แก้ปัญหา LPG ต้องแก้ทั้งระบบ

Date:

นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) เปิดเผยว่า จากสภาพปัญหาถังก๊าซหุงต้มในปัจจุบัน กรมธุรกิจพลังงานตรวจพบถังก๊าซหุงต้มเสื่อมสภาพและหมดอายุตกค้างอยู่ในระบบจำนวนมาก อีกทั้งได้รับแจ้งการลักลอบนำถังก๊าซหุงต้มมาเติมในสถานีบริการ LPG เป็นระยะ ซึ่งนอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว ยังก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยทั้งในระหว่างการเติมและการใช้ถังก๊าซหุงต้มของประชาชน ที่ผ่านมาได้มีการจัดตั้งคณะทำงานร่วมกับภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเพื่อ แก้ปัญหา LPG ดังกล่าว โดยมีผลการดำเนินการสำคัญ 6 ด้าน ดังนี้ 

1 การกำหนดเกณฑ์มาตรฐานกลางในการคัดสภาพถังก๊าซหุงต้ม 

2 การเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจตรา 

3 การผสานความร่วมมือภาครัฐที่เกี่ยวข้อง  

4 การเสริมสร้างความเข้าใจและเปิด Hotline รับเรื่องร้องทุกข์ 

5 การเพิ่มประสิทธิภาพการส่งถังกลับซ่อม 

6 การยกระดับโทษสำหรับการนำถังก๊าซหุงต้มไปเติมที่สถานีบริการ ทั้งหมดนี้เพื่อความปลอดภัยของประชาชน และการค้าที่เป็นธรรมต่อทุกภาคส่วน

ด้านนางพัทธ์ธีรา สายประทุมทิพย์ รองอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน กล่าวว่า ที่ประชุมคณะทำงานแก้ไขปัญหาก๊าซปิโตรเลียมเหลวในภาคครัวเรือน ( แก้ปัญหา LPG ) ที่มีผู้แทนจากผู้ค้าก๊าซปิโตรเลียมเหลวทั้งหมด 12 ราย สมาคมผู้ประกอบธุรกิจ  โรงบรรจุก๊าซหุงต้ม สมาคมผู้ค้าก๊าซปิโตรเลียมเหลว ได้ติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่องและร่วมพิจารณามาตรการแก้ไขปัญหาทั้งห่วงโซ่ธุรกิจ (Value chain) เพื่อสนับสนุนการคุ้มครองผู้บริโภคและการนำถังกลับเข้าไปซ่อมกับผู้ค้ามาตรา 7 อย่างเป็นระบบ

กรมยังได้ประสานความร่วมมือด้านการคุ้มครองผู้บริโภคกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ในการปกป้องสิทธิและคุ้มครองประชาชนให้ได้รับความเป็นธรรมและความปลอดภัยจากการใช้ก๊าซหุงต้ม จัดตั้งช่องทางสายด่วน (Hotline) เพื่อรับเรื่องร้องทุกข์และประสานรับ-ส่งต่อเรื่องร้องทุกข์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ ธพ. และ สคบ.

นอกจากนี้ เพื่อปรับปรุงและยกระดับระบบการค้าก๊าซหุงต้มให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ด้านพลังงานและตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป  ธพ. จึงกำหนดศึกษาระบบการค้าก๊าซปิโตรเลียมเหลวภาคครัวเรือนที่เหมาะสมในอนาคต โดยคาดว่าจะเริ่มดำเนินการปลายปี 2567 โดยการศึกษาจะครอบคลุมข้อเสนอแนะทั้งมิติด้านการค้าการค้าเสรีที่มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม มาตรฐานความปลอดภัย และการปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับรูปแบบที่กำหนดขึ้นใหม่

นอกจากนี้ กรณีปัญหาการลักลอบนำถังก๊าซหุงต้มมาเติมในสถานีบริการ LPG ธพ. ได้ประสานความร่วมมือกับผู้ว่าราชการจังหวัด พลังงานจังหวัด ทั่วประเทศ รวมถึงศูนย์ปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง (ศปนม.) ในการตรวจตราที่เข้มข้นมากยิ่งขึ้น และการเปรียบเทียบปรับอัตราเต็มขั้นต่อผู้ประกอบกิจการที่กระทำผิด รวมทั้งประชาสัมพันธ์ช่องทางการแจ้งเบาะแส และสินบนนำจับแก่ผู้แจ้งเบาะแส ไม่น้อยกว่า 3,750 บาทต่อกรณี

อีกทั้งอยู่ระหว่างทบทวนแนวทางดำเนินการกับผู้กระทำผิดตามกฎหมายเพื่อเพิ่มโทษ กับสถานีบริการและผู้ปฏิบัติงาน กรณีพบการกระทำผิดซ้ำ ตามมาตรา 54 และหากมีการกระทำผิดครั้งที่ 4 จะถูกเพิกถอนใบอนุญาต ตามมาตรา 55 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 เพื่อยกระดับมาตรการในการกำกับดูแลไม่ให้เกิดการกระทำผิด

ทั้งนี้ ธพ. ยืนยันเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาถังก๊าซหุงต้มทั้งระบบโดยประสานความร่วมมือภาครัฐและเอกชน เพื่อสร้างความมั่นใจด้านคุณภาพและความปลอดภัยให้ประชาชน และให้ธุรกิจดำเนินไปอย่างเป็นธรรมต่อทุกภาคส่วนโดยยึดประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

Café Amazon ได้รับการรับรองด้านสิ่งแวดล้อมระดับประเทศ

Café Amazon ได้รับการรับรองด้านสิ่งแวดล้อมระดับประเทศทั้ง CFP และ CFR จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) สำหรับผลิตภัณฑ์ 12 รายการ

กรุงเทพประกันภัย  9 เดือน ปี 2567 กำไร 2,290.7 ล้านบาท

กรุงเทพประกันภัย ประกาศผลการดำเนินงาน 9 เดือน ปี 2567 ทำกำไร 2,290.7 ล้านบาท เบี้ยประกันภัยรับรวม 23,122.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.2%

คดีอาญา เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.3

สศช. รายงานภาวะสังคมไทยไตรมาสสาม ปี 2567 คดีอาญา เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.3

ธอส. ร่วมแสดงความยินดีอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

นายกมลภพ วีระพละ กรรมการผู้จัดการ ธอส. ร่วมแสดงความยินดีอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน