บุหรี่ไฟฟ้า ยังไม่ได้ข้อสรุปในการประชุม WHO FCTC COP10

Date:

ในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก (Conference of the Parties to Framework Convention on Tobacco Control) หรือ WHO FCTC COP 10  ซึ่งเป็นการประชุมที่ประเทศสมาชิกควรจะเริ่มเข้ามาจัดการกับผลิตภัณฑ์ยาสูบทางเลือกใหม่ๆ ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับหลักการลดอันตรายจากยาสูบกังวลว่าจะมีการเสนอแนะให้ใช้ข้อบังคับที่เข้มงวดกับผลิตภัณฑ์เหล่านี้ แต่ในที่สุดการประชุมก็ยังไม่สามารถหาข้อยุติเกี่ยวกับ บุหรี่ไฟฟ้า ประเด็นนี้ได้

WHO FCTC โน้มน้าวให้มีการใช้ ‘การตัดสินใจครั้งประวัติศาสตร์’ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยาสูบทั่วโลก ในการประชุม COP10 ที่จัดขึ้นที่ปานามาเมื่อเดือนก่อน ทว่า สำนักเลขาธิการได้แจ้งต่อ TobaccoIntelligence ว่า “ไม่มีการตัดสินใจที่จำเพาะเจาะจงเกิดขึ้นในการประชุม COP10 ในเรื่องของผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบใช้ความร้อน (Heated Tobacco Products: HTPs) หรือระบบนำส่งนิโคตินและไร้นิโคติน (Non-nicotine Delivery Systems: ENDs and ENNDs) หรือที่รู้จักในนาม บุหรี่ไฟฟ้า หรืออุตสาหกรรมที่ผลิตผลิตภัณฑ์ดังกล่าว”

หลังการประชุม WHO FCTC ได้ออกแถลงการณ์อธิบายว่า ในระหว่างการประชุม COP10 ได้มีการตัดสินใจบังคับใช้มาตรา 18 ซึ่งกล่าวถึงผลกระทบของอุตสาหกรรมยาสูบต่อสิ่งแวดล้อม โดยองค์การ WHO ได้กล่าวว่าเหตุการณ์ดังกล่าว “จบลงด้วยการตัดสินใจในกว้างๆว่าจะปกป้องสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของผู้คนทั่วโลกจากภัยของยาสูบ”

นอกจากนี้ยังเสริมว่าภาคีสมาชิก กว่า 142 ภาคีที่เกี่ยวข้องและเข้าร่วมการประชุมถูกร้องขอให้ “คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการเพาะปลูก ผลิต บริโภค และกำจัดของเสียจากผลิตภัณฑ์ยาสูบ รวมถึงเพิ่มความเข้มแข็งในการบังคับใช้มาตราดังกล่าวผ่านนโยบายระดับชาติที่เกี่ยวข้องกับยาสูบและการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม”

การใช้ถ้อยคำที่ไม่ชัดเจนในคำแถลงดังกล่าวทำให้เกิดคำถามในกลุ่มผู้สนับสนุนผลิตภัณฑ์ยาสูบทางเลือกและกลุ่มสนับสนุนหลักการลดอันตรายนานาชาติ ซึ่งหลายคนถูกกีดกันจากการเข้าร่วมการประชุม COP10 ที่ซึ่งการตัดสินใจจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรม

บุหรี่ไฟฟ้า การตัดสินใจที่อาจส่งผลกระทบต่อผู้ที่ไม่มีปากเสียง

Carmen Escrig แพทย์และผู้สนับสนุนหลักการลดอันตรายจากยาสูบ ได้กล่าวว่า “ไม่อาจทราบได้ถึงผลที่ตามมาจากการตัดสินใจของ COP10 ต่ออุตสาหกรรม เนื่องจากพฤติกรรมของผู้จัดงานที่กีดกันไม่ให้สมาชิกในอุตสาหกรรมจำนวนมากเข้าร่วม” 

“การอภิปรายถกเถียงกันถือเป็นหลักสำคัญในทางวิทยาศาสตร์ และการไม่ให้ผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมเข้าร่วม จะนำมาซึ่งการตัดสินใจที่ไม่สะท้อนมุมมองของทุกฝ่าย เช่น หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนการลดอันตรายจากยาสูบ”

