คดีอาญา เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.3

Date:

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ออกรายงาน ภาวะสังคมไทยไตรมาสสาม ปี 2567 ไตรมาสสาม ปี 2567 คดีอาญารวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.3 จากไตรมาสเดียวกันของปี 2566 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นทั้งจากคดียาเสพติด คดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ และคดีชีวิต ร่างกาย และเพศ ด้านการรับแจ้งอุบัติเหตุทางถนน มีการรับแจ้งผู้ประสบภัยสะสมรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 จากไตรมาสเดียวกันของปี 2566 โดยเป็น การเพิ่มขึ้นของผู้บาดเจ็บสะสมและผู้ทุพพลภาพสะสม ขณะที่ผู้เสียชีวิตสะสมลดลง 

ทั้งนี้ ประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ ได้แก่ 

1 การเฝ้าระวังการบริโภคดอกบัวสีน้ำเงิน เนื่องจากอาจกลายเป็นสารเสพติดชนิดใหม่ในไทย โดยในหลายประเทศขึ้นทะเบียนให้พืชชนิดนี้เป็นสารเสพติดผิดกฎหมาย 

2 การหลอกลวงจากการทำบุญ หรือช่วยเหลือทางออนไลน์ ในปี 2566 พบผู้ถูกหลอกลวงโดยอาศัยความสงสารหรือความสัมพันธ์จำนวน 2.65 ล้านคน มูลค่าความเสียหาย 2.3 พันล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้เป็นผู้เสียหายถูกหลอกลวงจากการขอรับบริจาคช่วยเหลือหรือการระดมเงินการกุศล รวมถึงในช่วงสถานการณ์น้ำท่วมมิจฉาชีพกระทำการหลอกลวงให้โอนเงินช่วยเหลือผ่าน QR Code หรือบัญชีม้า และการแอบอ้างเป็นหน่วยงานรัฐหลอกลวงให้ผู้ประสบภัยกรอกข้อมูลลงทะเบียนบนเว็บไซต์/ลิงก์ปลอม เพื่อรับเงินเยียวยา 

และ 3 การให้ความรู้เกี่ยวกับการลงทุนในลักษณะ แชร์ลูกโซ่ พร้อมทั้งการกำกับดูแลการชักชวนทางโซเชียลมีเดีย จากผลการศึกษาของ DSI ร่วมกับ สกสว. ในปี 2565 พบว่า ผู้เสียหายคดีแชร์ลูกโซ่ส่วนใหญ่ร้อยละ 85.0 ทราบหรือควรทราบอยู่แล้วว่าเป็นการลงทุน แบบแชร์ลูกโซ่ แต่ยังคงเลือกตัดสินใจลงทุนเนื่องจากได้รับผลตอบแทนสูง นอกจากนี้ ผู้เสียหายยังระบุว่าถูกชักชวนให้ลงทุนผ่านทางโซเชียลมีเดียหรืออินฟลูเอนเซอร์ 

การร้องเรียนผ่าน สคบ. และสำนักงาน กสทช. เพิ่มขึ้น และมีประเด็นที่ต้องติดตามเกี่ยวกับการระบาดของสินค้าที่ไม่มีมาตรฐาน มอก. และการรับมือกับอาหารปนเปื้อนสารเคมีอันตราย

ไตรมาสสาม ปี 2567 การร้องเรียนเกี่ยวกับผู้บริโภคในภาพรวมเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 9.1 โดยทั้งการร้องเรียนสินค้าและบริการผ่าน สคบ. และสำนักงาน กสทช. เพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 9.3 และร้อยละ 4.4 นอกจากนี้ มีประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ คือ

1) การระบาดของสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) จากต่างประเทศโดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่มีมากถึง 3.7 แสนชิ้น ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาถึง 6.3 เท่าตัว ซึ่งอาจนำไปสู่ความเสียหายในระดับที่ยากต่อการรับผิดชอบ

และ 2) การรับมือกับอาหารไม่ปลอดภัยที่มีการจำหน่ายในท้องตลาดอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอาหารกลุ่มผลไม้ที่มีการปนเปื้อนของสารเคมีอันตราย อาทิ การปนเปื้อนของสารพิษตกค้างในองุ่นไชน์มัสแคทเกินค่ามาตรฐานกฎหมายที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค นอกจากนี้ เกือบครึ่งหนึ่งของสารพิษตกค้างที่ตรวจพบยังเป็นสารที่อยู่นอกบัญชีวัตถุอันตรายของไทยที่ยังไม่มีการควบคุมอีกด้วย

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

CHAGEE เปิดตัวน้อน “Bes-tea Plushies”

น่ารักเกินกว่าจะยกดื่ม! CHAGEE เปิดตัวน้อน “Bes-tea Plushies” คู่หูสุดคิ้วท์ ชวนจุ่มทั้งคอลเลคชันกับดีลพิเศษคู่เมนูฮิตจำนวนจำกัด 18 - 24 ก.ค. 2568 นี้ เท่านั้น!

ออมสิน ชวนเข้าโครงการสินเชื่อสร้างเครดิต 

ออมสิน ชวนเข้าโครงการสินเชื่อสร้างเครดิต สร้างโอกาส ปลดล็อกอนุมัติกู้ให้ทุกอาชีพที่ไม่เคยกู้เงินแบงก์

ธ.ก.ส. ชวนฝากสลากออมทรัพย์ ธ.ก.ส. ชุดมังกรหยก

ธ.ก.ส. ชวนฝากสลากออมทรัพย์ ธ.ก.ส. ชุดมังกรหยก ลุ้นจุ่ม Art Toy AGRI ANIMAL ในงาน Thailand Smart Money อุบลราชธานี ครั้งที่ 11

“เผ่าภูมิ” ยันไทยไม่ลดภาษี 0% ทั้งหมดให้สหรัฐฯ

“เผ่าภูมิ” ยันเป็นไปได้ที่ไทยจะลดภาษี 0% ให้สหรัฐฯ แบบ100% ยันต้องพิจารณาบนหลักความสมดุล ย้ำผู้ชนะไม่ใช่คนที่ได้เรตภาษีต่ำที่สุด