การปรับตัวธุรกิจโรงไฟฟ้า ที่สอดรับไปกับกิจกรรมสีเขียว

Date:

ESG เป็นประเด็นที่ทุกภาคส่วนกำลังให้ความสำคัญ และมีบทบาทต่อการปรับตัวของภาครัฐและภาคเอกชนหลายภาคส่วนทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญประเด็นด้าน ESG โดยเฉพาะภาครัฐในหลายประเทศที่ตื่นตัวมากขึ้น บ่งชี้จากเกณฑ์การกำกับที่มากขึ้น (จำนวนกฎระเบียบด้าน ESG ทั่วโลกเพิ่มขึ้นมากเป็นเท่าตัว จากปี 2016 ที่มีเพียง 55 กฎระเบียบ เพิ่มขึ้นเป็น 256 กฎระเบียบ ในปี 2021) ส่วนหนึ่งมาจากความร่วมมือกันของนานาประเทศผ่านความตกลงปารีสที่เริ่มขึ้นมาตั้งแต่ในปี 2016 ยังผลให้ภาคธุรกิจและนักลงทุนต้องให้ความใส่ใจและปรับตัวไปกับประเด็น ESG โดยเฉพาะในภาคพลังงาน เนื่องจากเป็นภาคเศรษฐกิจที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดในสัดส่วนสูงถึงกว่า 70% ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปลดปล่อยออกมาทั่วโลก

ตลาดการเงินสีเขียว… หนึ่งในฟันเฟืองสำคัญที่ช่วยให้ภาคธุรกิจปรับตัวด้าน ESG

ภาคธุรกิจ ไม่เพียงแต่ถูกกดดันจากกฎระเบียบด้าน ESG ที่มากขึ้น แต่ยังคงถูกกดดันจากภาคการเงินที่ให้ความสำคัญกับ ESG มากขึ้นเช่นกัน (เช่น การเพิ่มสัดส่วนสินทรัพย์ยั่งยืนต่อสินทรัพย์ทั้งหมดของสถาบันการเงินชั้นนำของโลก และบางธนาคารก็เริ่มออกจากการให้บริการทางการเงินแก่ธุรกิจผู้ผลิตน้ำมันและก๊าซที่ไม่มีแผน Transition ที่น่าเชื่อถือ) ส่งผลให้การระดมเงินทุนของธุรกิจมุ่งเน้นไปที่โครงการที่ส่งเสริม ESG หรือโครงการที่มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมมากขึ้น ทั้งนี้การระดมเงินทุนสำหรับกิจกรรมสีเขียวและความยั่งยืนในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาเติบโตได้ดี สอดรับไปกับการปรับตัวของธุรกิจเพื่อให้สอดคล้องกับกระแส ESG โดยกว่า 1 ใน 3 เป็นการระดมเงินทุนในกลุ่มธุรกิจพลังงานหมุนเวียน โรงไฟฟ้า และสาธารณูปโภค โดยธุรกิจพลังงานหมุนเวียนฯ มีการระดมทุนในตลาดการเงินสีเขียวช่วงปี 2019-เดือน ส.ค. 2023 สูงถึง 8.9 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และสูงกว่าช่วงปี 2014-2018 ถึงราว 176% ซึ่งมาจากการระดมเงินทุนผ่านตลาดตราสารหนี้ที่มีสัดส่วนสูงถึง 51% ของการระดมเงินทุนทั้งหมด

ปัญหาฟอกเขียว… ความท้าทายที่มาพร้อมกับการเติบโตของตลาดการเงินสีเขียว

ปัญหาฟอกเขียว เป็นหนึ่งในความท้าทายสำคัญของการบรรลุเป้าหมาย ESG รวมถึงอาจมีผลต่อการเติบโตของตลาดการเงินสีเขียว ในช่วงที่ผ่านมา ตลาดการเงินสีเขียวเติบโตก้าวกระโดด ขณะเดียวกัน ประเด็นปัญหาฟอกเขียวก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัวด้วยเช่นกัน (จากฐานข้อมูลของ RepRisk จำนวนเหตุการณ์ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นการสื่อสารที่ทำให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับประเด็น ESG ขององค์กรทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงปี 2019-2022 โดยเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเกือบ 1,000 ครั้งต่อปี เทียบกับช่วงปี 2014-2018 ที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยเพียง 100 ครั้งต่อปี) โดยภาคธุรกิจใหญ่ที่สุดที่เกิดปัญหาฟอกเขียว คือ ภาคพลังงานและสาธารณูปโภค โดยเฉพาะประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การปล่อยก๊าซเรือนกระจก และมลภาวะระดับโลก

