นายบรรณรงค์ พิชญากร กรรมการผู้จัดการอาวุโส กิจการค้าหลักทรัพย์ บริษัท หลักทรัพย์บัวหลวง จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ตลาดเงินและตลาดการลงทุนที่มีความผันผวน ส่งผลให้การจับจังหวะลงทุนทำได้ยากขึ้นบริษัทจึงได้จัดสัมมนาสุด Exclusive สำหรับลูกค้า ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างดี ในหัวข้อ “คัดกองทุนตัวท็อปพิชิตทุกสถานการณ์ ด้วย BLS Top Funds Portfolio Auto Asset Allocation” โดยภายในงานได้รวบรวมทีมผู้เชี่ยวชาญ ด้านการลงทุนมืออาชีพทั้งของบริษัทที่มาให้มุมมองภาพรวมเศรษฐกิจโลกและการลงทุน
พร้อมแนะนำการจัดพอร์ตลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก ด้วย “บริการจัดพอร์ตกองทุนรวมแบบอัตโนมัติ” หรือ BLS Top Portfolio Auto Asset Allocation ที่มีทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนของบริษัทเป็นผู้บริหารจัดการพอร์ต พร้อมประเมินและคัดเลือกกองทุนผลงานดี เพื่อเข้าเป็นส่วนผสมในพอร์ตให้สามารถสร้างผลตอบแทนได้อย่างยั่งยืน โดยไม่มีค่าธรรมเนียมการจัดการเพิ่มเติม โดยในครั้งนี้บริษัทได้เชิญบลจ. ยูโอบี (ประเทศไทย) และบลจ. พรินซิเพิล ที่มาร่วมให้ข้อมูลกองทุนหุ้นจีน UOBSGC และกองทุนเวียดนาม PRINCIPAL VNEQ-A ตัวท็อปที่เราคัดเลือกเข้ามาลงทุนในพอร์ต BLS Top Funds Portfolio Auto Asset Allocation มาร่วมให้ข้อมูล
นายชาญณรงค์ มีชัยเจริญยิ่ง ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ฝ่ายวิเคราะห์การลงทุนเพื่อบริหารความมั่งคั่ง หลักทรัพย์บัวหลวง ได้ให้มุมมองเศรษฐกิจโลกในช่วงครึ่งหลังปี 67 ว่า อาจเกิด “Negative Surprise”
โดยเศรษฐกิจโลกมีโอกาสชะลอตัวลงมากกว่าคาดจากสัญญาณของดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อของสหรัฐ (S&P Global Flash US Composite PMI) เดือนเม.ย. ซึ่งแม้ว่าจะยังขยายตัว แต่มีอัตราที่ชะลอตัวลงในหลายภาคธุรกิจ ทั้งในส่วนของผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ทำจุดต่ำสุดในรอบ 3 เดือน และกิจกรรมของภาคบริการที่ทำจุดต่ำสุดในรอบ 5 เดือน รวมถึงภาคการจ้างงานที่อ่อนแอลง พิจารณาได้จากจำนวนการเปิดรับสมัครงานใหม่ (JOLTS Job Openings) ที่ลดลงจาก 12.2 ล้านตำแหน่งในเดือนมี.ค. 65 เป็น 8.8 ล้านตำแหน่ง และอัตราการลาออกจากงาน (Quits Rate) ที่ปรับตัวลดลงจาก 3% ในปี 65 เป็น 2.2% ในปัจจุบัน จึงเป็นการสะท้อนว่า ภาคการจ้างงานมีสัญญาณเชิงลบ โดยอาจส่งผลกระทบต่อการบริโภคในอนาคตได้ นอกจากนี้ยังเห็นอัตราการผิดนัดชำระหนี้ของเครดิตการ์ดที่เพิ่มขึ้นจาก 1.5% ในปี 64 เป็น 3.1% ในปลายปี 66 สูงสุดในรอบ 12 ปี
“ดังนั้นเรามองว่า ตลาดมีโอกาสที่จะปรับประมาณการการเติบโตเศรษฐกิจโลกของปี 67 และปี 68 ลง ฉะนั้นพอร์ตลงทุนในช่วงครึ่งหลังของปี 67 จึงอาจต้องหาจังหวะลดการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอย่างตลาดหุ้นโลก
