ผู้ถือหุ้นรายย่อย STARK เร่งเอาผิดผู้เกี่ยวข้อง

Date:

ต่อเนื่องจากการที่ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์​ (ก.ล.ต.) ได้กล่าวโทษดำเนินคดีบุคคลและนิติบุคคล รวม 10 ราย ต่อ กรมสอบสวนคดีพิเศส (DSI) ว่าได้ร่วมกันกระทำหรือยินยอมให้มีการลงข้อความเท็จ ลงบัญชีไม่ถูกต้อง ไม่เป็นปัจจุบัน หรือไม่ตรงต่อความจริง ในปี 2564-2565 เพื่อลวงบุคคลใด ๆ ให้เข้าใจผิดในผลประกอบการและแผนงานของบริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรืิอ STARK ซึ่งเข้าข่ายความผิดหลายมาตราตาม พรบ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และต่อมา ก.ล.ต. ได้มีคำสั่งอายัดทรัพย์สินของบุคคลทั้ง 10 รายเป็นเวลา 180 วัน เนื่องจากเป็นการกระทำความผิดที่ก่อความเสียหายต่อประชาชนเป็นวงกว้างและมีพฤติการณ์ที่ควรเชื่อได้ว่า ผู้กระทำผิดจะยักย้ายหรือจำหน่ายทรัพย์สินไป

ในวันนี้ (11 กรกฎาคม 2566 เวลา 14.00 น.)  ตัวแทนผู้เสียหายจากการลงทุนในหุ้นสามัญ STARKกลุ่มผู้เสียหายที่ลงทุนในหุ้นสามัญของ STARK จึงเดินทางมาที่สำนักงานคณะกรรมการ กลต ยื่นหนังสือต่อนางสาวอาชินี ปัทมะสุคนธ์ ผู้ช่วยเลขาธิการสายสื่อสารองค์กร กับนางสิริพร จังตระกูล เลขาธิการ สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย และผู้แทนของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อแสดงความชื่นชมต่อ กลต. ในการเร่งดำเนินคดีและอายัดทรัพย์สินของผู้กระทำความผิดอย่างเร่งด่วน ขณะเดียวกันก็ขอติดตามและเร่งรัดให้ กลต ดำเนินการในขั้นตอนต่อไปอย่างไม่ชักช้า โดยกลุ่มผู้เสียหายมีความเห็นว่า การกระทำความผิดของกลุ่มบุคคลทั้ง 10 ราย เข้าข่ายความผิดหลายมาตราของ พรบ หลักทรัพย์ ซึ่งให้อำนาจ กลต ในการใช้มาตรการลงโทษผู้กระทำความผิดทั้งทางอาญาและทางแพ่ง กลุ่มผู้เสียหายจึงขอเรียกร้องให้ กลต ดำเนินมาตรการลงโทษทั้งทางอาญาและทางแพ่งขั้นสูงสุด พร้อมทั้งขอคำแนะนำถึงช่องทางที่ กลต. จะสามารถช่วยเหลือบรรเทาเยียวยาความเสียหายแก่ผู้ลงทุนรายบุคคลเหล่านี้

ในการมาพบผู้บริหารของ กลต และ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในวันนี้ กลุ่มผู้เสียหายยังขอแสดงความคิดเห็นเพื่อให้ กลต. และตลาดหลักทรัพย์ฯ ใช้วิกฤตความเชื่อมั่นในตลาดที่เกิดจากการกระทำเพียงบุคคลกลุ่มเล็ก ๆ กลุ่มหนึ่งแต่สามารถสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อตลาดทุน ซึ่งถือเป็นเสาหลักหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ให้เป็นบทเรียนและใช้เป็นโอกาสในการปรับปรุงแก้ไขข้อกฎหมายต่าง ๆ ที่เป็นข้อจำกัดในการกำกับ ดูแล ป้องกัน และปราบปรามการทุจริตในตลาดทุนในปัจจุบัน เพื่อยกระดับความเชื่อมั่น โปร่งใส และธรรมภิบาล ของบริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ทั้งในปัจจุบันและอนาคต  ตัวอย่างเช่น ข้อจำกัดของ กลต ไทยที่ไม่สามารถดำเนินคดีทางแพ่งต่อผู้กระทำความผิด แทนผู้ลงทุนที่เสียหาย เพื่อให้สามารถเรียกเงินชดใช้ความเสียหายให้แก่ผู้ลงทุนที่เสียหายได้โดยตรง เช่นเดียวกับตลาดทุนในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง เป็นต้น (อ้างอิง ดุษฎีนิพนธ์การบังคับใช้กฎหมายในความผิดเกี่ยวกับการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยคุณเฉลียว นครจันทร์และคุณนิติ ผดุงชัย หลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น https://so04.tci-thaijo.org/index.php/svittj/article/download/241208/165733/842722)