Green taxonomy ตัวช่วยเพื่อลดความเสี่ยงปัญหาฟอกเขียว หนุนตลาดการเงินสีเขียว

ปัญหาฟอกเขียวในหลายครั้งเกิดจากการเข้าใจผิดเกี่ยวกับกิจกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งการมีมาตรฐานสำหรับจัดประเภทกิจกรรมสีเขียว หรือ Green taxonomy จะเป็นปัจจัยที่ช่วยลดความเสี่ยงลงได้ ทั้งนี้การกำหนดมาตรฐานที่ชัดเจนเกี่ยวกับกิจกรรมสีเขียว จะทำให้หลายฝ่ายสามารถใช้เป็นแนวทาง โดยเฉพาะภาคการเงิน ซึ่งเป็นน้ำเลี้ยงสำคัญสำหรับธุรกิจ นอกจากนี้ ธุรกิจก็สามารถปรับเปลี่ยนตัวเองไปเพื่อบรรลุเป้าหมาย ESG ในแนวทางเดียวกันได้ และลดความเสี่ยงการถูกฟ้องร้องในกรณีเกิดปัญหาฟอกเขียว  Green taxonomy หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “Taxonomy” คือ ระบบการจำแนกประเภทกิจกรรมทางเศรษฐกิจ สินทรัพย์และรายได้ของธุรกิจ ที่สอดคล้องไปกับเป้าหมายความยั่งยืนที่สำคัญ โดยเฉพาะเป้าหมายที่สอดรับไปกับประเด็น ESG และเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด สำหรับไทยเลือกใช้เกณฑ์การระบุกิจกรรมสีเขียวด้วยเกณฑ์ประเมินทางเทคนิค ซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกับ EU และสอดคล้องไปกับ ASEAN Taxonomy ทั้งนี้ไทยได้มีจัดทำ Thailand Taxonomy ระยะที่ 1 เสร็จสิ้นแล้วเมื่อเดือน มิ.ย. 2023 ซึ่งนำมาใช้กับกิจกรรมภาคพลังงาน (ฝั่งอุปทาน หรือ Supply) และภาคขนส่งก่อน

แนวทางของการปรับตัวของธุรกิจโรงไฟฟ้า หากต้องการดำเนินธุรกิจที่สอดรับไปกับกิจกรรมสีเขียว

Thailand Taxonomy ระยะที่ 1 มุ่งเน้นไปที่กลุ่มธุรกิจพลังงานฝั่งอุปทานในการผลิตไฟฟ้า ความร้อน และความเย็น รวมถึง การส่ง-จ่ายไฟฟ้า ทั้งนี้จากเกณฑ์ของ Thailand Taxonomy จะพบว่าไม่เพียงแต่กลุ่มโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเท่านั้นที่สามารถเป็นกิจกรรมสีเขียวได้ แต่กลุ่มโรงไฟฟ้าพลังงานฟอสซิลยังมีโอกาสในการปรับตัวเพื่อมุ่งไปสู่ธุรกิจสีเขียว

จากเกณฑ์ของ Thailand Taxonomy ระยะที่ 1 หากธุรกิจต้องการดำเนินกิจการให้สอดรับไปกับกิจกรรมสีเขียว ธุรกิจจำเป็นต้อง…

·    เพิ่มสัดส่วนโรงไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และลมมากขึ้น เนื่องจาก Thailand Taxonomy ระบุว่าเป็นกิจกรรมสีเขียว (ยกเว้นการผลิตไฟฟ้าเพื่อนำไปใช้กับธุรกิจ/โครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น การติดตั้ง Solar rooftop ในสถานีจำหน่ายน้ำมัน)

