กรมการขนส่งทางราง ติดตามสาเหตุ รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ขัดข้อง

Date:

ดร.พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดี กรมการขนส่งทางราง และเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางรางลงพื้นที่ติดตามวิเคราะห์หาสาเหตุ และการแก้ไขปัญหาการเดินรถ เนื่องจากเหตุแผ่นเหล็ก (finger plate) พร้อมทั้งชิ้นส่วนอุปกรณ์ยึดรางนำไฟฟ้าร่วงลงสู่พื้นด้านล่าง และส่งผลให้รางนำไฟฟ้า (conductor rail) ของรถไฟฟ้าสายสีเหลืองหลุดร่วงด้านในค้างอยู่ด้านบนทางเดินยกระดับ (walkway)  ระหว่างสถานีกลันตัน(YL12) ถึงสถานีศรีอุดม (YL16) เมื่อเวลา 08.30 น. ของวันที่ 28 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา โดยบริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (EBM) ผู้ให้บริการเดินรถไฟฟ้าได้ปรับการบริการเดินรถไฟฟ้าแบบไม่เต็มรูปแบบ ดังนี้ 

• สถานีลาดพร้าว (YL01) – สถานีหัวหมาก (YL11) เดินรถปกติ และมีความถี่ในการเดินรถ 

10 นาที/ขบวน และช่วงเวลาเร่งด่วน 5 นาที/ขบวน

และ• สถานีศรีเอี่ยม (YL17) – สถานีสำโรง (YL23)  เดินรถปกติ และความถี่ในการเดินรถ 

10 นาที/ขบวน 

ส่วนช่วงสถานีหัวหมาก (YL11) – สถานีศรีเอี่ยม (YL17) ความถี่ในการเดินรถ 25 นาที/ขบวน 

โดยผู้โดยสารเปลี่ยนถ่ายขบวนรถไฟฟ้าที่สถานีศรีเอี่ยมและสถานีหัวหมาก ซึ่งจะทำให้ผู้โดยสารที่เดินทางช่วงสถานีหัวหมาก (YL11) – สถานีศรีเอี่ยม (YL17) ต้องรอขบวนรถนานกว่าปกติ  

ทั้งนี้ กรมการขนส่งทางราง ขอให้ ผู้โดยสารกรุณาเผื่อเวลาในการเดินทาง โดยผู้โดยสารสามารถติดตามเวลาขบวนรถไฟฟ้าที่สถานีต่างๆ ผ่านแอพพลิเคชั่น THE SKYTRAINS   และหากมีการเปลี่ยนแปลง เรื่องเส้นทางการให้บริการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง จะแจ้งให้ทราบต่อไป  พร้อมทั้งปรับลดค่าโดยสารร้อยละ 20 จนกว่าจะเดินรถได้ตามปกติ  

ดร.พิเชฐ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการลงพื้นที่ พบว่า น๊อตที่ยึดแผ่น (finger plate) บริเวณรอยต่อรองรับการขยายตัวเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ (expansion joint) ของคานทางวิ่ง (guideway beam) หลุดและขาดออกจากตำแหน่งที่ติดตั้ง ระหว่างสถานีสวนหลวง ร.9(YL15) กับสถานีศรีอุดม (YL16) ฝั่งทิศทางมุ่งหน้าปลายทางสถานีสำโรง (YL23) ส่งผลให้ แผ่นเหล็ก (finger plate) ดังกล่าวหล่นลงมาที่พื้นด้านล่าง จำนวน 1 ชิ้น

ทั้งนี้ กรมการขนส่งทางรางได้เน้นย้ำให้ EBM ตรวจสอบสภาพการขันทอร์คของน๊อตที่ยึด แผ่นเหล็ก (finger plate) บริเวณ expansion joint ของคานทางวิ่ง (guideway beam) ทั้งหมด พร้อมทั้งพิจารณาเปลี่ยนน๊อตบริเวณดังกล่าวทั้งหมดตลอดเส้นทาง และพิจารณาติดตั้งอุปกรณ์ยึดรางนำไฟฟ้าให้มีความมั่นคงแข็งแรง และอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน   พร้อมทั้งดำเนินการเคลื่อนย้ายรถไฟฟ้าที่ยังคงติดค้างระหว่างสถานีบนเส้นทาง และติดตั้งรางนำไฟฟ้าให้กลับมาอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานโดยเร็ว ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2-3  เดือน และเพิ่มความถี่ในการตรวจสอบบริเวณ  expansion joint เพื่อสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยแก่ผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าต่อไป

Share post:

spot_img

Related articles

AIS เตรียมออกหุ้นกู้เพื่อความยั่งยืนครั้งแรก ในอุตฯ โทรคมนาคมไทย

AIS เตรียมออกหุ้นกู้เพื่อความยั่งยืนครั้งแรกในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย เสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ชูอันดับความน่าเชื่อถือระดับ “AAA(tha)”

บิ๊กข้าราชการเกษียณ ตั้งพรรคเจ๊งทุกราย

“เทพไท เสนพงศ์” บิ๊กข้าราชการเกษียณ ตั้งพรรคเจ๊งทุกราย

ttb analytics คาดธุรกิจโรงแรมปี 67 รายได้แตะ 3.70 แสนล้านบาท

ttb analytics มองรายได้ธุรกิจโรงแรมปี 2567 เพิ่มแตะ 3.70 แสนล้านบาท บนความเปราะบางของการเติบโตแบบไม่สมมาตร

คลังแจงพร้อมจ่ายเงินหมื่นกลุ่มเปราะบาง

คลังแจงพร้อมจ่ายเงินหมื่นกลุ่มเปราะบาง แนะแนวทางการรับเงินละเอียด 1.4 แสนล้านบาท

Notice: ob_end_flush(): Failed to send buffer of zlib output compression (0) in /home/ozapeumy/public_html/wp-includes/functions.php on line 5427