สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส โชว์ผลกำไรปี 66 โต 442.4%

Date:

นายพุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมการบินโลกในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2566 มีอัตราฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้กลุ่มธุรกิจบริการอากาศยานมีการเติบโตที่สูงขึ้น โดยอัตราการเติบโตของปริมาณการขนส่งผู้โดยสาร (Revenue Passenger Kilometer: RPK) ของสายการบินในภูมิภาคเอเชีย แปชิฟิกที่มีการเติบโตมากที่สุดเฉลี่ยร้อยละ 77.2

จากปัจจัยหนุนต่าง ๆ ที่ทำให้ สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส โต อาทิ นโยบายการเปิดประเทศของจีน วันหยุดยาวและช่วงเทศกาลต่าง ๆ และยังส่งผลให้ผลการดำเนินงานของ บริษัทฯ ในปี 2566 เป็นไปในทิศทางบวก โดยสามารถพลิกฟื้นกลับมามีรายได้รวมเท่ากับ 21,732.5 ล้านบาท เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 70.06 เมื่อเทียบกับปี 2565 ซึ่งสัดส่วนรายได้ส่วนใหญ่มาจากบัตรโดยสารของธุรกิจการบินร้อยละ 68.6  หรือรายได้จำนวน 14,913.8 ล้านบาท เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 76.5 จากยอดผู้โดยสารที่ใช้บริการกับสายการบินบางกอกแอร์เวย์สที่มีปริมาณเติบโตสูงขึ้น และมีอัตราราคาบัตรโดยสารเฉลี่ย 3,756บาท

โดยในปี 2566 บริษัทฯ มีกำไรจากการดำเนินงานเท่ากับ 3,044.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3,934 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายและบริการในสัดส่วนของรายได้จากธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสนามบิน 4,269.5 ล้านบาท ทั้งนี้ เป็นกำไรส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ เท่ากับ 3,110 ล้านบาท และมีผลกำไรต่อหุ้นเท่ากับ 1.49 บาท ในขณะที่ค่าใช้จ่ายรวมเท่ากับ 18,646.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.4 จากปี 2565 โดยส่วนใหญ่เป็นต้นทุนขาย

นายพุฒิพงศ์ กล่าวต่อว่า เพื่อตอบรับอุปสงค์การเดินทางที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงปี 2566 ที่ผ่านมา บริษัทฯ ยังได้ปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจโดยเพิ่มความถี่เที่ยวบินเพื่อรองรับปริมาณการเดินทางของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยเฉพาะในเส้นทางที่มีแนวโน้มความต้องการเดินทางสูง อาทิ กรุงเทพ – สมุย กรุงเทพ-ภูเก็ต ภูเก็ต-สมุย และสมุย-สิงคโปร์ รวมถึงเปิดให้บริการเส้นทางบินใหม่เพิ่มเติม ได้แก่ ลำปาง – แม่ฮ่องสอน และ สมุย – ดอนเมือง ส่งผลให้ในปี 2566 บริษัทฯ มีปริมาณการขนส่งผู้โดยสารจำนวน 3.97 ล้านคน เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 49.5 เทียบกับปี 2565 และฟื้นตัวได้ร้อยละ 67.7 ของช่วงก่อนโควิด-19 ซึ่งผู้โดยสารส่วนใหญ่มาจากจุดขายบัตรโดยสาร (Point-of-Sale) ผ่านเว็บไซต์ และระบบเชื่อมต่อตรงกับบริษัทฯ คิดเป็นร้อยละ 44 รองลงมาได้แก่ผู้โดยสารที่เดินทางมาจากทวีปยุโรป คิดเป็นร้อยละ 19 ของผู้โดยสารทั้งหมด โดยมีอัตราส่วนการขนส่งผู้โดยสาร (Load Factor) อยู่ที่ร้อยละ 79.2

“สำหรับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในปี 2566 ที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้เสริมศักยภาพและโอกาส ทางธุรกิจโดยการทำสัญญาความตกลงเที่ยวบินร่วมกับสายการบิน สิงคโปร์แอร์ไลน์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสารของทั้งสองสายการบิน ในการเดินทางเชื่อมต่อไปยัง จุดหมายปลายทางยอดนิยมทั้งในประเทศไทย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ส่งผลให้ปัจจุบันมีสายการบินที่เข้าทำความตกลงเที่ยวบินร่วมแบบ “Code Share Agreement” รวมจำนวน 28 สายการบิน ในขณะที่บริษัทฯ มีเครื่องบินที่ให้บริการขนส่งผู้โดยสาร ณ ปัจจุบัน รวมทั้งสิ้นจำนวน 24 ลำ พร้อมกันนี้ยังได้ประกาศ ข้อตกลงร่วมกับสายการบิน แอร์อินเดีย สำหรับการขนส่งผู้โดยสาร กระเป๋าสัมภาระ และบัตรโดยสาร โดยภายใต้ข้อตกลงร่วมดังกล่าวจะช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้แก่ผู้โดยสารที่เดินทางท่องเที่ยวไปยังจุดหมายการเดินทางต่าง ๆนอกจากนี้สายการบินบางกอกแอร์เวย์สยังได้วางแผนการจัดการบริหารฝูงบินอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้ สอดคล้องกับอุปสงค์การเดินทางของนักท่องเที่ยวตลอดทั้งช่วงไฮซีซั่นและโลว์ซีซันของปี 2567 นี้” นายพุฒิพงศ์ กล่าวเพิ่มเติม

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

ทีดีอาร์ไอ เตือนการเมืองแทรกแซงธปท. 

นักวิชาการทีดีอาร์ไอ เตือนการเมืองแทรกแซงแบงก์ชาติ ทำให้นักลงทุนไม่มั่นใจ กระทบเศรษฐกิจเสียหาย

ผู้ประกันตนยื่นกู้ แห่ขอกู้สินเชื่อบ้าน ธอส.

ธอส. เผยผู้ประกันตน ยื่นขอสินเชื่อกับ ธอส.  ดอกเบี้ยต่ำ วันแรกเป็นจำนวนมาก กว่า 2,000 ราย

บมจ.ไทยวิวัฒน์ โฮลดิ้ง 3Q24 แกร่ง กำไรสุทธิพุ่งแตะ 87 ล้านบาท 

บมจ.ไทยวิวัฒน์ โฮลดิ้ง 3Q24 แกร่ง กำไรสุทธิพุ่งแตะ 87 ล้านบาท ส่งซิกปิดปี 67 เบี้ยรับรวมโตตามเป้า 10% 

บมจ.เบริล 8 พลัส โชว์ผลงานไตรมาส 3 โตต่อเนื่อง

บมจ.เบริล 8 พลัส โชว์ผลงานไตรมาส 3 โตต่อเนื่อง โกยกำไรสุทธิ 44 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 27.8%