นอกจาก 2 หน่วยงานที่กำกับดูแลตลาดทุน แล้ว  ในวันนี้ กลุ่มผู้เสียหายได้ยื่นหนังสือขอความอนุเคราะห์ต่อนายกสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย โดยที่ผ่านมา 

กลุ่มผู้เสียหายได้รับความอนุเคราะห์เป็นอย่างดีจากสมาคมผ่านทางเลขาธิการสมาคม ที่ช่วยกรุณาเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมผู้เสียหาย มีผู้ลงทะเบียนเป็นจำนวนรวม 1759 ราย จึงได้ขอให้สมาคมช่วยสนับสนุนช่วยเหลือการดำเนินการฟ้องร้องคดีแบบกลุ่ม (Class Action) โดยยังคงเป็นศูนย์กลางรวมผู้เสียหายต่อไป และช่วยสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการฟ้องร้อง เช่น ค่าทนายความ และค่าดำเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินคดีแบบกลุ่มเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ราบรื่น และประสบความสำเร็จ จนสามารถเรียกร้องความยุติธรรมและเยียวยาผู้เสียหายได้ในที่สุด

นางสาวอาชินี ปัทมะสุคนธ์ ผู้ช่วยเลขาธิการ กลต. ได้ยืนยันว่า กลต. มีขอบเขตอำนาจตามกฏหมายกำหนด ที่ผ่านมาได้พยายามตรวจสอบ หาหลักฐานอย่างเต็มที่ หากพบกระทำผิดเข้าข่ายมาตราใด จะดำเนินการถึงที่สุด การดำเนินการใด ๆ ต้องมั่นใจในพยานหลักฐาน บางครั้งอาจต้องใช้เวลา ยอมรับว่ากรณี STARK สร้างความเสียหายให้ตลาดทุนอย่างมาก และจะพยายามตรวจสอบเอาผิดให้อย่างเต็มที่ รวมทั้งจะผลักดันให้มีการทบทวนแก้ไขปรับปรุง พรบ. (ขณะนี้กำลังดำเนินการอยู่แล้ว)ให้มีมาตรการป้องกันและบทลงโทษที่เข้มงวดมากขึ้น

ทางด้านนางสิริพร จังตระกูล เลขาธิการสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย (TIA) เปิดเผยว่า การที่กลุ่มผู้เสียหายที่ลงทุนในหุ้นสามัญของ บมจ.สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น (STARK) ที่ได้ลงทะเบียนเป็นผู้ได้รับความเสียหายกว่า 1,759 ราย ได้เดินทางมายื่นหนังสือถึง TIA เพื่อขอให้สนับสนุนค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดำเนินการฟ้องร้องคดีแบบกลุ่ม (Class Action) อาทิ ค่าวิชาชีพทนายความ ฯลฯ ตลอดจนค่าดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากผู้เสียหายได้สูญเสียเงินลงทุนและหรือเงินออมไปเป็นจำนวนมากแล้ว และเพื่อให้การดำเนินการฟ้องร้องคดีแบบกลุ่ม ดำเนินไปตามลำดับได้อย่างรวดเร็ว ราบรื่น และประสบความสำเร็จในที่สุด  ซึ่งจะเป็นการเยียวยาและสร้างความยุติธรรมให้กับผู้ลงทุนรายบุคคล

“ผู้เสียหายที่เป็นผู้ลงทุนรายบุคคลเข้าลงทะเบียนไว้ทั้งสิ้นจำนวน 1,759 ราย ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ากรณีนี้ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ลงทุนรายบุคคลจำนวนมากและเป็นวงกว้าง”

ทั้งนี้ทางสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทยรับพิจารณาในการดำเนินการ เพื่อให้ความช่วยเหลือตามที่ตัวแทนผู้เสียหายหุ้นสามัญ STARK ร้องขอมาเป็นลำดับไป 

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

“ธีระชัย” ชี้มาตรการรัฐแก้หนี้ เอาเงินของชาติไปอุ้มแบงค์พาณิชย์

“ธีระชัย” ชี้มาตรการรัฐแก้หนี้บ้านรถยนต์ เอาเงินของชาติไปอุ้มแบงค์พาณิชย์

‘พิชัย’ เจรจารัฐมนตรีการค้า 7 เขตเศรษฐกิจเอเปค

‘พิชัย’ เจรจารัฐมนตรีการค้า 7 เขตเศรษฐกิจเอเปค ที่เปรู ดันไทยพร้อมเป็นศูนย์กลางการค้า การลงทุน-ฐานการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมสมัยใหม่ 

EXIM BANK ร่วมกิจกรรมเดิน-วิ่ง

EXIM BANK ร่วมกิจกรรมเดิน-วิ่ง เนื่องในวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล (ประเทศไทย)

เตรียมเคาะแจกเงิน ชาวนา ไร่ละ 1,000 บาท 

“อนุกูล” รองโฆษกรัฐบาล เผย การประชุม นบข. 25 พ.ย.นี้ เตรียมเคาะมาตรการช่วยเหลือเกษตรไร่ละ 1,000 บาท