ชาวนากุ้งเฮ! ครม.อนุมัติ 500 ล้านบาท เสริมสภาพคล่องเกษตรกร

Date:

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2565 ว่า ครม.อนุมัติโครงการเสริมสภาพคล่องเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเล ปี 2565 ระยะที่ 1 โดยจัดสรรเงินจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรให้กรมประมงยืมสำหรับใช้ดำเนินการโครงการ วงเงิน 500 ล้านบาท มีกำหนดเวลาในการชำระคืนภายใน 3 ปี ระยะเวลาดำเนินโครงการตั้งแต่ พ.ศ.2565 – 2567 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ เพื่อให้เกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงกุ้งทะเลแต่ขาดสภาพคล่อง ได้มีแหล่งเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพ

โครงการเสริมสภาพคล่องเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเล ปี 2565 ระยะที่ 1 นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสภาพคล่องในด้านปัจจัยการผลิตให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเลและสร้างความมั่นคงทางอาชีพ โดยกรมประมงจะปล่อยกู้ให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเล จำนวน 1,000 ราย ในพื้นที่เพาะเลี้ยงกุ้งทะเลรวม 33 จังหวัด แบบไม่คิดดอกเบี้ย รายละไม่เกิน 500,000 บาท เพื่อจัดหาปัจจัยการผลิตในการเลี้ยงกุ้งทะเล แบ่งเป็นค่าลูกพันธุ์กุ้ง 85,000 บาท และค่าอาหารกุ้ง 415,000 บาท ตลอดโครงการเกษตรกรจะได้รับสิทธิกู้รวมทั้งสิ้น 3 รอบการผลิต (รอบการผลิตเพาะเลี้ยงกุ้งประมาณ 3 เดือน) ภายในระยะเวลา 2 ปี แต่เกษตรกรจะต้องชำระหนี้ทั้งหมดก่อน จึงได้รับสิทธิในการขอกู้ในรอบการผลิตถัดไป ทั้งนี้ สำนักงานประมงจังหวัดจะเปิดรับสมัครเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเล ผู้ประกอบการโรงเพาะฟักลูกกุ้งทะเล เพื่อคัดเลือกเข้าร่วมโครงการต่อไป

นางสาวรัชดา กล่าวว่า คุณสมบัติและเงื่อนไขของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเลและผู้ประกอบการโรงเพาะฟักลูกกุ้งทะเลที่เข้าร่วมโครงการ อาทิ 1.เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเล ต้องมีขนาดพื้นที่บ่อเลี้ยงกุ้งรวมทั้งหมด 4 – 10 ไร่ และต้องเสนอรูปแบบการเลี้ยงกุ้งทะเลที่ประสบความสำเร็จภายหลังจากได้รับการอนุมัติ 2.ผู้ประกอบการโรงเพาะฟักลูกกุ้งทะเล ต้องอยู่ในบัญชีรายชื่อผู้ประกอบการโรงเพาะฟักลูกกุ้งทะเลที่ผ่านการตรวจโรคลูกกุ้งทะเลจากกรมประมง (White List Hatchery) ของกรมประมง 3.จดแจ้งประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทกิจการการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล (จสค.) เป็นต้น

นางสาวรัชดา กล่าวว่า การอนุญาตให้นำเข้ากุ้งทะเลเพื่อการแปรรูป ซึ่งนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รายงานในที่ประชุมว่า เป็นความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารจัดการห่วงโซ่การผลิตกุ้งทะเลและผลิตภัณฑ์ (Shrimp Board) ซึ่งไม่กระทบต่อราคากุ้งในประเทศอย่างแน่นอน เพราะเป็นการอนุญาตให้เฉพาะช่วงเวลาที่ผลผลิตภายในประเทศมีปริมาณน้อยไม่เพียงพอต่อการแปรูปเท่านั้น โดยห้องเย็นและโรงงานแปรรูปจะต้องรับซื้อผลผลิตกุ้งทะเลจากเกษตรกรโดยประกันราคาซื้อ – ขายขั้นต่ำ เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาไว้ ขณะนี้ ราคากุ้งทะเลขยับเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยมา ส่วนเรื่องมาตรฐานความปลอดภัย ทางกรมประมงได้ดำเนินการอย่างรัดกุม มีการประเมินระบบการควบคุมโรคของทั้ง 2 ประเทศ ครอบคลุมทั้งห่วงโซ่การผลิตกุ้งทะเลแช่แข็งสำหรับการส่งออกมายังประเทศไทย เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะไม่มีโอกาสเกิดการแพร่กระจายเชื้อก่อโรคข้ามพรมแดนอย่างเด็ดขาด

Share post:

spot_img

Related articles

แฉขบวนการค้าบุหรี่เถื่อน ตบตาเจ้าหน้าที่

สมาคมการค้ายาสูบไทย แฉขบวนการค้าบุหรี่เถื่อนเปิดร้านส่งพัสดุเอกชนบังหน้า รับออเดอร์ผ่านช่องทางออนไลน์กระจายทั่วประเทศตบตาเจ้าหน้าที่

EXIM BANK เสนอขาย Blue Bond สกุลบาท 

EXIM BANK เสนอขาย Blue Bond สกุลบาทครั้งแรก ระดมทุนสนับสนุนธุรกิจอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและ Blue Economy พัฒนาระบบนิเวศที่ยั่งยืนและสังคมคาร์บอนต่ำ

ยอดผลิต รถยนต์ เดือนมิถุนายน 2567 วูบ 20%

ปรับเป้าผลิตรถยนต์ลง 2 แสนคัน หลังยอด ยอดผลิตรถยนต์เดือนมิถุนายน 2567 วูบ 20%

ได้เวลาปลุกปั้น อาหารไทย ให้อิ่มนี้ มีอิทธิพล

แนะไทยควรให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนา Soft power ด้านอาหาร ที่สามารถเชื่อมโยงให้เติบโตไปกับเทรนด์อาหารแห่งโลกอนาคต

Notice: ob_end_flush(): Failed to send buffer of zlib output compression (0) in /home/ozapeumy/public_html/wp-includes/functions.php on line 5427