ลดภาษีน้ำเมากระตุ้นท่องเที่ยว

Date:

นายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ตามที่นายกรัฐมนตรี (ครม.)​ มีมติเห็นชอบมาตรการส่งเสริมประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว คลังได้ออก 2 มาตรการ ดังต่อไปนี้

1 ปรับปรุงอัตราภาษีสรรพสามิตสินค้าสุราและสถานบริการเพื่อเป็นการสนับสนุนมาตรการส่งเสริมประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวและยกระดับอุตสาหกรรมสุราพื้นบ้านสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตรไทยจึงได้เสนอให้มีการปรับปรุงอัตราภาษีสินค้าสุราแช่พื้นบ้านไวน์ไวน์ผลไม้และสุราแช่ชนิดอื่นๆเช่นปรับปรุงอัตราภาษีสุราแช่พื้นบ้าน (อุกระแช่สาโทสุราแช่พื้นบ้านอื่นและสุราแช่ที่ใช้วัตถุดิบเป็นข้าวที่มีแรงแอลกอฮอล์ไม่เกิน7ดีกรี) กำหนดอัตราภาษีตามมูลค่าร้อยละ 0 และอัตราภาษีตามปริมาณ 150 บาท ต่อปริมาณหนึ่งลิตรแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ (ลดลงจากอัตราภาษีตามมูลค่าร้อยละ10 และอัตราภาษีตามปริมาณ 150 บาทต่อปริมาณหนึ่งลิตรแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์) และมีการปรับปรุงอัตราภาษีไวน์และไวน์ผลไม้โดยยกเลิกการจัดเก็บภาษีจากการแบ่งชั้นของราคา (Price Tier) และกำหนดให้มีการจัดเก็บภาษีเป็นอัตราเดียว (Unitary Rate) ที่มีความเรียบง่ายและสอดคล้องกับมาตรฐานสากลทั้งนี้คาดว่าการปรับปรุงอัตราภาษีสรรพสามิตสินค้าสุราในครั้งนี้จะสนับสนุนสินค้าไทยให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ สนับสนุนการท่องเที่ยวชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจเมืองรองเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร รวมทั้งทำให้สินค้าดังกล่าวแข่งขันกับประเทศต่างๆและเป็นที่รู้จักของนานาชาติได้อีกทั้งสามารถกระตุ้นให้ค่าใช้จ่ายท่องเที่ยวต่อหัวของนักท่องเที่ยวเพิ่มสูงขึ้นยังมีการปรับปรุงพิกัดอัตราภาษีสุราแช่ชนิดอื่นๆโดยกำหนดพิกัดอัตราภาษีสำหรับสุราแช่ที่มีการผสมสุรากลั่นและมีแรงแอลกอฮอล์เกิน7 ดีกรีขึ้นใหม่เพื่อรองรับสินค้าที่กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน

สำหรับการปรับปรุงอัตราภาษีสถานบริการซึ่งประกอบกิจการบันเทิงหรือหย่อนใจ จากร้อยละ 10 ของรายรับของสถานบริการโดยไม่หักค่าใช้จ่ายเป็นร้อยละ 5 ของรายรับของสถานบริการโดยไม่หักค่าใช้จ่ายมาตรการดังกล่าวเป็นมาตรการระยะสั้นมีกำหนดระยะเวลาประมาณ 1 ปี (สิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค. 2567) ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากโควิดกลับมาฟื้นตัวอีกครั้งและส่งเสริมการท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐด้วยอีกทางหนึ่งนอกจากนี้จะเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นและผู้ประกอบการสามารถจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายหรือปรับลดราคาค่าอาหารและบริการเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวภายในประเทศเพิ่มขึ้น

การปรับปรุงโครงสร้างภาษีศุลกากรสินค้าไวน์กรมศุลกากรได้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างภาษีศุลกากรสินค้าไวน์ให้สอดคล้องควบคู่กับการปรับปรุงโครงสร้างภาษีสรรพสามิต โดยยกเว้นอากรขาเข้าสินค้าไวน์ในประเภทพิกัด 22.04 และ 22.05 รวม 21 รายการจากเดิมที่มีอัตราอากรร้อยละ 54 และ 60 โดยคาดว่าการยกเว้นอากรให้กับกลุ่มสินค้าดังกล่าวจะเป็นการขยายฐานการบริโภคและลดการลักลอบหลีกเลี่ยงอากรส่งผลให้จัดเก็บรายได้ภาษีอากร เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นต้น เพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยวและการใช้จ่าย

2 การปรับปรุงหลักเกณฑ์การตรวจสินค้าเพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มของนักท่องเที่ยว (VAT Refundfor Tourists) เพื่อลดปริมาณนักท่องเที่ยวที่ต้องเข้าคิวเพื่อแสดงสินค้าในกระบวนการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม

