กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ถูกตั้งมาเพื่อปล่อยกู้ให้เรียน ดังนั้นหากเข้าเงื่อนไข กยศ. พร้อมปล่อยให้มากที่สุดอยู่แล้ว เพราะการปล่อยได้มาก ย่อมเป็นผลงานของ กยศ.
ดังนั้นไม่มีเหตุผลอะไรเลย ที่ กยศ. จะไม่ปล่อยกู้ให้เรียน หากตัวผู้เรียนและสถานศึกษา เข้าเงื่อนไขตามเกณณ์ที่กำหนด
แต่ทั้งหมด ก็ยังมีดราม่า กยศ. ไม่ปล่อยกู้เรียนต่อเนื่อง
ล่าสุด มีนักศึกษาจังหวัดสถานที่เรียนในจังหวัดระยองถึง 3 พันกว่าคน ในจำนวนนี้มีบางคนไปฟ้องศาลปกครองให้ กยศ. ปล่อยกู้ต่อ ฟังดูผ่านเหมือน กยศ. ใจร้ายใจดำ อยู่ดีๆ ก็หยุดปล่อยกู้นักเรียน 3 พันกว่าคนกลางทางเสียอย่างนั้น
แต่เมื่อความจริงปรากฎ พบว่า กยศ. ได้รับแจ้งจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ว่าสถานศึกษาได้ยกเลิกกิจการ กยศ. จึงจำเป็นต้องระงับการให้กู้ยืมเงินไว้เพื่อมิให้เกิดข้อผิดพลาด
นอกจากนี้ สถานศึกษาเจ้าปัญหา ยังแจ้งข้อมูลโอนย้ายนักศึกษา จาก 1,212 คน ไปศึกษาต่อที่จังหวัดศรีสะเกษ ต่อมาขอเปลี่ยนเป็น 3,580 คน อ้างว่าข้อมูลในระบบผิดพลาด ซึ่ง กยศ. ทำหนังสือไปถามถึง 4 ครั้ง เพื่อยืนยันความถูกต้อง เพื่อที่จะได้โอนเงินกู้ให้นักศึกษา แต่ไม่ได้รีบการแจ้งกลับ โทรไปตามก็ไม่รับสาย
ถึงขนาด กยศ. จับมือรองผู้ว่าฯ ระยอง ผู้แทน อว. ลงพื้นที่สถานศึกษา จ.ระยอง แต่ไม่พบ น.ศ.แม้แต่คนเดียว แถมถูกห้ามทุกคนเข้าพื้นที่มหาวิทยาลัย
เมื่อสถานศึกษาไม่ให้ความร่วมมือ กยศ. ก็ไม่สามารถช่วยเหลือนักศึกษากลุ่มดังกล่าวได้
ดราม่าจึงหายไป ความจริงก็ปรากฎ จากที่ กยศ. ตกเป็นจำเลย กลายเป็น สถานศีกษา และนักเรียน 3 พันกว่าคน มีตัวตนจริงหรือไม่ มีการขอกู้ไปเรียน โดยที่ไม่มีการสร้างยอดลมๆ แล้งๆ ขึ้นมา ทำให้ กยศ. เสียหาย และเป็นการทำลายโอกาสนักเรียนคนอื่นที่มีตัวตนและต้องการเงินไปศึกษาหรือไม่
การที่ กยศ. ตกเป็นเหยื่อดราม่าครั้งนี้ น่าจะทำให้ทุกคนในสังคมที่เสพสื่อประเด็นเรื่องปัญหาการปล่อยกู้เรียกของ กยศ. ต่อไปมีสติมากขึ้น ว่า เมื่อมีข่าวเรื่องการปล่อยกู้เรียนไม่ได้ มีการฟ้องร้องบ้าง ว่า ต้นเหตุของปัญหาที่แท้จริงคือใครกันแน่