ผู้เชี่ยวชาญวิจารณ์ WHO เดินถอยหลังในการควบคุมยาสูบ

Date:

เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา นิตยสารทางการแพทย์ชื่อดังอย่าง The Lancet ได้เผยแพร่บทความของ ศาสตราจารย์ Robert Beaglehole อดีต ผอ. ศูนย์โรคเรื้อรังและการส่งเสริมสุขภาพ (Director of the Department of Chronic Diseases and Health Promotion) แห่งองค์การอนามัยโลก ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎระเบียบการควบคุมยาสูบ และศาสตราจารย์ Ruth Bonita ที่เรียกร้องให้องค์การอนามัยโลกรวมถึงประเทศภาคสมาชิกของกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบ (FCTC) สนับสนุน ‘หลักการลดอันตรายจากยาสูบ’ และปฏิเสธการควบคุมผลิตภัณฑ์ไร้ควันด้วยแนวทางเดียวกับบุหรี่มวนในการประชุม FCTC COP10 ระหว่าง 5-10 กุมภาพันธ์ 2567 นี้ ที่ประเทศปานามา

โดยเนื้อหาบทความระบุว่า หลักการลดอันตรายนั้นเป็นกลยุทธ์ทางสาธารณสุขที่ประสบความสำเร็จ ตัวอย่างเช่นการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด ดังนั้น หลักการลดอันตรายในยาสูบจึงควรเป็นกลยุทธ์สำหรับกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก (WHO FCTC) เพิ่มเติมจากมาตรการควบคุมอุปสงค์และอุปทานของยาสูบ ซึ่งจำเป็นแต่ไม่เพียงพอที่จะแก้ปัญหาการลดอัตราการสูบบุหรี่ลงได้ 

องค์การอนามัยโลกนั้นมีอิทธิพลต่อการผลักดันและสนับสนุนแนวทางการควบคุมยาสูบในระดับโลก ทว่าความสำเร็จของการจัดการกับอัตราการสูบบุหรี่และการบริโภคยาสูบของ FCTC นั้น ยังคงเป็นที่กังขา เนื่องจากกรอบอนุสัญญาฯ นั้นไม่ได้ห้ามการใช้แนวทางลดอันตราย แต่ให้แต่ละประเทศตัดสินใจเลือกวิธีการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์นิโคตินแบบใหม่เอง ฝ่ายองค์กรอนามัยโลกนั้นก็ยังคงขาดการผลักดันในเรื่องของการลดอันตรายจากยาสูบ ซึ่งเป็นการจำกัดทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพของผู้คนจำนวนกว่า 1,300 ล้านคนทั่วโลกที่ยังคงสูบบุหรี่และมีความเสี่ยงทางสุขภาพ

จุดยืนขององค์การอนามัยโลกที่ต้องการให้บุหรี่ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์นิโคตินแบบใหม่ถูกควบคุมแบบเดียวกันกับบุหรี่มวนนั้น ไร้ซึ่งเหตุผลสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์ โดยจุดยืนดังกล่าวเป็นการมองข้ามหลักการของ “สัดส่วนความเสี่ยง” (Risk-proportionate Approach) ซึ่งศาสตราจารย์ผู้ให้ความเห็นได้กล่าวว่า “เราเชื่อว่า WHO ต้องแสดงความเป็นผู้นำและให้การสนับสนุนทางเทคนิคกับประเทศที่พิจารณานำบุหรี่ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์นำส่งนิโคตินอื่นๆ (เช่น SNUS, ถุงนิโคตินสำหรับใช้ในช่องปาก, ผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบใช้ความร้อน และผลิตภัณฑ์ยาสูบไร้ควัน) ในปัจจุบันแนวทางขององค์การอนามัยโลกต่อผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงต่ำกว่าเหล่านี้ คือการให้รางวัลแก่ประเทศต่างๆ ที่แบนบุหรี่ไฟฟ้ากว่า 34 ประเทศ โดยส่วนมากเป็นประเทศในกลุ่มรายได้ต่ำถึงปานกลาง เช่น อินเดีย ในขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้วและไม่ได้แบนผลิตภัณฑ์ไร้ควันเหล่านี้ ได้รับประโยชน์จากการนำแนวคิดเรื่องหลักการลดอันตรายไปใช้ เช่น นิวซีแลนด์ สวีเดน นอร์เวย์ อังกฤษ เป็นต้น” 