ส่วนช่วงเวลาในการขายลดสัดส่วนหุ้นลงแนะนำให้ใช้จังหวะการปรับตัวขึ้นของราคา (sell into strength) หลังจบฤดูกาลประกาศงบไตรมาส 1 ปี 67 ในช่วงต้นเดือนมิ.ย. เนื่องจากผลประกอบการของไตรมาสนี้มีแนวโน้มออกมาดี และนำเงินสดที่ได้ไปเพิ่มน้ำหนักให้กับสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า เช่น ตราสารหนี้ระยะสั้น โดยหากมีสัญญาณการลดดอกเบี้ยของเฟดที่ชัดเจนขึ้นในไตรมาส 3 ปี 67 ก็ค่อยจัดสรรเงินบางส่วนไปเพิ่มน้ำหนักการลงทุนให้กับตราสารหนี้ระยะกลางถึงยาวเพื่อสร้างผลตอบแทนจากการปรับตัวขึ้นของราคาในวงจรดอกเบี้ยขาลง “ นายชาญณรงค์ กล่าว
สำหรับน้ำหนักการลงทุนในพอร์ตการลงทุนความเสี่ยงปานกลาง (Moderate Portfolio) ช่วง 6-12 เดือนข้างหน้าเราแนะนำให้ค่อย ๆ เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้น เน้น “พันธบัตรรัฐบาลและตราสารหนี้กลุ่มน่าลงทุน (Investment Grade)” สัดส่วนประมาณ 50-60% “ทองคำ” ไม่เกิน 5% ส่วนที่เหลือลงทุนใน “ตลาดหุ้น” สัดส่วนประมาณ 35-45% โดยแบ่งเป็นตลาดหุ้นสหรัฐฯ สัดส่วน 17% เนื่องจากมักให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าตลาดเกิดใหม่ในวงจรเศรษฐกิจ late cycle รองลงมาเป็นตลาดหุ้นเวียดนาม สัดส่วน 13% จากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่โดดเด่นในปีนี้ และการมี Forward PE ที่ถูก ในขณะที่ตลาดหุ้นจีนและญี่ปุ่น เราให้น้ำหนักการลงทุนที่ 3% เท่ากัน ส่วนตลาดหุ้นไทยให้สัดส่วน 2%
ทั้งนี้แม้ว่าดัชนี SET จะมีโอกาสรีบาวด์ในไตรมาส 2-3 จากการฟื้นตัวของกำไรและการเบิกจ่ายงบลงทุนของภาครัฐที่จะเร่งตัวขึ้นในช่วง 5 เดือนข้างหน้า อย่างไรก็ตามผลตอบแทนของตลาดหุ้นไทยอาจแผ่วลงหลังจากนั้นตามความเสี่ยง จากความผันผวนของผลประกอบการที่มักเกิดขึ้นในวัฏจักรเศรษฐกิจโลกขาขึ้นตอนปลาย ซึ่งจะทำให้ราคาหุ้นอาจยืนไม่ได้จนถึงสิ้นปี จากสถานการณ์ตลาดผันผวน
นายเสริมศักดิ์ วงศ์สิทธิโชค ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายค้าตราสารการเงิน หลักทรัพย์บัวหลวง ได้แนะนำเครื่องมือการลงทุนที่จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหา Pain Point ได้อย่างดี นั่นก็คือ “การจัดพอร์ตกองทุนรวมแบบอัตโนมัติ” หรือ BLS Top Funds Portfolio Auto Asset Allocation ซึ่งเป็นการจัดพอร์ตเน้นกระจายการลงทุนไปในหลากหลายสินทรัพย์ จุดเด่นของบริการนี้ คือ มีทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนคอยดูแลอย่างใกล้ชิด พร้อมกำหนดมุมมองการลงทุน และยังมีทีมงาน Product คอยคัดเลือกกองทุนรวมตัวท็อปผลงานเด่นจาก 17 บลจ. ชั้นนำ
เพื่อเข้าลงทุนในพอร์ต ที่สำคัญยังเข้ามาช่วยให้พอร์ตมีความสมดุลระหว่างผลตอบแทนและความเสี่ยง รวมถึงช่วยลดโอกาสในการขาดทุนจากการลงทุนได้เป็นอย่างดี สะท้อนผ่านในช่วงที่ผ่านมา ตลาดหุ้นทั่วโลกเผชิญกับความผันผวนบางตลาดหุ้นปรับตัวลงหนักเกือบ 8% แต่พอร์ต BLS Top Funds Portfolio Auto Asset Allocation ปรับลงเพียง 2% กว่าเท่านั้น
ทั้งนี้พอร์ตกองทุนรวมแบบอัตโนมัติมีให้เลือกลงทุน 3 ประเภท 6 พอร์ตการลงทุน ปัจจุบันสร้างผลตอบแทนให้กับลูกค้าได้สูงถึง 10.47% (ตัวเลข ณ วันที่ 25 เม.ย. 67) ประกอบด้วย