·   ปรับปรุงกระบวนการผลิตและแหล่งที่มาของวัตถุดิบของโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำและชีวภาพ เพื่อให้การผลิตไฟฟ้ามีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ได้ตามมาตรฐานของ Thailand Taxonomy รวมถึงที่มาของวัตถุดิบเพื่อผลิตพลังงานชีวภาพ

·    มุ่งเน้นพัฒนา Green hydrogen เพื่อใช้เป็นพลังงานให้แก่โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน เพราะมีโอกาสที่โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติกลายเป็นกิจกรรมสีเขียวได้ หากหันมาใช้ Green hydrogen และตั้งเป้าปล่อย GHG ไม่เกิน 100 gCO2e/kWh ภายในปี 2040 และหลังปี 2040 ตั้งเป้าปล่อยไม่เกิน 50 gCO2e/kWh

·   หลีกเลี่ยงการลงทุ

Green taxonomy เป็นหนึ่งในคัมภีร์ที่ธุรกิจผลิตไฟฟ้าควรพิจารณา เพื่อเพิ่มโอกาสระดมทุนในต้นทุนที่ต่ำลง

Green taxonomy ถือว่าเป็นแนวทางที่ธุรกิจให้ความสำคัญ โดยเฉพาะธุรกิจที่มีการปล่อย GHG สูงและมีโอกาสปรับลด GHG ได้ยาก เช่น ธุรกิจพลังงานและธุรกิจโรงไฟฟ้าในยุโรปมีแนวโน้มที่จะปรับงบลงทุนให้เป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับ EU Taxonomy มากกว่าธุรกิจอื่น ๆ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการปรับตัวไปสู่กิจกรรมสีเขียว ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ภาคธุรกิจสามารถเข้าถึงการระดมเงินทุนด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าจากตลาดการเงินสีเขียว ทั้งตลาดตราสารหนี้และตลาดสินเชื่อ

ตามปกติการระดมเงินทุนผ่านตลาดตราสารหนี้ของกลุ่มตราสารหนี้สีเขียวจะมีอัตราผลตอบแทนพันธบัตรต่ำกว่าตราสารหนี้โดยทั่วไป หรือเรียกว่ามี Greenuim ทั้งนี้คาดว่าแนวโน้มของ Greenium น่าจะยังคงมีอยู่ เนื่องด้วยความต้องการในตราสารหนี้ สีเขียวที่ยังคงมีอยู่ในระดับสูง (เนื่องจาก 1. ตราสารหนี้สีเขียวมีความ Defensive มากกว่าตราสารหนี้โดยทั่วไป 2. การเคลื่อนไหวของ Greenium ยังดึงดูดให้นักลงทุนที่เน้น Alpha opportunities เข้ามาลงทุน และ 3. เปิดโอกาสให้นักลงทุนได้ประโยชน์จากกระแสการลงทุนที่ยั่งยืน โดยเฉพาะธนาคารกลางและธนาคารพาณิชย์ยังมีแนวโน้มที่จะถือครองตราสารหนี้สีเขียวมากขึ้น)

นใหม่ในโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติและถ่านหิน เนื่องจากโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติที่ได้รับใบอนุญาตก่อสร้างหลังวันที่ 31 ธ.ค. 2023 และกลุ่มโรงไฟฟ้าถ่านหินถือว่าเป็นกิจกรรมสีแดง