กรมสรรพากรได้ดำเนินการปรับปรุงหลักเกณฑ์การตรวจสินค้าเพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เพื่อลดปริมาณนักท่องเที่ยวที่ต้องเข้าคิวเพื่อแสดงสินค้าในกระบวนการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มของนักท่องเที่ยว ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2566โดย (1) การปรับเพิ่มวงเงินซื้อสินค้าที่ต้องแสดงต่อศุลกากร จากเดิมตั้งแต่ 5,000 บาทขึ้นไป เป็น 20,000 บาทขึ้นไป ซึ่งจะลดจำนวนนักท่องเที่ยวที่ต้องแสดงสินค้าลงจาก 1.2 แสนรายต่อปี เหลือประมาณ 30,000 รายต่อปี หรือลดลงประมาณร้อยละ 75 และ (2) การปรับเพิ่มมูลค่าสินค้าที่ต้องนำไปแสดงต่อสรรพากร 9 รายการ ได้แก่ เครื่องประดับ ทองรูปพรรณ นาฬิกา แว่นตา ปากกา สมาร์ทโฟน แล็ปท็อปหรือแท็บเล็ต กระเป๋า (ไม่รวมกระเป๋าเดินทาง) เข็มขัด จากเดิมมูลค่าต่อชิ้นตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป เป็น 40,000 บาทขึ้นไป และของที่สามารถถือขึ้นเครื่องได้ (carry-on) จากเดิมมูลค่าต่อชิ้นตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป เป็น 100,000 บาทขึ้นไป ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ใหม่นี้จะช่วยลดจำนวนนักท่องเที่ยวที่ต้องแสดงสินค้าลงจาก 1.2 แสนรายต่อปี (หรือร้อยละ 4.7 ของจำนวนนักท่องเที่ยวที่ขอคืนภาษีทั้งหมด) เหลือประมาณ 30,000 รายต่อปี (หรือร้อยละ 1.2 ของจำนวนนักท่องเที่ยวที่ขอคืนภาษีทั้งหมด) หรือลดลงจาก 333 คนต่อวัน ที่ต้องแสดงสินค้าเหลือเพียง 84 คนต่อวัน โดยประมาณ หรือลดลงกว่าร้อยละ 75

ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า การปรับปรุงโครงสร้างและอัตราภาษีสรรพสามิตและการยกเว้นอากรขาเข้าต่าง ๆ ข้างต้น จำเป็นต้องตราเป็นกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงการคลังตามลำดับ ซึ่งจะได้เร่งดำเนินการให้มีผลบังคับใช้โดยเร็วภายในเดือนมกราคม 2567 ทั้งนี้ ในภาพรวมมาตรการส่งเสริมประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวและการใช้จ่ายที่กระทรวงการคลังเสนอ จะส่งผลให้การจัดเก็บรายได้ภาษีสรรพสามิตและภาษีศุลกากรเพิ่มขึ้นสุทธิประมาณ 401ล้านบาทต่อปีและ GDP ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.0073เทียบกับกรณีไม่มีมาตรการ นอกจากนี้ ภาครัฐยังจะสามารถจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้นิติบุคคลได้เพิ่มเติมในอนาคตจากการเพิ่มขึ้นของการจับจ่ายใช้สอยและการเพิ่มขึ้นของรายได้ของผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ร้านค้า ร้านอาหาร ภัตตาคาร ธุรกิจบริการ สถานบันเทิง โรงแรมที่พัก ผู้ให้บริการขนส่ง สายการบินเป็นต้น และส่งผลให้มีการลงทุนขยายกิจการและการจ้างงานเพิ่มขึ้นต่อไปส่งผลให้ภาพรวมเศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ดีขึ้น

Share post:

spot_img

Related articles

AIS เตรียมออกหุ้นกู้เพื่อความยั่งยืนครั้งแรก ในอุตฯ โทรคมนาคมไทย

AIS เตรียมออกหุ้นกู้เพื่อความยั่งยืนครั้งแรกในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย เสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ชูอันดับความน่าเชื่อถือระดับ “AAA(tha)”

บิ๊กข้าราชการเกษียณ ตั้งพรรคเจ๊งทุกราย

“เทพไท เสนพงศ์” บิ๊กข้าราชการเกษียณ ตั้งพรรคเจ๊งทุกราย

ttb analytics คาดธุรกิจโรงแรมปี 67 รายได้แตะ 3.70 แสนล้านบาท

ttb analytics มองรายได้ธุรกิจโรงแรมปี 2567 เพิ่มแตะ 3.70 แสนล้านบาท บนความเปราะบางของการเติบโตแบบไม่สมมาตร

คลังแจงพร้อมจ่ายเงินหมื่นกลุ่มเปราะบาง

คลังแจงพร้อมจ่ายเงินหมื่นกลุ่มเปราะบาง แนะแนวทางการรับเงินละเอียด 1.4 แสนล้านบาท

Notice: ob_end_flush(): Failed to send buffer of zlib output compression (0) in /home/ozapeumy/public_html/wp-includes/functions.php on line 5427