สำนักเลขาธิการอนุสัญญาบอกกับ TobaccoIntelligence ว่า การตัดสินใจหลายครั้งในการประชุม COP10 “เป็นการอ้างอิงโดยตรงหรือโดยอ้อมถึงผลิตภัณฑ์ยาสูบและนิโคตินรูปแบบใหม่ รวมถึง HTPs และ ENDS/ENNDS และอุตสาหกรรมที่ผลิตผลิตภัณฑ์ดังกล่าว” แต่ไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับข้อผูกพันใหม่ระหว่างประเทศใดๆ ที่จะส่งผลกระทบทางตรงหรือโดยทันทีต่อภาคอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อนหรือบุหรี่ไฟฟ้าเกิดขึ้น 

นอกจากนี้ยังระบุว่า การตัดสินใจในการประชุม COP ครั้งก่อน “ยังคงมีความเกี่ยวข้อง” เมื่อนำไปใช้กับ HTPs และบุหรี่ไฟฟ้า รวมถึงการตัดสินใจครั้งก่อนที่จะนับรวม HTPs เป็นผลิตภัณฑ์ยาสูบ ซึ่งส่งผลให้อยู่ภายใต้บทบัญญัติของ WHO FCTC ตลอดจนการสนับสนุนของประเทศสมาชิกในการบังคับใช้กฎระเบียบ “เพื่อห้ามหรือจำกัดการผลิต การนำเข้า การจำหน่าย การนำเสนอ การขาย และการใช้ ENDS/ENNDS ตามความเหมาะสมกับกฎหมายของแต่ละประเทศและวัตถุประสงค์ด้านสาธารณสุข”

ในภูมิภาคอาเซียน ประเทศฟิลิปปินส์ได้มีการบังคับใช้กฎหมายเพื่อควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบทางเลือกให้ถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ขณะที่บางประเทศ เช่น มาเลเซีย และประเทศไทย ก็กำลังดำเนินการพิจารณา ในส่วนของประเทศไทยได้มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาผลประโยชน์ของการมีกฎหมายควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าเพื่อให้เหมาะสมกับบริบทความเป็นจริงในประเทศ ซึ่งผลการประชุม FCTC COP10 ครั้งนี้คงทำให้คณะกรรมาธิการฯ และรัฐบาลไทยเห็นแล้วว่าองค์การอนามัยโลกเองก็ยังไม่สามารถหาฉันทามติที่จะห้ามการใช้ ห้ามการจำหน่าย ห้ามการนำเข้า อย่างเช่นที่ประเทศไทยดำเนินการอยู่ได้

เรียบเรียงจาก Source:  No ‘historic decisions’ made on heated tobacco products or e-cigarettes at COP10 – TobaccoIntelligence

Share post:

spot_img

Related articles

แฉขบวนการค้าบุหรี่เถื่อน ตบตาเจ้าหน้าที่

สมาคมการค้ายาสูบไทย แฉขบวนการค้าบุหรี่เถื่อนเปิดร้านส่งพัสดุเอกชนบังหน้า รับออเดอร์ผ่านช่องทางออนไลน์กระจายทั่วประเทศตบตาเจ้าหน้าที่

EXIM BANK เสนอขาย Blue Bond สกุลบาท 

EXIM BANK เสนอขาย Blue Bond สกุลบาทครั้งแรก ระดมทุนสนับสนุนธุรกิจอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและ Blue Economy พัฒนาระบบนิเวศที่ยั่งยืนและสังคมคาร์บอนต่ำ

ยอดผลิต รถยนต์ เดือนมิถุนายน 2567 วูบ 20%

ปรับเป้าผลิตรถยนต์ลง 2 แสนคัน หลังยอด ยอดผลิตรถยนต์เดือนมิถุนายน 2567 วูบ 20%

ได้เวลาปลุกปั้น อาหารไทย ให้อิ่มนี้ มีอิทธิพล

แนะไทยควรให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนา Soft power ด้านอาหาร ที่สามารถเชื่อมโยงให้เติบโตไปกับเทรนด์อาหารแห่งโลกอนาคต

Notice: ob_end_flush(): Failed to send buffer of zlib output compression (0) in /home/ozapeumy/public_html/wp-includes/functions.php on line 5427