นอกจากนี้ สินเชื่อสีเขียวมีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินที่มีต้นทุนต่ำกว่าสินเชื่อปกติ ทั้งนี้การผลักดันจากทั้งภาครัฐ ธนาคารกลางของประเทศชั้นนำต่าง ๆ และองค์กรนานาชาติ จะเข้ามามีบทบาทสำคัญ (ผ่านมาตรการที่หนุนให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยต่ำกว่าสินเชื่อปกติ) ท่ามกลางการให้ความสำคัญต่อการให้สินเชื่อสีเขียวและยั่งยืนมากขึ้นของธนาคารเอกชนหลายแห่งทั่วโลก ยิ่งไปกว่านั้น การเติบโตของสินเชื่อ Sustainability-Linked Loan (SLL) ก็เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์สินเชื่อเพื่อความยั่งยืนที่หนุนให้ภาคธุรกิจสามารถเข้าถึงสินเชื่อด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า เนื่องจากถ้าธุรกิจสามารถปรับการดำเนินงานทางธุรกิจให้ได้ตามเงื่อนไขด้าน ESG อัตราดอกเบี้ยจะถูกปรับลดลง เพื่อสร้างแรงผลักดันให้ธุรกิจดำเนินการด้าน ESG ได้ตามเป้าหมาย สำหรับไทย แม้ว่าการเงินสีเขียวจะค่อนข้างเติบโตได้ดีในกลุ่มตราสารหนี้ แต่ SCB EIC เชื่อว่า Thailand Taxonomy จะเป็นอีกปัจจัยเร่งที่ช่วยสนับสนุนให้การเติบโตของสินเชื่อสีเขียวทำได้ดีขึ้น เนื่องจากสถาบันการเงินจะเห็นความชัดเจนในกิจกรรมสีเขียวมากขึ้น ท่ามกลางการปรับตัวของธุรกิจในด้าน ESG ที่สอดรับกัน เพื่อให้สามารถกู้ยืมเงินในโครงการ ESG ผ่านสถาบันการเงินได้ง่ายมากขึ้น

ความท้าทายบางประการในการประยุกต์ใช้ Taxonomy ที่หากข้ามผ่านได้อาจหนุนการเงินสีเขียวเร่งตัวได้ดีขึ้น

แม้ว่า Green taxonomy จะเป็นปัจจัยเร่งสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนการเติบโตของสินเชื่อสีเขียว แต่ยังมีความท้าทายบางประการที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการประยุกต์ใช้กับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ คือ 1. การประยุกต์ใช้ Green taxonomy กับกิจกรรมเศรษฐกิจยังจำกัดอยู่ในบางกิจกรรมและยังไม่กว้างขวางเพียงพอ 2. การสร้างกลไก Green(bank)-to-Green(company) เพื่อผลักดันสินเชื่อสีเขียวให้เติบโตได้ดี โดยเฉพาะการผลักดันให้สถาบันการเงินพยายามปรับตัวตาม Net zero pathway และอาจนำมาสู่การเติบโตของผลิตภัณฑ์ทางการเงินสีเขียวใหม่ ๆ และ 3. กำหนด Green capital requirement เพื่อให้สถาบันการเงินรับมือกับความเสี่ยงด้าน ESG ที่จะมีผลต่อสินทรัพย์ของสถาบันการเงิน

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

UAC เดินหน้าลงทุนเพิ่มโอกาสการเติบโตอย่างยั่งยืน

UAC เดินหน้าลงทุนเพิ่มโอกาสการเติบโตอย่างยั่งยืน หนุนรายได้รวมปี 68 โต 15% และ EBITDA มากกว่า 20%

เปิดแล้ว! ท่าเรืออัจฉริยะพระราม 7 ยุคใหม่

เปิดแล้ว! ท่าเรืออัจฉริยะพระราม 7 ยุคใหม่ ที่ใช้พลังงานอย่างชาญฉลาด เชื่อมต่อทุกการเดินทางอย่างสมบูรณ์

SPRC ร่วมกับ เชฟรอน มอบบัตรเติมน้ำมันคาลเท็กซ์ ให้ กทม. 

SPRC ร่วมกับ เชฟรอน มอบบัตรเติมน้ำมันคาลเท็กซ์ ให้ กทม. ช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหว

OR มอบ พีทีที สเตชั่น พริวิเลจการ์ด  100,000 บาท แก่ กทม.

OR มอบ พีทีที สเตชั่น พริวิเลจการ์ด มูลค่า 100,000 บาท แก่ กทม. สำหรับภารกิจกู้ภัยและค้นหาผู้สูญหายในพื้นที่อาคารถล่ม