“ในหลายประเทศ การลดลงอย่างมีนัยสำคัญของอัตราการสูบบุหรี่นั้นเกี่ยวโยงกับการนำผลิตภัณฑ์นิโคตินแบบใหม่เข้ามา เช่น ในนิวซีแลนด์ อัตราการสูบบุหรี่ต่อวันของผู้สูบบุหรี่ที่เป็นผู้ใหญ่นั้นลดลงจากร้อยละ 13.3 ในปี 2017-2018 สู่ร้อยละ 6.8 ในปี 2022-2023 หลังบุหรี่ไฟฟ้ามีขายทั่วไปอย่างแพร่หลาย ซึ่งนับว่า (อัตราการสูบบุหรี่) ลดลงกว่าร้อยละ 49 ในระยะเวลา 5 ปี โดยในช่วงระยะเวลาเดียวกัน อัตราการใช้บุหรี่ไฟฟ้าต่อวันในผู้ใหญ่นั้นเพิ่มจากร้อยละ 2.6 สู่ร้อยละ 9.7 โดยมีรัฐบาลคอยควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าอยู่ การลดลงของอัตราการสูบบุหรี่ในนิวซีแลนด์นั้นนับเป็นการพิชิตเป้าหมายที่เกินกว่าเป้าหมายการลดอัตราการสูบบุหรี่ลงร้อยละ 30 ภายใน 15 ปีที่กำหนดโดยองค์การอนามัยโลก” 

เช่นเดียวกับนิวซีแลนด์ ยังมีอีกหลายประเทศที่สามารถลดอัตราการสูบบุหรี่ลงโดยการนำผลิตภัณฑ์นำส่งนิโคตินรูปแบบใหม่เข้ามาใช้เพิ่มเติมจากการนำหลักการลดอุปสงค์อุปทานขององค์การอนามัยโลก เช่น สวีเดนและนอร์เวย์ที่มีการใช้ SNUS อย่างแพร่หลายมาอย่างยาวนาน สหราชอาณาจักรที่นำบุหรี่ไฟฟ้ามาเป็นเครื่องมือช่วยเลิกบุหรี่ ญี่ปุ่นที่ผู้สูบบุหรี่หันมาใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อน 

การประชุมประเทศภาคีสมาชิกของกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก (WHO FCTC Conference of the Parties 10; COP10) ซึ่งกำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้จนถึงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ที่ประเทศปานามานั้น มีการนำเสนอให้ควบคุมผลิตภัณฑ์นิโคตินรูปแบบใหม่ด้วยแนวทางเดียวกับบุหรี่มวน ซึ่งนับเป็นข้อเสนอที่เป็น ‘การก้าวถอยหลัง’ เนื่องจากระดับของอันตรายจากผลิตภัณฑ์ทั้งสองกลุ่มนั้นต่างกันอย่างสิ้นเชิง และที่สำคัญที่สุดคือ สาเหตุหลักของอันตรายจากบุหรี่นั้นมาจากการเผาไหม้ ไม่ใช่นิโคติน และในกรณีที่แย่ที่สุด ยุทธศาสตร์ดังกล่าวอาจเป็นการสนับสนุนบุหรี่มวนและเป็นการสกัดกั้นบุหรี่ไฟฟ้า

นอกจากนี้ บทความยังระบุว่า “จุดโฟกัสควรอยู่ที่ปัญหาด้านสาธารณสุข ซึ่งคือผลกระทบต่อสุขภาพจากการบริโภคยาสูบ การลดการสูบบุหรี่นั้นเป็นหนทางที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการลดอัตราการเสียชีวิตจากยาสูบ และหลักการลดอันตรายจากยาสูบนั้นก็เป็นหนทางที่รวดเร็วและสมเหตุสมผลที่สุดในการลดอัตราการสูบบุหรี่ องค์การอนามัยโลกควรรับเอานวัตกรรมการนำส่งนิโคตินรูปแบบใหม่เหล่านี้มาใช้”

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

ออมสิน ประกาศลดดอกเบี้ยเงินกู้ 0.25%

ออมสิน ประกาศลดดอกเบี้ยเงินกู้ 0.25% มีผล 1 พ.ย. 67 ตรึงดอกเบี้ยเงินฝาก ตามภารกิจส่งเสริมการออม

เร่งประชุม คกก. ไตรภาคี ถกขึ้นค่าแรง​ 400 บาท ทันที​ 

ปลัดแรงงาน​ ยัน​ เร่งประชุม คกก. ไตรภาคี​ ถกขึ้นค่าแรง​ 400 บาททันที​ หลังแต่งตั้งอธิบดีชุดใหม่จบ​ ไม่รับปากทันปี​ 67 แต่จะทำอย่างเต็มที่

“พิชัย” ถกสวิส-นอร์เวย์ เร่งปิดดีล FTA เอฟตา สิ้นปีนี้

“พิชัย” ถกสวิส-นอร์เวย์ เร่งปิดดีล FTA เอฟตา สิ้นปีนี้ เพิ่มมูลค้าการค้าไทย

รทสช. ค้านสุดตัว กม.นิรโทษกรรม ต้องไม่รวมคดีม.112

รทสช. ค้านถึงที่สุด ลั่น กม.นิรโทษกรรมต้องไม่รวมคดีม.112 ชี้ เป็นกฎหมายปกป้องสถาบันฯ ความมั่นคงของชาติไม่เกี่ยวแรงจูงใจการเมือง