1. ประเภทการลงทุนแบบคาดหวังผลตอบแทน เน้นกระจายการลงทุนตามระดับความเสี่ยงของตนเอง ผ่านพอร์ตการลงทุนเสี่ยงต่ำ CAA ที่เน้นลงทุนกองทุนตราสารหนี้ 80% และกองทุนหุ้น, สินทรัพย์ทางเลือก 20%, พอร์ตการลงทุนเสี่ยงปานกลาง MAA ที่ลงทุนกองทุนตราสารหนี้ 40% และกองทุนหุ้น สินทรัพย์ทางเลือก 60% และพอร์ตการลงทุนเสี่ยงสูง AAA ที่ลงทุนกองทุนตราสารหนี้ 30% กองทุนหุ้น และสินทรัพย์ทางเลือก 70% ปัจจุบันทั้ง 3 พอร์ตสร้างผลตอบแทนระดับ 3.35% 7.80% และ 10.47% ตามลำดับ
2. ประเภทการลงทุนแบบรับกระแสเงินสดระหว่างทาง เน้นกระจายการลงทุนไปในกองทุนจ่ายเงินปันผล
ด้วยพอร์ตการลงทุน DAA ที่ลงทุนกองทุนตราสารหนี้ 30% กองทุนหุ้นและสินทรัพย์ทางเลือก 70% ที่มีนโยบายจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ ปัจจุบันพอร์ต DAA จ่ายเงินปันผลไปแล้ว 4 ครั้ง สร้างผลตอบแทนรวมของพอร์ตที่ระดับ 2.31%
3. ประเภทการลงทุนเน้นปลอดภัย โดยจะลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ทั้งในและต่างประเทศ ผ่านพอร์ตการลงทุน SP ที่ลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้น คาดหวังผลตอบแทนที่สูงกว่าเงินฝาก และพอร์ตการลงทุน DIP ที่จะกระจายลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ระยะยาว เพื่อคาดหวังผลตอบแทนที่สูงขึ้น
ทั้งนี้ภายในงาน บลจ. ยูโอบี (ประเทศไทย) ยังให้ข้อมูลกองทุน UOBSGC ที่เข้าลงทุนในกองหลัก United Greater China Fund ว่า ปัจจุบันสร้างผลตอบแทนระดับ 14.60% (ข้อมูล ณ วันที่ 25 เม.ย. 67) จุดเด่นกองทุนนี้ คือ เน้นลงทุนในหุ้นจีนกลุ่ม Greater China ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้นฮ่องกง จีน และไต้หวัน ที่มีหุ้นให้เลือกลงทุน 16,000 หุ้น ทำให้นักลงทุนมีโอกาสลงทุนในหุ้นที่มีความหลากหลาย และกองทุนใช้กลยุทธ์ Artificial Intelligence Machine Learning (AIML) ร่วมกับนักวิเคราะห์มืออาชีพ เพื่อช่วยเพิ่มความแม่นยำของข้อมูล และลดความอคติในการลงทุนส่งผลให้กองทุน UOBSGC สร้างผลตอบแทนได้อย่างโดดเด่น ท่ามกลางตลาดหุ้นจีนที่ผันผวนในช่วงที่ผ่านมา ขณะที่หากมองในแง่ภาพรวมเศรษฐกิจจีน ปัจจุบันเริ่มเห็นการฟื้นตัวในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป คาดว่าจะเริ่มเห็นสัญญาณที่ดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังปี 67
ขณะที่ บลจ.พรินซิเพิล ให้ข้อมูลกองทุน PRINCIPAL VNEQ-A ที่ปัจจุบันสร้างผลตอบแทนระดับ 17.51%
(ข้อมูล ณ วันที่ 26 เม.ย. 67) ว่า กองทุนนี้เน้นลงทุนตรงในหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดเวียดนามที่มีศักยภาพเติบโต ในอนาคต จุดเด่นกองทุนนี้ คือ จะได้รับประโยชน์จากเศรษฐกิจเวียดนามที่มีแนวโน้มเติบโตสูง โดยขยายตัวจากภาคอสังหาฯ การเงิน และการบริโภคภายในประเทศ ขณะที่การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง นอกจากนั้นในฝั่งของการพัฒนาด้านตลาดทุนก็มีความน่าสนใจมากขึ้น หลังเวียดนามเตรียมเปิดตัวระบบซื้อขายหุ้นใหม่เพื่อยกระดับตลาดหุ้นเวียดนาม ประกอบกับคาดการณ์ว่า ดัชนี FTSE อาจยกระดับตลาดหุ้นของเวียดนามเป็นตลาดหุ้นเกิดใหม่ (Emerging Market) จากปัจจุบันที่ดัชนี MSCI และ FTSE จัดเวียดนามเป็นกลุ่มประเทศชายขอบ (Frontier Markets) ทำให้การยกระดับครั้งนี้สร้างการดึงดูดเม็ดเงินลงทุนต่างชาติเข้าสู่ตลาดหุ้นเวียดนามเพิ่มมากขึ้น