หวั่น แรงงานพม่า 3 แสนคนหลุดจากระบบ

Date:

เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2567 เครือข่ายองค์กรประชากรข้ามชาติ ร่วมกับมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา ได้สังหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และอธิบดีกรมการจัดหางานเพื่อแสดงความกังวลใจและข้อเสนอในการแก้ไขปัญหาเชิงนโยบาย กรณีเอกสารแรงงานข้ามชาติและการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ โดยเนื้อหาบางส่วนระบุว่า    สถานการณ์ต่อเนื่องการระบาดของโรคโควิด-19 ที่มีผลให้เกิดการปิดด่านชายแดนไทย-พม่า และสถานการณ์การรัฐประหารในประเทศเมียนมา วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 และความรุนแรงด้านการสู้รบในพื้นที่ชายแดน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานการณ์การสู้รบที่จังหวัดเมียวดีเดือนเมษายน 2567 ที่ผ่านมา ไม่มีทีท่าว่าจะทุเลาลง ส่งผลต่อการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ ที่มีผลกระทบต่อผู้ประกอบการ และแรงงานข้ามชาติอย่างต่อเนื่อง

หนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรงแรงงานระบุว่า เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2567 มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา เครือข่ายประชากรข้ามชาติ  ผู้แทนสภาอุตสาหกรรม ผู้แทนจัดหางานจังหวัดตาก ตัวแทนแรงงาน ภาคประชาสังคม  ได้มีเวทีแลกเปลี่ยน เพื่อในการจัดทำข้อเสนอระบบการจ้างงานภายใต้การทบทวนการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ โดยมีข้อกังวลใจดังนี้ 1.แรงงานข้ามชาติจำนวนมากกำลังหลุดออกจากระบบ ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเป็นแรงงานที่ผิดกฎหมาย และเสี่ยงที่จะเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์และการใช้แรงงานบังคับ 

2.มีความเสี่ยงที่จะเกิดช่องว่างการบริหารจัดการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเอื้อประโยชน์ให้เกิดเอกสารการคุ้มครองภายใต้ระบบการคอรัปชั่น 3.แรงงานไม่สามารถดำเนินการจัดทำเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of Identity : CI) ที่ศูนย์จัดทำเอกสารศูนย์บริหารจัดการการทำงานของแรงงานเมียนมาแบบเบ็ดเสร็จ ที่จังหวัดสมุทรสาคร ได้ทันตามกรอบระยะเวลาที่   มติคณะรัฐมนตรีกำหนด วันที่ 31 ตุลาคม 2567 โดยศักยภาพการให้บริการศูนย์ยังมีความไม่สอดคล้องกับจำนวนแรงงานที่ยังตกค้าง 

4.เสถียรภาพในการจัดการด้านเอกสารประจำตัวแรงงานของประเทศต้นทางที่ไม่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปิดศูนย์บริหารจัดการการทำงานของแรงงานเมียนมาแบบเบ็ดเสร็จ ในขณะที่ยังมีจำนวนแรงงานที่ยังตกค้างอยู่จำนวนมาก และระยะเวลาตามมติคณะรัฐมนตรีกำหนดก่อนเวลา4 เดือน 5.อัตรากำลังแรงงานขาดแคลน ซึ่งจะส่งผลต่อผู้ประกอบการที่ใช้แรงงานข้ามชาติในธุรกิจ 6.ความเสี่ยงเรื่องการถูกหลอกจากกระบวนการจัดหางาน พบว่ามีการจ่ายเงินให้นายหน้าดำเนินการให้ แต่เมื่อกระบวนการไม่ผ่านหรือติดขัดก็ไม่ได้รับเงินคืน ไม่มีการรับรองหรือยันยันได้ว่าแรงงานจะได้เอกสารตามที่นายหน้าชี้แจงไว้ในประเทศต้นทาง บางกรณีภายหลังที่เข้ามาทำงานพบว่า ประเภทงานที่ทำไม่ตรงตามสัญญา 

เครือข่ายองค์กรประชากรข้ามชาติ และมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา ได้เสนอแนะดังนี้ 1.พิจารณาการบริหารจัดการในการขึ้นทะเบียนแรงงานรูปแบบศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service ) 2.พิจารณาการบริหารจัดการแรงงานฝ่ายเดียวในช่วงที่ประเทศเมียนมาอยู่ในสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมือง  เพื่อการบริหารจัดการแรงงานที่หมุนเวียนอยู่ในระบบประมาณ 3,000,000 คน โดยลดความเสี่ยงจากการหลุดออกจากระบบ 3.พิจารณาการนำเข้าแรงงานระบบMOUในช่วงที่ประเทศเมียนมาขาดเสถียรภาพในการบริหารจัดการทั้งนี้เพื่อป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์ด้านแรงงาน ที่จะถูกเป็นเหยื่อจากการค้ามนุษย์และแรงงานบังคับ 

