Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the wordpress-seo domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home/ozapeumy/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114
สรรพสามิตเปิดตัวระบบ “QR บุหรี่” - jaihindnews2

สรรพสามิตเปิดตัวระบบ “QR บุหรี่”

Date:

ดร.เผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดตัวระบบ “QR บุหรี่” ณ การยาสูบแห่งประเทศไทย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมกล่าวว่า การนำระบบ “QR บุหรี่” มาใช้ ทำให้สามารถติดตามและแกะรอย (Track & Trace) ผลิตภัณฑ์ยาสูบว่าเป็นสินค้าที่ได้เสียภาษีถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ซึ่งการนำระบบตรวจสอบติดตามและแกะรอย (Track & Trace) หรือ “QR บุหรี่” มาใช้นั้น เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี และยกระดับการดำเนินงานที่โปร่งใสสอดคล้องกับแนวปฏิบัติสากล สำหรับเทคโนโลยีนี้จะเป็นการติดตามข้อมูลตั้งแต่ ณ สถานที่ผลิต ไปจนถึงผู้บริโภค และนำข้อมูลทั้งหมดมาสร้างเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และการตัดสินใจในการดำเนินนโยบายต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบข้อมูลการเสียภาษีและแหล่งที่มาของบุหรี่ว่าเป็นบุหรี่ที่ผ่านการตรวจวิเคราะห์โดยกรมสรรพสามิตแล้วหรือไม่ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเป็นบุหรี่ที่ได้มาตรฐานและไม่เป็นของปลอม ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้บริโภค  

ดร. เผ่าภูมิ กล่าวเพิ่มเติมว่า แสตมป์สรรพสามิตในปัจจุบันนั้น มีการใช้เทคโนโลยีเพื่อป้องกันการปลอมแปลงที่ทันสมัยใกล้เคียงกับการพิมพ์ธนบัตร และยังมี Unique QR code และ Unique Serial Number ที่มีรหัสไม่ซ้ำกันบนดวงแสตมป์ในแต่ละดวงแสตมป์เพื่อให้เจ้าหน้าที่และประชาชนสามารถตรวจสอบข้อมูลบนดวงแสตมป์นั้นได้ โดยในการตรวจสอบว่าเป็นสินค้าบุหรี่ซิกาแรตที่ชำระภาษีถูกต้องตามกฎหมาย ประชาชนสามารถทำได้โดยการนำโทรศัพท์มือถือสแกน QR Code บนดวงแสตมป์สรรพสามิต ซึ่งจะมีการแสดงข้อมูลต่าง ๆ ปรากฎขึ้น อาทิ ตราสินค้า รายละเอียดสินค้า ชื่อผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้า วันที่ชำระภาษี สถานที่จัดส่ง และราคาสินค้า  โดยผู้ซื้อสามารถตรวจเช็คว่าข้อมูลเหล่านี้ ตรงตามกับสินค้าที่กำลังจะซื้อหรือไม่หากพบว่าข้อมูลของสินค้ากับข้อมูลที่ปรากฎไม่ตรงกัน ผู้ซื้อก็ควรหลีกเลี่ยงการซื้อสินค้านั้น เพราะเป็นสินค้าที่ไม่ได้เสียภาษีสรรพสามิตและไม่ผ่านการตรวจวิเคราะห์คุณภาพมาตรฐานของสินค้านั้น ๆ ซึ่งหากบริโภคเข้าไป ก็จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ 

ดร. เผ่าภูมิ กล่าวว่า ระบบ “QR บุหรี่” หรือระบบตรวจสอบติดตามและแกะรอย (Track & Trace) นั้น เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นมาตามนโยบายของกรมสรรพสามิตในการยกระดับด้านการปราบปรามสินค้าหนีภาษี โดยจะช่วยให้กรมสรรพสามิตสามารถติดตามและตรวจสอบเส้นทางการกระจายสินค้าบุหรี่ได้ อีกทั้งยังช่วยให้กรมสรรพสามิตมีฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และดำเนินนโยบายต่าง ๆที่เหมาะสม และเกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นกลไกที่จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคทราบว่าสินค้าที่จะซื้อหรือบริโภคนั้น เป็นสินค้าที่ได้มาตรฐานและมีการชำระภาษีอย่างถูกต้องหรือไม่ โดยสามารถตรวจสอบข้อมูลแหล่งที่มาของบุหรี่ได้ผ่านการแสกน QR Code บนโทรศัพท์มือถือ หากพบว่าข้อมูลไม่ถูกต้องหรือมีข้อสงสัยว่าอาจเป็นสินค้าปลอม ก็สามารถแจ้งมายังกรมสรรพสามิตได้ด้วยการกดปุ่มแจ้งเบาะแสที่แสดงในหน้าจอโทรศัพท์ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบความถูกต้องของสินค้านี้ เป็นไปตามนโยบายด้านการส่งเสริมธรรมาภิบาลและความโปร่งใส (Governance) ในการดำเนินงานของกรมสรรพสามิต ตามยุทธศาสตร์ของกรมสรรพสามิตในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยภาษีสรรพสามิต มุ่งเน้น สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) สร้างมาตรฐานสากล เดินหน้าประเทศไทยสู่ความยั่งยืน

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

สำรวจเทรนด์อาหารเครื่องดื่มยอดนิยมแห่งปี 2568

กระทรวงพาณิชย์ ชี้ 4 เทรนด์สำคัญ อาหารและเครื่องดื่มยอดนิยมแห่งปี 2568 ของประเทศไทย

ดิจิทัลวอลเล็ต เด้งรับนายใหญ่ทักษิณ เสร็จทันมีนา

“ประเสริฐ” ยัน ดิจิทัลวอลเล็ต ทันมีนาคม 2568 ตามที่ “ ทักษิณ” ประกาศพร้อมทดสอบระบบ

ออมสิน เปิดให้กู้สร้างงานสร้างอาชีพ ดอกเบี้ยต่ำ 0.75% ต่อเดือน 

ออมสิน เดินหน้าช่วยรายย่อย เปิดให้กู้สร้างงานสร้างอาชีพ ดอกเบี้ยต่ำ 0.75% ต่อเดือน ไม่ต้องมีหลักประกัน เริ่มลงทะเบียนทาง MyMo 22 พ.ย. นี้

ก.ล.ต. ฟ้องอดีตบิ๊กคลัง อินไซด์ซื้อขายหุ้นบางจาก

ก.ล.ต. ฟ้องอดีตบิ๊กคลัง อินไซด์ซื้อขายหุ้นบางจากให้ผู้กระทำความผิดชำระเงินรวม 2,622,557 บาท