นิด้าโพล สำรวจ 80% ให้นายกลาออกยุบสภา

Date:

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจ เรื่อง “การเมืองไทยไปต่อแบบไหนดี” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 4-7 กรกฎาคม 2568 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อสถานการณ์ทางการเมืองไทยในปัจจุบัน การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 0.05 ที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์ทางการเมืองไทยในปัจจุบัน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 42.37 ระบุว่า นายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร ควรประกาศลาออกจากตำแหน่ง เพื่อหานายกฯ คนใหม่ รองลงมา ร้อยละ 39.92 ระบุว่า นายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร ควรยุบสภาผู้แทนราษฎร เพื่อจัดการเลือกตั้งทั่วไป ร้อยละ 15.04 ระบุว่า นายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร ควรบริหารประเทศต่อไปเหมือนเดิม ร้อยละ 1.37 ระบุว่า เรียกร้องให้มีการรัฐประหาร ร้อยละ 0.99 ระบุว่า อย่างไรก็ได้ และร้อยละ 0.31 ระบุว่า ไม่ตอบ

ด้านบุคคลที่ประชาชนจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปตามรายชื่อผู้มีสิทธิเป็นนายกฯ ตามรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร ต้องพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากเผชิญกับปัญหาทางการเมือง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 32.82 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (องคมนตรี -แต่เป็นแคนดิเดตจากพรรครวมไทยสร้างชาติ) รองลงมา ร้อยละ 27.94 ระบุว่า ไม่สนับสนุนใครเลยตามรายชื่อผู้มีสิทธิเป็นนายกฯ ตามรัฐธรรมนูญ ร้อยละ 11.53 ระบุว่าเป็น นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) ร้อยละ 10.92 ระบุว่าเป็น นายชัยเกษม นิติสิริ (พรรคเพื่อไทย) ร้อยละ 9.77 ระบุว่า ใครก็ได้ตามรายชื่อผู้มีสิทธิเป็นนายกฯ ตามรัฐธรรมนูญ ร้อยละ 3.82 ระบุว่าเป็น นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (พรรครวมไทยสร้างชาติ) ร้อยละ 1.83 ระบุว่าเป็น นายจุรินทร์ ลักษณวิศษฏ์ (พรรคประชาธิปัตย์) ร้อยละ 0.84 ระบุว่าเป็น พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ (พรรคพลังประชารัฐ) และร้อยละ 0.53 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการที่พรรคประชาชนควรร่วมลงชื่อกับพรรคฝ่ายค้านเพื่อขอเปิดอภิปรายและลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและ/หรือรัฐมนตรี จากสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบันพบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 64.43 ระบุว่า ควรลงชื่อเพื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี และ/หรือ รัฐมนตรี รองลงมา ร้อยละ 26.26 ระบุว่า ไม่ควรลงชื่อเพื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี และ/หรือ รัฐมนตรี ร้อยละ 7.48 ระบุว่า อย่างไรก็ได้ และร้อยละ 1.83 ระบุว่า ไม่ตอบ

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

BAM ผนึก ยักษ์อสังหาฯบริหารจัดการ NPL-NPA แบบครบวงจร

BAM ผนึกกลุ่ม SA ยักษ์อสังหาฯ ชั้นนำของเมืองไทย บริหารจัดการ NPL-NPA แบบครบวงจร เสริมแกร่งธุรกิจ! สร้างมูลค่าเพิ่มสินทรัพย์

BAM จับมือ 8 โรงพยาบาลชั้นนำ ดูแลพนักงาน

BAM จับมือ 8 โรงพยาบาลชั้นนำ ดูแลพนักงานตามกลยุทธ์ ยกระดับคุณภาพชีวิต เข้ารักษาโดยไม่ต้องสำรองจ่าย

เติม บางจาก ไฮพรีเมียม รับฟรีน้ำแร่ธรรมชาติ 

เติม บางจาก ไฮพรีเมียม รับฟรีน้ำแร่ธรรมชาติ Limited Collection 4 ลวดลายสวยงามน่าสะสม

ไทยออยล์ ลงนาม MOU การส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจเริ่มต้น

“ไทยออยล์ – สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ” ลงนาม MOU การส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจเริ่มต้น ด้านเทคโนโลยีเชิงลึก (Deep Tech Startup)