4.พิจารณาการขึ้นทะเบียนโดยบริหารจัดการด้วยบัตรสีชมพู ในช่วงระหว่างที่สถานการณ์ประเทศเมียนมา ขาดเสถียรภาพในการบริหารจัดการ โดยเป็นการเสนอสถานการณ์พิเศษ ซึ่งเคยถูกพิจารณาแล้วในปี 2558 โดยพิจารณาระยะเวลา 2 ปี เพื่อประเมินสถานการณ์ 5.ขอให้กระทรวงแรงงานมีการพิจารณาตามสถานการณ์และความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากอัตรากำลังและประเภทงานที่เข้ามาทดแทนประเภทงานที่ผู้ประกอบการต้องการใช้กำลังแรงงานข้ามชาติในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ 

นายอดิศร เกิดมงคล ผู้ประสานงาน เครือข่ายองค์กรประชากรข้ามชาติ กล่าวว่า  แรงงานพม่าที่จดทะเบียนตามมติคณะรัฐมนตรีร่วม 3 แสนคนเสี่ยงหลุดจากระบบภายในสิ้นตุลาคม 2567 เพราะปัญหาเรื่องการทำเอกสาร CI ของเมียนมา ส่วนหนึ่งหลุดเพราะเป็นชนกลุ่มน้อย หรือถูกสงสัยว่ามีบทบาทการเคลื่อนไหวทางการเมืองในช่วงที่ผ่านมา ขณะที่อีกส่วนหนึ่งเข้าไม่ถึงเพราะระบบการทำเอกสารมีความยุ่งยากล่าช้า ซึ่งทางการเมียนมากับกรมการจัดหางาน ได้ยุบศูนย์ CI เหลือเพียงศูนย์เดียวที่สมุทรสาคร ซึ่งต้องทำงานหนักเฉลี่ยวันละกว่า 2 พันคน ทั้งๆที่ศักยภาพการดำเนินของศูนย์ต่อวันไม่ถึงพัน

“ระเบิดเวลาลูกใหญ่อยู่ที่หลังวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 คนงานพม่ามากกว่า 2 ล้านจะต้องต่อใบอนุญาตทำงาน ซึ่งทิศทางของกรมการจัดหางาน อยากให้ทำ MOU แบบพิเศษที่ชายแดน แต่แรงงานพม่าส่วนใหญ่ยังกังวลใจเรื่องการเกณฑ์ทหารในพม่า พวกเขาไม่มั่นใจเรื่องความปลอดภัยจากสถานการณ์สู้รบในพม่า และยังกังวลใจเรื่องการทำเอกสารหนังสือเดินทางที่จะต้องทำใหม่ ว่าทำได้หรือไม่ เพราะมีเรื่องการเสียภาษี 2% และบังคับโอนเงินกลับบ้านผ่านธนาคารในกำกับรัฐบาลทหารเมียนมา 25% ของค่าจ้าง และมีบทลงโทษห้ามออกนอกประเทศ และไม่ออกหนังสือเดินทางให้ ดังนั้นถ้ามาตรการของไทย ยังผลักให้แรงงานต้องมีเอกสารจากเมียนมา เดินทางกลับ มีแนวโน้มที่แรงงานจะอยู่แบบผิดกฎหมายมากขึ้น”นายอดิศร กล่าว

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

พพ.แจงภารกิจคืนพื้นที่ เกาะร้อยไร่ สำเร็จ 

พพ.แจงภารกิจคืนพื้นที่ เกาะร้อยไร่ สำเร็จ ไม่มีผู้บุกรุกเหลืออยู่ในพื้นที่อีกต่อไป ประกาศปิดพื้นที่เด็ดขาด ห้ามบุกรุกซ้ำ

“บสย. พร้อมค้ำ พร้อมช่วย” สำเร็จเกินคาด

กิจกรรมแก้หนี้เชิงรุก “บสย. พร้อมค้ำ พร้อมช่วย” สำเร็จเกินคาด ช่วย SMEs ลูกหนี้ที่ บสย. จ่ายเคลม “ปลดหนี้” สูงสุดเป็นประวัติการณ์ 

โรงไฟฟ้าบีแอลซีพี ประกาศจุดยืน “อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ”

โรงไฟฟ้าบีแอลซีพี ร่วมเวที CEO Forum ประกาศจุดยืน "อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ" สู่อนาคต Net Zero

“นายกฯแพทองธาร” เป็นสักขีพยานลงนาม FTA ไทย – ภูฏาน

“นายกฯแพทองธาร” เป็นสักขีพยานลงนาม FTA ไทย - ภูฏาน FTA ฉบับที่ 17 ของไทย เปิดตลาดใหม่สู่เอเชียใต้