของ ECO Base อาทิ พลาสติกที่ไม่ได้มาจากปิโตรเลียม แต่มาจากพืช แกลบ หรือข้าวโพด รวมถึงพลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ (Biodegradable Plastic) สร้างบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางที่เป็น Industrial Compost คือจะไม่ย่อยสลายในขณะที่ใช้งาน แต่จะเริ่มย่อยสลายในพื้นที่ที่มีองค์ประกอบทางจุลินทรีย์ อุณหภูมิ และความชื้นที่เหมาะสม

Share post:

spot_img

Related articles

แนะรัฐบาลขึ้นภาษี VAT พาเศรษฐกิจพ้นหายนะ 

อดีต รมว.คลัง แนะรัฐบาลใหม่ขึ้นภาษี VAT เพิ่มรายได้ประเทศแสนล้าน พาเศรษฐกิจพ้นหายนะ

ครม.สืบสันดาน ถูกต้องเหมาะสมแล้ว

“นายเทพไท เสนพงศ์” บอก ครม.สืบสันดาน ถูกต้องเหมาะสมแล้ว

รัฐบาลอุ๊งอิ๊ง จะรอดข้ามปีมั้ย???

“นายเทพไท เสนพงศ์” ตั้งข้อสังเกต รัฐบาลอุ๊งอิ๊ง จะรอดข้ามปีมั้ย???

ทีทีบี ออกมาตรการสินเชื่อช่วยเหลือลูกค้าน้ำท่วม

ทีทีบี ออกมาตรการ “ตั้งหลัก” ช่วยเหลือลูกค้าสินเชื่อที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ปรับโครงสร้างหนี้ และขยายเวลาผ่อนชำระนานสูงสุด 6 เดือน

Notice: ob_end_flush(): Failed to send buffer of zlib output compression (0) in /home/ozapeumy/public_html/wp-includes/functions.php on line 5427